ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาเริ่มบริหารยา Norepinephrine กับการเสียชีวิตใน 24 ชั่วโมงของผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ผู้แต่ง

  • พฤฒิพงศ์ ปวราจารย์ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • ยุทธนา โค้วจิริยะพันธุ์ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2022.5

คำสำคัญ:

การเสียชีวิต, ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ, ยา norepinephrine

บทคัดย่อ

ภาวะช็อกจากการติดเชื้อเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วทุกภูมิภาคของโลก และมีอัตราการเสียชีวิตสูง ทำให้การดูแล รักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจ ตามแนวทางการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อล่าสุดมีคำแนะนำให้เริ่มบริหารยากระตุ้นความดันโลหิตภายใน 1 ชั่วโมงแรก โดยมีเป้าหมายคงระดับความดันโลหิตเฉลี่ยของผู้ป่วยที่ค่ามากกว่า หรือเท่ากับ 65 มิลลิเมตรปรอท เพื่อให้ผลลัพธ์ของการรักษาดีขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเวลาเริ่มบริหารยา norepinephrine กับการเสียชีวิตใน 24 ชั่วโมงของผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ จำนวนทั้งสิ้น 262 ราย ซึ่งได้เริ่มรักษาที่แผนกห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 - มกราคม พ.ศ. 2564 ผู้ป่วยจำนวน 262 ราย มี 114 รายได้เริ่มบริหารยา norepinephrine ภายในเวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 60 นาที โดยมีเวลาเฉลี่ยของการเริ่มบริหารยา norepinephrine คือ 42±15.87 นาที เทียบกับเวลาเฉลี่ยของกลุ่มที่ได้เริ่มบริหารยานอร์อีพิเนฟรินนานกว่า 60 นาที คือ 93±37.73 นาที p<0.001 พบว่าการเสียชีวิตใน 24 ชั่วโมงของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างทางสถิติ crude RR=0.89, 0.43-1.85 p=0.759 จากการศึกษาพบว่า การเริ่มบริหารยา norepinephrine ภายในเวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 60 นาที ในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ เทียบกับกลุ่มที่ได้รับยา norepinephrine นานกว่า 60 นาที ในแผนกห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ไม่มีความแตกต่างต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยใน 24 ชั่วโมง

References

Rudd KE, Johnson SC, Agesa KM, Shackelford KA, Tsoi D, Kievlan DD. Global, regional, and national sepsis incidence and mortality, 1990–2017: analysis for the Global Burden of Disease Study. The Lancet 2020Jan; 395(10219): 200–11.

Rivers E, Nguyen B, Havstad S, Ressler J, Muzzin A, Knoblich B, et al. Early goal-directed therapy in the treatment of severe sepsis and septic shock. New England Journal of Medicine 2001; 345(19): 1368–77. 3. Cinel I, Kasapoglu US, Gul F, Dellinger RP. The initial resuscitation of septic shock. Journal of Critical Care 2020; 57: 108–17.

Kelm DJ, Perrin JT, Cartin-Ceba R, Gajic O, Schenck L, Kennedy CC. Fluid overload in patients with severe sepsis and septic shock treated with early goal-directed therapy is associated with increased acute need for fluid-related medical interventions and hospital death. Shock 2015; 43(1): 68–73.

Hamzaoui O, Shi R. Early norepinephrine use in septic shock. J Thorac Dis 2020; 12(S1):73–7.

กลุ่มงานอายุรกรรม. แนวทางการดูแลผู้ป่ วย Sepsis Version 2 [อินเทอร์เน็ต]. โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. 2565 [สืบค้นเมื่อ 9 มิ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://49.231.15.21/deptw13/upload/files/her cF256312 041721022781.pdf

Hamzaoui O, Scheeren TWL, Teboul J-L. Norepinephrine in septic shock. Curr Opin Crit Care 2017;23(4): 342–7.

Dellinger RP, Levy MM, Rhodes A, Annane D, Gerlach H, Opal SM, et al. Surviving sepsis campaign. Crit Care Med 2013; 41(2):580–637.

Rhodes A, Evans LE, Alhazzani W, Levy MM, Antonelli M, Ferrer R, et al. Surviving sepsis campaign: International guidelines for management of sepsis and septic shock: 2016. Intensive Care Med 2017;43(3): 304–77.

Levy MM, Evans LE, Rhodes A. The surviving sepsis campaign bundle. Crit Care Med 2018;46(6):997– 1000.

Scheeren TW, Bakker J, De Backer D, Annane D, Asfar P, Boerma EC, et al. Current use of vasopressors in septic shock. Annals of Intensive Care 2019; 9(1):1–12.

Bai X, Yu W, Ji W, Lin Z, Tan S, Duan K, et al. Early versus delayed administration of norepinephrine in patients with septic shock. Critical Care 2014;18(5).

Elbouhy MA, Soliman M, Gaber A, Taema KM, Abdel-Aziz A. Early use of norepinephrine improves survival in septic shock: Earlier than early. Arch Med Res 2019;50(6):325–32.

Permpikul C, Tongyoo S, Viarasilpa T, Trainarongsakul T, Chakorn T, Udompanturak S. Early use of norepinephrine in septic shock resuscitation (CENSER). A randomized trial. Am J Respir Crit Care Med 2019;199(9): 1097–105.

Singer M, Deutschman CS, Seymour CW, Shankar-Hari M, Annane D, Bauer M, et al. The third international consensus definitions for sepsis and septic shock (sepsis-3). JAMA 2016; 315(8):801.

Hidalgo DC, Patel J, Masic D, Park D, Rech MA. Delayed vasopressor initiation is associated with increased mortality in patients with septic shock. J Crit Care 2020;55: 145–8.

Li Y, Li H, Zhang D. Timing of norepinephrine initiation in patients with septic shock: A systematic review and meta-analysis. Critical Care 2020;24(1):1-9.

Ospina-Tascón GA, Hernandez G, Alvarez I, CalderónTapia LE, Manzano-Nunez R, Sánchez-Ortiz AI, et al. Effects of very early start of norepinephrine in patients with septic shock: A propensity score-based analysis. Critical Care 2020; 24(1):1–11.

Marik PE, Linde-Zwirble WT, Bittner EA, Sahatjian J, Hansell D. Fluid administration in severe sepsis and septic shock, patterns and outcomes: an analysis of a large national database. Intensive Care Med 2017;43(5):625- 32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-19