การกระจายพื้นที่การเกิดอุบัติเหตุและปัจจัยที่มีผล ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน ที่เข้ารับการรักษาที่ให้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ผู้แต่ง

  • กีรติ สวรรณยานุกิจ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2021.11

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุ, เสียชีวิต, ระบาดวิทยา, ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนนสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์มีผู้ป่วยจากอุบัติเหตุจราจรทางถนนเข้ารับบริการจำนวนมาก การทราบถึงการกระจายพื้นที่การเกิดอุบัติเหตุจราจรและปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร จะนำไปสู่การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ตลอดจนนำไปสู่การสร้างนโยบายเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายพื้นที่การเกิดอุบัติเหตุ-จราจรและปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงราย-ประชานุเคราะห์ วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ย้อนหลัง (retrospective cohort study) โดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยทุกรายที่เกิดอุบัติเหตุจราจรทางถนนบริเวณอำเภอเมืองเชียงรายที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ทั้งที่มีสัญญาณชีพและไม่มีสัญญาณชีพ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ผลการวิจัย มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การคัดเลือก 5,784 ราย เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน 91 ราย (ร้อยละ 1.57) พบปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วย-อุบัติเหตุจราจรทางถนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ ค่าการตอบสนองของร่างกายหลังการบาดเจ็บอาร์ทีเอส (95%CI=0.18-0.21, p<0.001) ตำบลรอบเวียงเป็นตำบลที่เกิดอุบัติเหตุจราจรทางถนนและมีผู้เสียชีวิตมากที่สุด (ร้อยละ 37.85, ร้อยละ 27.47 ตามลำดับ) สรุป ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจรทางถนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ ค่าการตอบสนองของร่างกายหลังการบาดเจ็บอาร์ทีเอส โดยตำบลรอบเวียงเป็นบริเวณที่มีผู้บาดเจ็บจากกการเกิดเหตุสูงสุดและมีผู้เสียชีวิตมากที่สุด

References

องค์การอนามัยโลก. รายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนน [อินเทอร์เน็ต ]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 9 ธ.ค.2562]. แหล่งข้อมูล: https://www.hfocus.org/content/2018/08/16197.

World Health Organization. Road traffic injuries [Internet].2020 [cited 2021 Jan 23]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/road-traffic-injuries.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย กลุ่มพัฒนาความปลอดภัย. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงคมนาคม 2562.

Stephan K, Kelly M, McClure R, Seubsman SA, Yiengprugsawan V, Bain C, et al. Distribution of transport injury and related risk behaviours in a large national cohort of Thai adults. Accid Anal Prev 2011;43: 1062-7.

แสงโฉม ศิริพานิช, กาญจนีย์ ดำนาคแก้ว, อวยพร คำวงค์ศา.วิทยาการระบาดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางถนนในประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข 2552.

ปีย์วรา มานีเวศม์,อินทนนท์ อิ่มสุวรรณ. การกระจายพื้นที่การเกิดอุบัติเหตุและลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ ที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2563;18:579-89.

Razzaghi A, Soori H, Kavousi A, Abadi A, Khosravi A,Alipour A. Risk factors of deaths related to road trafficcrashes in world health rganization regions. Archives of Trauma Research 2019;8:57-86.

Sae-Tae N, Lim A, Kakchapati S, Ueranantasun A. Hospital reported factors associated with mortality among road traffic accident victims in Southern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2018;49: 717-26.

Jelodar S, Jafari P, Yadollahi M, et al. Potential risk factors of death in multiple trauma patients. Emergency 2014;2:170-3.

Yu W, Chen H, Lv Y, Deng Q, Kang P, Zhang L. Comparison of influencing factors on outcomes of single and multiple road traffic injuries: a regional study in Shanghai China (2011-2014). PLOS One 2017;12: e0176907.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-23