การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ ของผู้ป่วยที่ได้ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ในงานการพบาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี Development of nursing practice guidelines for the prevention of phlebitis In patients receiving Intravenous therapy at in patient department Kukaew hospital, Udon Thani Province.
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ วัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบของผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ งานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้แนวคิดของเคมมิสและแมคทาการ์ท วงจร PAOR มาพัฒนาและนำไปปรับใช้กับการทำงานให้ดีขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลกู่แก้ว จำนวน 13 คน และผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ โดยอาศัยเกณฑ์การคัดเข้าคือ จำนวน 385 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบประเมินตนเองของพยาบาล และแบบสังเกตการปฏิบัติทางการพยาบาล 2) แบบประเมินการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ 3) แบบทดสอบความรู้การปฏิบัติทางการพยาบาล 4) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลและของผู้ป่วย ต่อการปฏิบัติตามแนวทางการพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired T-test ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า การปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติทางการพยาบาลฯ โดยภาพรวมรายข้อมีการปฏิบัติทุกครั้ง (Mean = 4.41, S.D. = 0.50) ผลการประเมินแนวทางปฏิบัติการทางการพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบของผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำแนวใหม่ มีความเหมาะสมมากที่สุด (Mean = 4.27, S.D. = 0.70) และเมื่อเปรียบเทียบความรู้ในการปฏิบัติการตามแนวทางการปฏิบัติทางการพยาบาลฯ หลังเข้าอบรมเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้าอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบหลอดเลือดดำอักเสบของผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำลดลง จากร้อยละ 2.44 เป็น 0.60 ในด้านความพึงพอใจของพยาบาลและผู้ป่วยต่อแนวทางการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ โดยส่วนใหญ่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดและระดับมาก ตามลำดับ
Article Details
References
วิภา หาปู่ทน. การสร้างแนวปฏิบัติตามมาตรฐานการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ [อินเทอร์เน็ต].2556. [เข้าถึงเมื่อ20 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttp://203.157.71.148/hpc7data/Res/ResFile/2560000701.pdf
Ray Barruel, G., Polit, D. F., Murfield, J. E., & Rickard, C. M. (2014). Infusion phlebitis assessment measures: a systematic review. J Eval Clin Pract. 2014; 20(2): 191-202. doi:10.1111/jep.12107
ไสว นรสาร. หลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการได้รับสารน้ำ. วารสารการพยาบาลรามา 2006; 12(2): 167-173.
สถิติข้อมูลผู้ป่วยงานการพยาบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาลกู่แก้ว. รายงานการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบงานการพยาบาลผู้ป่วยใน ; 2564-2566.
ชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำแห่งประเทศไทย. ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ; 2563.
Kermid,S &Mc tagart,R. The Action Research Plane (3rd) victoriia.Deaking Deakkin university.1986
อรุณ จิรวัฒน์กุล และคณะ. ชีวสถิติ (พิมพ์ครั้งที่4). ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
ไพศาล วรคำ. การวิจัยทางการศึกษา Education Research. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์; 2559.
กิตติรัตน์ สวัสดิ์รักษ์ และศันสนีย์ ชัยบุตร และคณะ. พัฒนาแนวทางปฏิบัติทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย โรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2651; 38(3): 50-60.
กาญจนา อุดมอัษฎาพรและมยุรี พรมรินทร์. ประสิทธิผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการป้องกันการอักเสบของหลอดเลือดดำและการรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดดำ จากการใช้ยากระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือดหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสานสาธารณสุขล้านนา 2561; 14(1): 35-45.
วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร และคณะ. การส่งเสริมการปฏิบัติของพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการจัดการสายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลาย. วารสารพยาบาลสาร 2557: 41(Supplement November): 71-87.