ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยชาวต่างด้าวจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน ที่มารับบริการแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • รัชนี อมรเลิศไพบูลย์ โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก
  • จินตนา นิ่มแก้ว โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก
  • มงคล สุริเมือง โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุจราจรทางถนน, ปัจจัยเสี่ยง, ผู้ป่วยต่างด้าว, เสียชีวิต

บทคัดย่อ

อุบัติเหตุจราจรทางถนนเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก จังหวัดตากมีชาวต่างด้าวที่เข้ามาเป็นแรงงานตามนโยบายประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community, AEC) เพื่อขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจชาวต่างด้าวดังกล่าวยังทำให้เกิดผลกระทบในหลากหลายมิติ  เช่น การเกิดอุบัติเหตุจราจรทางถนน การประเมินปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตจะนำไปสู่การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ตลอดจนนำไปสู่การสร้างนโยบายเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว การศึกษาเชิงวิเคราะห์ย้อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยชาวต่างด้าวจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน ที่มารับบริการแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก รวบรวมข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยชาวต่างด้าวทุกรายที่เกิดอุบัติเหตุจราจรทางถนนที่เข้ารับบริการในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 651 ราย พบการเสียชีวิต 35 ราย (ร้อยละ 5.38) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยชาวต่างด้าวจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน พบว่า ทุก ๆ 1 คะแนนของค่าการตอบสนองของร่างกายหลังการบาดเจ็บทีอาร์ทีเอส (TRTS) ที่ลดลง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็น 0.57 เท่า (OR 0.57, CI 0.50-0.66, p<0.001) และปัจจัยที่ช่วยลดการเสียชีวิต ได้แก่ การได้รับผ่าตัดลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็น 0.31 เท่า (OR 0.31, CI 0.13-0.574 p=0.009) สรุปได้ว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยชาวต่างด้าวจากอุบัติเหตุจราจรทางถนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ค่าการตอบสนองของร่างกายหลังการบาดเจ็บทีอาร์ทีเอส และการได้รับผ่าตัดเป็นปัจจัยที่ลดโอกาสการเสียชีวิต

References

World Health Organization. Global status report on road safety 2023 [Internet]. [cited 20 Apr 2024]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/road-traffic- injuries.

World Health Organization. Road traffic injuries 2024 [Internet]. [cited 20Apr 2024]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/road-traffic-injuries.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 11 เม.ย.67]. แหล่งข้อมูล: https://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2566-11/RoadAccidentAna2565_final.pdf

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน. สถิติข้อมูลผู้เสียชีวิตสะสมประเทศไทยปี 2567 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 เม.ย. 67]. แหล่งข้อมูล: https://www.thairsc.com/.

จิรภัทร ฉัตรแก้ว, ดิฐภัทร บวรชัย. ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมความปลอดภัยในการไม่สวมหมวกนิรภัยของชาวต่างด้าว กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 2563;5(3):101-13.

Yoh K, Okamoto T, Inoi H, Doi K. Comparative study on foreign drivers' characteristics using traffic violation and accident statistics in Japan. IATSS Research. 2017;41(2):94-105.

อภิสรา กูลวงศ์ธนโรจน์. การศึกษาอุบัติการณ์ของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกที่มีการใช้แอลกอฮอล์ ยาเสพติด และยาหรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในจังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2558-2561. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2563;39(2):214-26.

Yannis G, Golias J, Papadimitriou E. Accident risk of foreign drivers in various road environments. J Safety Res. 2007;38(4):471-80.

ณัฐวุฒิ นริพทะพันธุ์. การศึกษาสาเหตุการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์และเมทแอมเฟตามีน/แอมเฟตามีน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2562;27(1):124-34.

แจ่มจันทร์ เทศสิงห์, จีระวรรณ ศรีจันทร์ไชย, ชาตะนา ปัตตาลาโพธิ์, สมัย ทองพูล. สถานการณ์และผลกระทบของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่เทศบาลตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2565;4(2):239-53.

กีรติ สวรรณยานุกิจ, เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม. การกระจายพื้นที่การเกิดอุบัติเหตุและปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากอุบัติเหตุจราจรทางถนนที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 11 เม.ย. 67]; 1(2):106-14. แหล่งข้อมูล: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/42

จริยา ละมัยเกศ, ชวนพิศ ศิริไพบูลย์, วัชรินทร์ โกมลมาลัย. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจรทางบก ที่มารับบริการแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี สุพรรณบุรี. 2561;1(2):66-78.

กฤษณะ สุกาวงค์, นำพร อินสิน, พิชิต ชวนงูเหลือม, พูลทรัพย์ โพนสิงห์, กัญชรส วงมุข. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตและการทำนายรูปแบบการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางถนนในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 8.วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2566;19(2):129-41.

Sae-Tae N, Lim A, Kakchapati S, Ueranantasun A. Hospital reported factors associated with Mortality among road traffic accident victims in southern Thailand. Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health. 2018;49(4):717-26.

Yu W, Chen H, Lv Y, Deng Q, Kang P, Zhang L. Comparison of influencing factors on outcomes of single and multiple road traffic injuries: A regional study in Shanghai, China (2011-2014). PloS one. 2017;12(5):e0176907.

Roy N, Gerdin M, Schneider E, Veetil DKK, Khajanchi M, Kumar V, et al. Validation of international trauma scoring systems in urban trauma centres in India. Injury. 2016; 47: 2459-64.

Lizaur-Utrilla A, Martinez-Mendez D, Collados-Maestre I, Miralles-Muñoz FA, Marco-Gomez L, Lopez-Prats FA. Early surgery within 2 days for hip fracture is not reliable as healthcare quality indicator. Injury. 2016;47(7):1530-5.

ชาติชาย คล้ายสุบรรณ. ผลของการพัฒนาระบบการดูแลผู้บาดเจ็บต่อผลการรักษาผู้บาดเจ็บรุนแรงของเครือข่ายจังหวัดปราจีนบุรี. บูรพาเวชสาร. 2561;5(1):28-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27