การพัฒนาแนวทางการประเมินผลงานวิชาการระดับชำนาญการของข้าราชการ ตำแหน่งประเภทวิชาการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย Development of guidelines for evaluating academic work at the expert levels of Civil servants in the academic field of the Nong Khai Provincial Public Health Office.

Main Article Content

วิไลวรรณ เพชรศรีงาม พย.บ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพัฒนาแนวทางการประเมินผลงานวิชาการระดับชำนาญการของข้าราชการ ตำแหน่งประเภทวิชาการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย ทำการศึกษาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 - กลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย จำนวน 35 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็น แบบสอบถามความคิดเห็น แบบประเมินความเข้าใจ หลักเกณฑ์การประเมินผลงานวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired samples T-test


ผลการวิจัย พบว่า แนวทางที่พัฒนา มี 5 กิจกรรม 1) การเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อรับการประเมิน 2) การดำเนินการพิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กระทรวงฯกำหนด 3) การแจ้งผู้ที่มีคุณสมบัติ/ผู้ที่ผ่านการประเมินบุคคล เพื่อส่งประเมินผลงาน 4) การส่งแบบประเมินผลงานไปยังคณะกรรมการประเมินผลงานเพื่อพิจารณาแต่งตั้งต่อไป 5) จัดทำคำสั่งแต่งตั้ง ซึ่งภายหลังการพัฒนาแนวทางทางการประเมินผลงานวิชาการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความเข้าใจในหลักเกณฑ์การประเมินผลงานวิชาการสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05


คำสำคัญ การประเมินผลงานประเภทวิชาการ, ตำแหน่งระดับชำนาญการ, หลักเกณฑ์การประเมินบุคคล,ข้าราชการประเภทวิชาการ


 

Article Details

บท
Research articles

References

เอกสารอ้างอิง

องอาจ นัยพัฒน์, นิภา ศรีไพโรจน์, ดวงใจ สีเขียว, นพวรรณ ศรีเกตุ. การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) โดยใช้ตัวชี้วัด สำคัญรายบุคคล. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและ

พัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2558; 7(14): 182-197.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกรมอนามัยเรื่อง การกำหนดกรอบเส้นทางสั่งสม ประสบการณ์และผลงาน (Career

Chart) ในการเข้าสู่ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และวิชาการ. นนทบุรี, 2560.

กระทรวงสาธารณสุข.หนังสือประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สธ. 0208.10/ ว123 ลงวันที่ 11 มกราคม 2565.

ฉลอง สุขทอง, ศิรินทิพย์ ไตรเกษม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

วารสารวิทยาการจัดการ 2561; 2(2): 57-67.

ณัฐกานต์ แสงกล้า. แนวทางการบริหารจัดการเบื้องต้นเพื่อการประเมินผลงานวิชาการ

ตำแหน่งนายแพทย์ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2559;

(1): 1-5.

กรุณา คุ้มพร้อม. ความพร้อมในการผลิตผลงานวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่งสูงขึ้น ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก https://ns.mahidol.ac.th/division/nshr/doc/download/HR1/support/ex/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%B2_%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%9924%E0%B8%81%E0%B8%8463_Final.pdf

สมปอง พลโคกก่อง. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลสำหรับบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากร

บุคคลระดับอำเภอในสังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัย สิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2563; 5(3): 105-

วิภาวี เสมวงศ์, อุษณีษ์ อาษายุทธ์,พัชราภรณ์ คงไพบูลย์. การพัฒนากระบวนงานการประเมินผลงานวิชาการของข้าราชการกรมอนามัย

ในสายงานวิชาการสาธารณสุข ระดับชำนาญการและระดับชำนาญการพิเศษ. กรมอนามัย; 2652.