การศึกษาและฝึกอบรมเพื่อการผลิตบุคลากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย
DOI:
https://doi.org/10.14456/jemst.2022.19คำสำคัญ:
หลักสูตร, ผู้ปฏิบัติการ, เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิฉุกเฉินการแพทย์บทคัดย่อ
บุคลากรนับได้ว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งในระยะแรกเป็นการปฏิบัติงานในรูปแบบจิตอาสาเพื่อบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชน ยังไม่มีบุคลากรหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบชัดเจน ระยะต่อมาเริ่มมีการพัฒนาเป็นระบบมากขึ้น การพัฒนาบุคลากรได้เริ่มมีการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินมีความรู้และทักษะ สามารถให้การช่วยเหลือประชาชนได้อย่างถูกต้อง โดยได้มีการพัฒนาหลักสูตรต่างๆ ทั้งในส่วนของหลักสูตรการศึกษาและหลักสูตรฝึกอบรม และได้มีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันเมื่อมีพระราชบัญญัติการแพทย์-ฉุกเฉิน พ.ศ 2551 ซึ่งได้กำหนดความหมายของบุคคลซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินตามที่คณะกรรมการการแพทย์-ฉุกเฉินกำหนดว่า “ผู้ปฏิบัติการ” และมีการกำหนดให้มีการออกข้อบังคับเกี่ยวกับการรับรององค์กรและหลักสูตรการศึกษาหรือฝึกอบรม และการให้ประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการศึกษาหรือฝึกอบรม ทำให้การพัฒนาผู้ปฏิบัติการมีความเป็นระบบมากขึ้น รวมทั้งมีการกำกับติดตามการดำเนินงานในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้มีผู้ปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน เป็นการคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉิน ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ 2551
References
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 4 (2566-2570). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2565.
วิภาดา วิจักขณาลัญฉ์. ระบบการพัฒนาบุคลากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน. ใน: ธีระ ศิริสมุด, พรทิพย์ วชิรดิลก, ชนนิกานต์ สิงห์พยัคฆ์, บรรณาธิการ. รายงานประจำปี 2558 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: อัลติเมทพริ้นติ้ง; 2559. หน้า 30-3.
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวิทยากรหลักสูตรการปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: แอลทีเพรส; 2547.
สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวิทยากรหลักสูตรเวชกรฉุกเฉินระดับพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: เอ็นทีเพลส; 2548
สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข . คู่มือการจัดระบบบรการการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: แอลทีเพลส;2548.
พระราชบัญญติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125, ตอนที่ 44 ก (ลงวันที่ 6 มีนาคม 2551).
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. กฎหมาย ประกาศ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข เกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการศึกษาฝึกอบรมและการให้ประกาศนียบัตรผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน. กรุงเทพมหานคร: อัลติเมทพริ้นติ้ง; 2560.
ประกาศสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เรื่อง หลักสูตรหลักการฝึกอบรมช่วยอำนวยการ พ.ศ.2558 [อินเทอร์เน็ต]. 2558. [สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/Ebook?group=10&data_per_page=10&page=9
ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง การให้ประกาศนียบัตรและการปฏิบัติการฉุกเฉินของผู้ปฏิบัติการ พ.ศ. 2554. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 128, ตอนพิเศษ 131ง (ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554).
ข้อบังคับคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน ว่าด้วยการกำหนดผู้ปฏิบัติการ การรับรององค์กรและหลักสูตรการศึกษาหรือฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการและการให้ประกาศนียบัตรหรือเครื่องหมายวิทยฐานะแก่ผู้ผ่านการศึกษาหรือฝึกอบรม พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137, ตอนพิเศษ 96ง (ลงวันที่ 24 เมษายน 2563).
ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิฉุกเฉินการแพทย์ (มคฉ.1) พ.ศ.2565.ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 139, ตอนพิเศษ 106 ง (ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2565).
พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาฉุกเฉินการแพทย์เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138, ตอนที่ 46 ก (ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2564).[อินเทอร์เน็ต]. 2564. [สืบค้นเม่อื 1 ส.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/Ebook/Detail/13170?group=16
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.