การศึกษาสถานการณ์การเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ในสถานบริการสุขภาพ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร The Study of the situation discrimination against people with HIV and AIDS in health care facilities at Charoen Sin District, Sakon Nakhon Province.

Main Article Content

ดวงฤดี วรชิณ พย.บ.

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


                ปัญหาการตีตราและเลือกปฏิบัติกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยเอดส์ ส่งผลกระทบต่อการได้รับการบริการที่ไม่เป็นธรรม การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การตีตราและ           การเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในสถานบริการสุขภาพ เขตอำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้บริการในสถานบริการสุขภาพ จำนวน 154 ราย ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามทัศนคติต่อการให้บริการกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ 2) แบบสัมภาษณ์ข้อคิดเห็นในการปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)


               ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความกังวลใจเมื่อต้องเจาะเลือดให้กับผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยเอดส์ อยู่ในระดับมาก (Mean = 49.35) มีความกังวลใจเมื่อต้องทำแผลอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 48.05)  มีความกังวลใจที่ต้องสัมผัสร่างกาย เสื้อผ้า เตียง หรือสิ่งของเครื่องใช้ (Mean = 63.64) และรู้สึกไม่สบายใจทุกครั้งที่จะต้องให้บริการ เพราะเชื่อว่าความเสี่ยงต่อการติดเชื้อฯ มากขึ้น และมีความรู้สึกไม่เต็มใจต่อการให้บริการอยู่ในระดับน้อยที่สุด (Mean = 79.87) จะเห็นว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแนวคิดการปฏิบัติกับผู้ป่วยเอดส์ไปในทิศทางเดียวกัน คือ มีความกลัวการติดเชื้อเอชไอวีจากให้บริการสุขภาพ ทั้งการสัมผัสร่างกายหรือสิ่งของผู้ป่วยเอดส์ การทำแผล และการเจาะเลือด เป็นต้น นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างยังเสนอแนะให้มีระบบ  One Stop Service เพื่อเป็นมาตรฐานของสถานบริการสุขภาพในการให้บริการแก่ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวไป

Article Details

บท
Research articles

References

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหา เอดส์ พ.ศ. 2560 – 2573. กรุงเทพฯ: เอ็นซี คอนเซ็ปต์. 2560.

Harris J, & Thaiprayoon S. Common factors in HIV/AIDS prevention success: lessons from Thailand. BMC health services research 2022; 22(1): 1487.

UNAIDS. Zero Discrimination Day [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก http://www.unaids.org/en/resources/camp

กรมควบคุมโรค. แนวคิดการรณรงค์วันยุติการเลือกปฏิบัติ 1 มีนาคม วันยุติการเลือกปฏิบัติ

“สานพลัง ยุติการเลือกปฏิบัติ (Thailand Partnership for Zero Discrimination)”. 2562. กรุงเทพมหานคร

Andersson GZ, Reinius M, Eriksson LE, Svedhem V, Esfahani FM, Deuba K, et al. Stigma reduction interventions in people living with HIV to improve health-related quality of life. The lancet. HIV 2020; 7(2): e129–e140.

Yuvaraj A, Mahendra VS, Chakrapani V, Yunihastuti E, Santella AJ, Ranauta A, et al. HIV and stigma in the healthcare setting. Oral Diseases 2020; 26(1): 103-111.

Abdulai MA, Mevissen FE, Kramer A, Boitelet Z, Asante KP, Owusu-Agyei S, et al. A qualitative analysis of factors influencing healthcare providers’ behavior toward persons living with HIV in Ghana. International Journal of Africa Nursing Sciences 2023; 18: 100532.

กัลยาณี จันธิมา, ศิวะยุทธ สิงห์ปรุ และวีรพล จันธิมา. สถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติในผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพในเขตสุขภาพที่ 9 ปี 2562. วารสารควบคุมโรค 2565; 48(3): 505-513.

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP). ลดการตีตราและเลือกปฏิบัติในสถานบริการสุขภาพมีต้นทุนเท่าใด. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. 2562; 7(57).

มูลนิธิแคร์แมท. สถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV[อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://www.caremat.org.

นาวา ผานะวงศ์. ผลการใช้โปรแกรมลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ปี พ.ศ. 2562. วารสารโรคเอดส์ 2562; 31(3): 125-141.

Best JW. Research in education. 3 rd ed. Engle Clift. NJ: Prentice-Hall. 1977.

Daniel WW. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. 6

th ed. New York: John Wiley & Sons. 1955.

อภิญญา เปี่ยมวัฒนาทรัพย์, ยศภัทร เสาวภาคลิมป์กุล, ประไพพิศ วิวัฒน์วานิช, คณะ Matrix SAIL. สถานการณ์การตีตราและการ เลือกปฏิบัติประเด็นเกี่ยวเนื่องกับเอชไอวี/เอดส์ในสถานบริการสุขภาพในพื้นที่เขตสุขภาพที่ [อินเทอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จากhttp://223.27.246.196/ aca/attachments/article/58/stigmatize.pdf

วันทนีย์ ธารณธนบูลย์ และพัชมณ เจริญนาวี. การตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ เขตบริการสุขภาพที่ 10. วารสารโรคเอดส์ 2566; 35(1): 14-32.

คณะทำงานวิชาการพัฒนาเครื่องมือการสำรวจสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติ. การตีตราและเลือกปฏิบัติในประเทศไทย [เอกสารประกอบการประชุม]. 2558.

Harris J, Thaiprayoon S. Common factors in HIV/AIDS prevention success: lessons from Thailand. BMC Health Services Research 2022; 22(1): 1487.

Lalhruaimawii I, Danturulu MV, Rai S, Chandrashekar UK, Radhakrishnan R. Determinants of stigma faced by people living with Human Immunodeficiency Virus: A narrative review from past and present scenario in India. Clinical Epidemiology and Global Health 2022; 1: 101117.

Iott BE, Loveluck J, Benton A, Golson L, Kahle E, Lam J, et al. The impact of stigma on HIV testing decisions for gay, bisexual, queer and other men who have sex with men: a qualitative study. BMC Public Health 2022; 22(1): 1-7.

ณัฏฐวัฒน์ ตั้งปฐมวงศ์. การสื่อสารที่ส่งผลต่อการตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์: ภาพตัวแทน และความหมายต่อคุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อ. วารสารโรคเอดส์ 2562; 31(3):103-115.

บุณรฎา นามแกว และกิตติพร เนาวสุวรรณ. ประสบการณการถูกตีตราของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและวิธีปฏิบัติตัวที่ดีของผูติดเชื้อเอชไอวี เพื่อลดการตีตราตนเองเมื่อมารับบริการที่โรงพยาบาล. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2564: 11(2): 17-31.

Pearce LA, Homayra F, Dale LM, Moallef S, Barker B, Norton A, Hayashi K, Nosyk B. Non-disclosure of drug use in outpatient health care settings: Findings from a prospective cohort study in Vancouver, Canada. International Journal of Drug Policy 2020; 84: 102873.

Shi C, Cleofas JV. Professional commitment and willingness to care for people living with HIV among undergraduate nursing students: The mediating role of empathy. Nurse Education Today 2022; 119: 105610.