ปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จของการคัดแยกระดับความฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ

ผู้แต่ง

  • รศ. ดร. ประภาพรรณ อุ่นอบ สาขาวิชาประชากรศึกษา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ดร. ณภัทร ประภาสุชาติ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโยลีราชมงคล รัตนโกสินทร์
  • ผศ. ดร. ภัทรียา กิจเจริญ สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2021.1

คำสำคัญ:

การคัดแยกระดับความฉุกเฉิน, ผู้ป่วยฉุกเฉิน, ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนความสำเร็จการคัดแยกระดับความฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินของ ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ แบบกรณีศึกษาจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการที่ประสบความสำเร็จได้แก่ จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสงขลา เก็บข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 10 คนต่อศูนย์ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่าปัจจัยนำเข้าที่จำเป็นต่อความสำเร็จของการคัดแยกระดับความฉุกเฉินฯ ได้แก่ นโยบายที่ชัดเจน แผนปฏิบัติการ บุคลากรของศูนย์ฯ ระบบแรงจูงใจ และกระบวนการที่เหมาะสมคือ การดำเนินงานของผู้ปฏิบัติการ วิธีปฏิบัติการ ตามผังการทำงาน และการติดตามประเมินผล ดังนั้น สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ควรทำเกณฑ์มาตรฐานการคัดแยกระดับความฉุกเฉินที่มีเกณฑ์เดียวเพื่อใช้สำหรับการคัดแยก ณ ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ และ ณ ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน กำหนดคุณสมบัติพนักงานรับแจ้งการเจ็บป่วยฉุกเฉินให้เหมาะสมกับกลุ่มโรคฉุกเฉินใหม่ๆ การสร้างระบบแรงจูงใจ รวมถึงพัฒนาระบบการประเมินภายในเพื่อสนับสนุนการทำงานกับผู้ปฏิบัติงานของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ดัชนีความก้าวหน้าของคนประจำปี 2562 กรุงเทพมหานคร สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2562.

อุรา สุวรรณรักษ์, บรรณาธิการ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ. 2562-2565 ปรับปรุงจากแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560-2564. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: อัลทิเมทพริ้นติ้ง; 2562.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. การศึกษาสังเคราะห์บทเรียนการเปลี่ยนแปลงการแพทย์ฉุกเฉินของจังหวัดที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดรับบริหารจัดการ. กรุงเทพมหานคร: อัลทิเมทพริ้นติ้ง; 2562.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. เกณฑ์วิธีการคัดแยกและจัดลำดับการจ่ายงานบริบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน ตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ. กำหนดพ.ศ. 2556. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2556.

Gertler J, Sebastian P, Premand R, Rawlings B, Vermeersch J. Impact evaluation in practice. 2 nd edition. Washington DC: World Bank; 2016.

Love J. Internal evaluation: building organization from within. USA: Sage Publications; 1991.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30