นโยบายกับการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย Policy and Personnel Development in Public Health, Phon Phisai District, Nong Khai Province.

Main Article Content

พงษ์เพชร ผาตะเนตร ส.บ.

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดหนองคาย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรสายสนับสนุนของบุคลากรสายสนับสนุนของโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดหนองคายจำนวน 240 คน  กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565  เครื่องมือที่ใช้ในการแบบสอบถามความคิดเห็น ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน หาค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาคอร์นบาร์คได้ค่าเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ประเด็นหลัก


                ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.75 และเพศชาย ร้อยละ 36.25 ส่วนใหญ่อายุอยู่ในช่วงอายุ 41-50 ปี ร้อยละ 30.83 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มากที่สุดร้อยละ 42.50 เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 62.50 มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานสูงสุด 37 ปี และต่ำสุด 1 ปี บุคลากรสายสนับสนุนของโรงพยาบาลชุมชน มีความต้องการที่จะได้รับการพัฒนาตนเองด้านการฝึกอบรมเป็นอันดับแรก ดังนั้นเพื่อให้องค์กรได้เกิดการพัฒนาได้อย่างครอบคลุม ควรสนับสนุนให้บุคคลากรสายได้รับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการทำงานเฉกเช่นบุคลาการสายวิชาชีพอื่นๆเช่นกัน

Article Details

บท
Research articles

References

Teachme Biz .พัฒนาองค์กรให้ไกลด้วยการพัฒนา Back Office. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 22 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://teachme-biz.com/ blog/front-backoffice-management/.

รัตนาภรณ์ มาคุ้ม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41(วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร; 2558.

วิจิตร อาวะกุล. การฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร:.ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

HREX asia. เสริมสร้างสมรรถนะ (Competency) ให้บุคลากรส่งเสริมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190624-competency/.

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. (19 สิงหาคม 2542).

คณิตา, นิจจรัลกุล และฮาลีเม๊าะ สนิ. ผลของการใช้นวัตกรรมคุณลักษณ์ศึกษาด้านการเรียนรู้ที่มีต่อพฤติกรรมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/8505

อมรรัตน์ ปักโคทานัง. ศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำ ;2548.

ประภาพร กุลณวงค์. ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนงานด้านวิชาการ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

พิมพ์ลักษณ์ อยู่วัฒนา. แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุน เครือข่ายบริการสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 9 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gaa-moph.com/gaamoph/home/Document2/Pimluck-10.2.pdf.