การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย The development of a care model for thalassemia children Phon Phisai Hospital Nong Khai Province

Main Article Content

พุทธวร พิลาฤทธิ์ พย.บ
ศุภรดา ภาแสนทรัพย์ พย.ม

บทคัดย่อ

      โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคเลือดที่เกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงที่ทาให้ผู้ป่วยเด็กต้องทนทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัว การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงกับผู้ป่วยและผู้ปกครองเด็กธาลัสซีเมีย 30 คู่ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสนทนากลุ่มแบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย และแบบสอบถามความพึงพอใจการใช้บริการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Wilcoxon matched pairs signed ranks test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
        ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย ดังนี้ 1) จัดตั้งคลินิกธาลัสซีเมียเฉพาะ2) ปรับเปลี่ยนขั้นตอนการให้บริการเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนถ่ายเลือดเสร็จภายในวันเดียวกัน 3) มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ภายหลังการพัฒนารูปแบบฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ พฤติกรรม และความพึงพอใจเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการดาเนินงานอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สาหรับผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย จัดเตรียมสถานที่และเตียงนอนสาหรับรับถ่ายเลือดของผู้ป่วยให้เพียงพอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยลดระยะเวลารอคอยในการรับบริการและส่งผลต่อความพึงพอใจมากขึ้นตามลำดับ

Article Details

บท
Research articles

References

ประกริต รัชวัตร์, นัยนา ภูลม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย. วารสาร

วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 15 (1): 334-349.

กองยุทธศาสตร์แลแผนงาน.ข้อมูลทางสถิติของกระทรวงสาธารณสุข. สานักงานปลัดกระทรวง

กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย. โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในเด็ก [อินเตอร์เน็ต]. 2566.

[เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก

http://tsh.or.th/Knowledge/Details/45.

สุขุมาล สิริพันธนะ. (2563). ภาวะแทรกซ้อนทางต่อมไร้ท่อในผู้ป่วยธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพา

เลือด.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563;35(2): 431-440

สถิติข้อมูลเวชระเบียน โรงพยาบาลโพนพิสัย. ข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย โรงพยาบาล

โพนพิสัย 2561-2563. งานเวชระเบียน โรงพยาบาลโพนพิสัย; 2563.

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจ งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนพิสัย. ข้อมูลความพึงพอใจผู้

ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลโพนพิสัย; 2564.

เขตสุขภาพที่ 8 อุดรธานี. แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เขตสุขภาพที่ 8 อุดรธานี

(Service Plan 2561 -2565);2561.

Grey, M., Knaft, K, & McCorkle, R. (2006). A framework

for the study of seft and family management of chronic

conditions. Nurse outlook 2006; 54(5): 278-286.

Kemmis K, & McTaggart R. Participatory action

research. Handbook of qualitative research. London:

Sage;2000.

สารภี ด้วงชู. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียที่ต้องรับเลือดเป็นประจา โรงพยาบาล.

สงขลานครินทร์เวชสาร 2557; 32(6): 25-46.

สุขศิริ ประสมสุข และคณะ. รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพของแม่ที่ดูแลบุตรที่เป็น

โรคธาลัสซีเมีย จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

; 5(7):175-192.

ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์ และคณะ. รูปแบบการจัดการตนเองของเด็กที่ป่วยโรคธาลัสซีเมีย.

วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2563; 28(2): 27-39.

วงเดือน ฤาชา. การพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารกองการ

พยาบาล 2554; 38(1): 31-41.

นฤมล ธีระรังสิกุล และศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์. ประสบการณ์การดูแลของเด็กที่เป็น โรคธาลัสซีเมีย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(4), 48-60.

นงพรรณ พิริยานุสรณ์. คู่มือวิจัยและพัฒนา: โครงการสวัสดิการวิชาการ. สถาบันพระบรมราชชนก: นนทบุรี; 2546.

อภิชญา อารีเอื้อ และคณะ. รูปแบบการปรับปรุงคุณภาพการดูแลในสถานบริการสาหรับ ผู้ป่วยเรื้อรัง: กรณีคลินิกเด็กธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 25(4): 42-50.