การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ การเงินการคลังของโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม ปีงบประมาณ 2564 – 2566 The efficiency of financial management of hospitals Affiliation the Samut Songkhram Provincial Public Health Office from 2021 to 2023.

Main Article Content

กรรณิการ์ เงินทอง บธ.บ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริการจัดการการเงินการคลังโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม ในปีงบประมาณ 2564 – 2566 โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากผลการประเมินประสิทธิภาพ (TPS) ของกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นโรงพยาบาลที่สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบประเมิน (Total Performance Score :TPS) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด


        ผลการศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพการบริการจัดการการเงินการคลังของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง มีดังนี้ 1) โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในปี 2565 แต่กลับลดลงในปี 2566 โดยมีคะแนนรวมเท่ากับ 8, 9.5, 8 คะแนน 2) โรงพยาบาลอัมพวา มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นใน ปี 2565 และลดลงในปี 2566 เช่นกัน โดยมีคะแนนรวมเท่ากับ 6.5, 8.5, 8 คะแนน และ 3) โรงพยาบาลนภาลัย มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีคะแนนรวมเท่ากับ 10.5, 9.5, 8 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ประสิทธิภาพการบริการจัดการการเงินการคลังด้านตัวชี้วัดกระบวนการ พบว่า โรงพยาบาลอัมพวา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2564-2566 โดยมีคะแนนรวมเท่ากับ 2.5, 3.5, 5 คะแนน ในส่วนของโรงพยาบาลสมเด็จ           พระพุทธเลิศหล้าเพิ่มขึ้นปี 2565 และลดลงในปี 2566 โดยมีคะแนนรวมเท่ากับ 5, 6.5, 6 คะแนน และโรงพยาบาลนภาลัย ลดลงในปี 2565 และเพิ่มขึ้นในปี 2566 โดยมีคะแนนรวมเท่ากับ 7.5, 4.5, 5.5 คะแนน ในด้านตัวชี้วัดผลลัพธ์ดำเนินงาน พบว่า โรงพยาบาลทุกแห่งมีผลการประเมินที่มีแนวโน้มลดลง หากทำการวิเคราะห์แยกรายเกณฑ์ 20 ข้อ พบว่า โรงพยาบาลผ่านเกณฑ์การประเมินโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 53.3, 58.3, และ 30 ตามลำดับ


คำสำคัญ: ประสิทธิภาพหน่วยบริการ, การบริหารการเงินการคลัง , โรงพยาบาล


ติดต่อผู้นิพนธ์: กรรณิการ์  เงินทอง  อีเมล: generalledgermoph@gmail.com


 

Article Details

บท
Research articles

References

สำนักงานคณะกรรมการการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). ธรรมนูญว่าระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2565 ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม. นนทบุรี; 2565.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนปฏิรูปประเทศ-ด้านสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566] เข้าถึงได้จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2021/02/CR_07_020264-18.46.pdf

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ( ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566.นนทบุรี; 2566.

กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566] เข้าถึงได้จาก https://dhes.moph.go.th/?p=16866

วิรุณ คงศรีชาย. ประสิทธิภาพทางการเงินการคลังต่อภาวะวิกฤตทางการเงินในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา 2566; 3(1) : 58 – 68.

สุธาดา ศิริกิจจารักษ์. ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาล ในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2560 ; 5(2): 18-34..

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานคณะกรรมการพิจารณาปัญหาสถานะทางการเงินและปรับปรุงระบบการเงินและบัญชีของหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี; 2560.

กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ศูนย์กลางข้อมูลการเงินการคลัง(FDH) [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567] เข้าถึงได้จาก https://dhes.moph.go.th/

ประภัสสร เจริญนาม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิการดำเนินงานของโรงพยาบาลชุมชนในเขตบริการสุขภาพที่ 3-6. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ;2561

จีระพร ลาสุดี และยอดชาย สุวรรณวงษ์. การประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาลภาครัฐในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. วารสารวิจัยพัฒนาระบบสุขภาพ 2563;13(1) : 316-341.

ชาลี เอี่ยมมา. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการเงินการคลังในหน่วยบริการสุขภาพที่มีความเสี่ยงทางการเงินในระดับ 7 เขตสุขภาพที่ 1. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29(2): 345-357.