การพัฒนาศักยภาพบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเคลื่อนที่ กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • บัวบาน ปักการะโต งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
  • สหัศถญา สุขจำนงค์ งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2023.4

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, การช่วยฟื้นคืนชีพ, เจ้าหน้าที่, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, การสอนแบบเคลื่อนที่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานโดยการใช้รูปแบบการสอนแบบเคลื่อนที่ และประเมินความรู้ ทักษะ และเจตคติของเจ้าหน้าที่ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ บุคลากร รพ.สต. อำเภอนาดูน จำนวน 84 คน ใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ระยะเวลาในการศึกษาเดือนมกราคม–มิถุนายน 2564 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบทดสอบความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพ แบบประเมินทักษะปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ แบบประเมินปัญหาอุปสรรคของการช่วยฟื้นคืนชีพ แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินเจตคติในการช่วยฟื้นคืนชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ paired–sample t-test ในการเปรียบเทียบความรู้ก่อนหลังการอบรม ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาและสถานการณ์คือ เจ้าหน้าที่ขาดทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพ เจ้าหน้าที่บางคนไม่เคยผ่านการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน การพัฒนาศักยภาพการช่วยฟื้นคืนชีพประกอบด้วย (1) สร้างรูปแบบการฝึกอบรมสำหรับเจ้าหน้าที่ (2) อบรมเชิงปฏิบัติการใช้แนวปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน จัดทำคู่มือการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นและเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติสำหรับบุคคลทั่วไป พ.ศ.2564 เพื่อใช้ในการสอน สร้างไลน์กลุ่ม Refer cup Nadun ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับการอบรมมีความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพ โดยก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 5.79 และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 8.42 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน (p<0.01) การประเมินทักษะปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานแบบไม่ใช้เครื่อง AED และแบบใช้เครื่อง AED พบปฏิบัติได้ถูกต้องครบถ้วนร้อยละ 97.62 และ 84.52 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการอบรมแบบเคลื่อนที่มากที่สุด ร้อยละ 100 การประเมินเจตคติต่อการช่วยฟื้นคืนชีพด้านบวกพบว่า การช่วยฟื้นคืนชีพเป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนควรรู้และต้องปฏิบัติได้ จากการวิจัยนี้ทำให้เกิดภาคีเครือข่ายการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยช่วยฟื้นคืนชีพในชุมชน มีรูปแบบการให้ความรู้ เกิดการพัฒนาคู่มือแนวปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ดังนั้น จึงควรนำรูปแบบการอบรมนี้ไปใช้อย่างต่อเนื่องทุกปี และขยายผลนำไปใช้ในกลุ่มประชาชนต้นแบบอำเภอนาดูนต่อไป เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้และทักษะดังกล่าวให้กว้างขวางขึ้น

References

Bhanji F, Donoghue AJ, Wolff MS, Flores GE, Halamek LP, Berman JM, Sinz EH, Cheng A. Part 14: education: 2015. American Heart Association guidelines update for cardiopulmonary resuscitation and emergency cardiovascular care. J Am Heart Assoc [Internet]. 2015 [cited2018 Jan 2];132:561-73. Available from: https://www.ahajournals.org/journal/jaha

American Heart Association. AHA guidelines update for CPR and ECC [Internet]. 2015 [cited 2018 Jan 2]. Available from: https://www.cercp.org/wp-content/uploads/2015/10/Guidelines-RCP-AHA-2015-Full. pdf

บัวบาน ปักการะโต, สหัศถญา สุขจำนงค์, อนุชิต สิ้วอินท์. การพัฒนารูปแบบการช่วยฟื้นคืนชีพแบบสัญจร โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2564;1(2):134-145.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 22 ต.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/Ebook?group=115&data_per_page=10&page=1

ปริญญา คุณาวุฒิ, นลินาสน์ ขุนคล้าย, บวร วิทยชำนาญ, บรรณาธิการ. สรุปแนวทางปฏิบัติการช่วยชีวิต ปี ค.ศ. 2015. กรุงเทพมหานคร: ปัญญมิตรการพิมพ์; 2558.

National Health Care Provider Solutions. Advanced cardiovascular life support (ACLS) certification course [Internet]. 2015 [cited 2018 Jan 2]. Available from: https://nhcps.com/lesson/acls-casesventricular-fibrillation-pulseless-ventricular-tachycardia/

Hawkes C, Booth S, Ji C, Brace-McDonnell SJ, Whittington A, Mapstone J, Cooke MW et al. Epidemiology and outcomes from out-of-hospit,al cardiac arrests in England. Resuscitation 2017;110:133-40.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner, 3rded. Geelong, Australia: Deakin University Press; 1998.

Gordon SE. “We Do; Therefore, We Learn” training and development 1993;47:47-52.

จันทร์เพ็ญ นิลวัชรมณี, วิดาพร ทับทิมศรี, ปัญจศิลป์ สมบูรณ์. ผลของการให้ความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2564;37 (1):180-92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29