ผลของระบบการรักษาพยาบาลฉุกเฉินแบบวิถีใหม่ ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ผู้แต่ง

  • สายสม รุจิพรรณ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • โสพิศ เวียงโอสถ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2021.16

คำสำคัญ:

ระบบการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน, ระยะเวลาที่อยู่ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน, การเสียชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉิน วิกฤติ ภายใน 24 ชั่วโมง, โรคติดเชื้อโควิด 19; วิถีใหม่

บทคัดย่อ

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อกระบวนการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน มีการเปลี่ยนแปลง กระบวนการรักษาตามนโยบายและมาตรการการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด 19 ภายใต้ข้อจำกัดหลายประการ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระบบการรักษาพยาบาลฉุกเฉินก่อนและหลังการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์ย้อนหลัง (retrospective cohort study) โดยเก็บข้อมูลจากแบบบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยประเภทฉุกเฉินวิกฤติ (resuscitation: ESI level 1) โดยเปรียบเทียบก่อนการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 จำนวน 796 คน และหลัง การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 จำนวน 976 คน ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงของผู้ป่วยฉุกเฉิน วิกฤติที่มารับการรักษาที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ช่วงก่อนและหลังการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 เท่ากับร้อยละ 12.16 และ 12.91 ตามลำดับ (p=0.774) เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาเฉลี่ยเป็นนาทีที่ใช้ในห้อง อุบัติเหตุและฉุกเฉิน ช่วงก่อนและหลังการระบาดของโรคโควิด 19 เท่ากับ 81.78±56.57 และ 80.52±54.45 ตามลำดับ (p>0.05) สรุปได้ว่าระบบการรักษาพยาบาลฉุกเฉินแบบวิถีใหม่ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 โรงพยาบาล เชียงรายประชานุเคราะห์ ไม่มีผลต่อคุณภาพการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนระบบงาน การจัดอัตรากำลัง และการปฏิบัติตามกระบวนการดูแลแบบวิถีใหม่ สู่การกำหนดนโยบายการบริการสุขภาพให้บรรลุเป้าหมายสำคัญ คือคุณภาพการรักษาพยาบาลและความปลอดภัยของผู้รับบริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงต่อไป

References

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 12 ต.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/handout001_12032020.pdf

International Council of Nurses. COVID-19 and the international supply of nurses [Internet]. 2020 [cited 2021 Jan 30]. Available from:https://www.icn.ch/system/files/documents/20207/COVID19_interna- tionalsupplyofnurses_Report_FINAL.pdf

Eftekhar Ardebili M, Naserbakht M, Bernstein C, Alazmani-Noodeh F, Hakimi H, Ranjbar H. Healthcare providers experience of working during the COVID-19 pandemic: a qualitative study. AJIC 2021;49:547–54.

Baldi E, Sechi GM, Mare C, Canevari F, Brancaglione A, Primi R, et al. Out-of-hospital cardiac arrest during the COVID-19 outbreak in Italy. NEJM 2020;383:496– 8.

Ball J, Nehme Z, Bernard S, Stub D, Stephenson M, Smith K. Collateral damage: Hidden impact of the COVID-19 pandemic on the out-of-hospital cardiac arrest system-of-care. Resuscitation 2020;156:157– 63.

Australasian College for Emergency Medicine. The new normal ED – living with covid-19 [Internet]. 2021 [cited 2021 Oct 10]. Available from: https://acem.org.au/Content-Sources/Advancing-Emergency-Medicine/ COVID-19/Resources/Clinical-Guidelines/The-NewNormal-ED-%E2%80%93-Living-with-COVID-19

Mitchell R, Banks C. Emergency departments and the COVID-19 pandemic: making the most of limited resources. EMJ 2020;37:58-9

Panovska-Griffiths J, Ross J, Elkhodair S, Baxter-Derrington C, Laing C, Raine R. Exploring overcrowding trends in an inner city emergence department in the UK before and during COVID-19 epidemic. BMC 2021; 21:43.

Hartnett KP, Kite-Powell A, DeVies J, Coletta MA, Boehmer TK, Adjemian J, et al. Impact of the COVID-19 pandemic on emergency department visits — United States, January 1, 2019–May 30, 2020. MMWR 2020;69:699–704.

Lucero A, Sokol K, Hyun J, Pan L, Labha J, Donn E, et al. Worsening of emergency department length of stay during the Covid‐19 pandemic. JACEP Open 2021;2:1-8

Tsai LH, Chien C-Y, Chen CB, Chaou C-H, Ng CJ, Lo MY, et al. Impact of the coronavirus disease 2019 pandemic on an Emergency Department service: Experience at the largest tertiary center in Taiwan. Risk Manag and Healthc Policy 2021;14:771–7.

Bouillon-Minois JB, Raconnat J, Clinchamps M, Schmidt J, Dutheil F. Emergency department and overcrowding during COVID-19 outbreak; a letter to editor. Arch Acad Emerg Med 2021;9:e28.

Mulholland RH, Wood R, Stagg HR, Fischbacher C, Villacampa J, Simpson CR, et al. Impact of covid-19 on accident and emergency attendances and emergency and planned hospital admissions in Scotland: an interrupted time-series analysis. Journal of the Royal Society of Medicine 2020;113:444–53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31