การพัฒนารูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยไข้เลือดออก โรงพยาบาลโพนพิสัยและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย Development of a screening model for dengue fever Phon Phisai Hospital and Primary Care Network Phon Phisai District, Nong Khai Province.

Main Article Content

ศุภรดา ภาแสนทรัพย์ พยม.
ภคพร ตู้จินดา พบ.
ศิริวรรณ สิงหศิริ พย.

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ



การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของ เครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ทำการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึง                   เดือนมิถุนายน 2567 กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานผู้ป่วยนอก, งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช, ศูนย์สุขภาพชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง             จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจในการคัดกรองผู้ป่วยฯ 2) ด้านทัศนคติและความคิดเห็นต่อรูปแบบฯ 3) ด้านความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการคัดกรองโรคไข้เลือดออก ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยวิธีของ Kuder– Richardson (KR-20) ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.81 และหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาช ได้เท่ากับ 0.80, 0.83 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired Samples T-Test


        ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบในการคัดกรองผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ                     1) แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยที่แผนกผู้ป่วยนอก (OPD triage) กรณีที่ผู้ป่วยมาด้วยอาการไข้เฉียบพลัน Probable dengue หรือผู้ป่วยที่สงสัยจะเป็นไข้เลือดออก 2) แนวทางการคัดกรองผู้ป่วยที่สงสัยโรคไข้เลือดออกในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) และ 3) แนวทางการคืนข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังการระบาดของโรคในพื้นที่ ผลการนำรูปแบบฯ ไปใช้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจระดับมาก และมีความคิดเห็นมากที่สุดเกี่ยวกับการมีแนวทางปฏิบัติในการทำงานชัดเจน สื่อสารที่เข้าใจง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง  การประเมินความรู้ความเข้าใจในการคัดกรองฯก่อนและหลัง พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) เป็นต้น


คำสำคัญไข้เลือดออก  รูปแบบการคัดกรองไข้เลือดออก

Article Details

บท
Research articles

References

งานควบคุมโรคติดต่อ. ไข้เด็งกี่ (Dengue). กรมควบคุมโรค : กระทรวงสาธารณสุข ; 2562.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2564 Annual

Epidemiological Surveillance Report . กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค: กระทรวงสาธารณสุข;

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (ฉบับ

ย่อ) พ.ศ.2566 .บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ : กรุงเทพมหานคร; 2566.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดหนองคาย

[อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก:

https://wwwnko.moph.go.th/main_new/#general

โรงพยาบาลโพนพิสัย. รายงานผู้รับบริการด้วยโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลโพนพิสัย. หนองคาย:

โรงพยาบาลโพนพิสัย ; 2566.

Kemmis K & McTaggart R. Participatory action research. Handbook of qualitative

research. London: Sage; 2000.

วนิดา ตันตาปกุล และสุชาตา วิภวกานต์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือด

ออก ในโรงพยาบาลกระบี่. วารสารโรงพยาบาลกระบี่ 2563; 1(2) : 29-40.

ดารุณี โนนทิง . การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง (Intermediate

care) ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน และเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอกระนวน จังหวัด

ขอนแก่น .วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2566 : 8 (1) : 244-251.

มนทกานติ์ ตั้งนพรัตน์กุล, พัชชรี เกษแก้ว และอริญญา บุญอรัญ.การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการ

พยาบาลผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวที่รับบริการในห้องฉุกเฉิน:โรงพยาบาลจตุรพักตร์พิมาน.

วารสารวิจัยและพััฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2567: 5 (1) : 299-307

บุษบา กวีมูล. การพัฒนาระบบการคัดกรองประเภทผู้ป่วยร่วมกับสัญลักษณ์สี สำหรับจุดคัดกรองด่าน

หน้า งานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีสมเด็จ .วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ

:5 (1) :63-75.

อรวรรณ จิรชาญชัย, ประสงค์ วิทยถาวรวงศ์, ธนวรรณ เหล่าพิพัฒนา. การพัฒนาเครือข่ายดูแลผู้ป่วย

โรคไข้เลือดออกของจังหวัดเพชรบูรณ์ [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 11 พฤษภาคม 2566]. เข้า

ถึงได้จาก: https://srth.go.th/region11_journal/document/Y32N3/12_Orawan.pdf

ปณต มานวิโรจน์. รูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30 (2) :

-305.

วนิดา ตันตาปกุล, สุชาดา วิภวกานต์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออก

ในโรงพยาบาลกระบี่, กระบี่เวชสาร. 2562: 2 (1): 29-40.

กุลธินี บัวเผื่อน. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัด

นครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม 2556; 1(3) : 88-97.

ฉวีวรรณ ตรีชมวารี. การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน สำหรับพยาบาลที่ปฏิบัติงานที่จุดคัด

แยกด่านหน้าของโรงพยาบาลธวัชบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2565 : 3(3)

:37-49.