ืืืืผลการใช้แนวทางปฏิบัติการทางการพยาบาล การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย Effective of clinical Nursing Practice Guidelines (CNPG) intravenous fluid to Prevent peripheral phlebitis inpatient Department at Sir Chiang Mai Hospital, Nong Khai Province.
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงโดยอาศัยเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 14 คน ใช้ระยะเวลาในการศึกษา จำนวน 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบประเมินการใช้แนวปฏิบัติการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ แบบสอบถามความพึงพอใจ และอุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย เป็นต้น
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 71.43 มีสถานะโสด คิดเป็นร้อยละ 64.3 มีอายุระหว่าง 20-25 ปี มากที่สุดเป็นร้อยละ 42.85 จบการศึกษาสูงสุดปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในช่วง 1-5 ปี คิดเป็นร้อยละ 57.14 ปฏิบัติงานในตำแหน่งปฏิบัติการ คิดเป็นร้อยละ 64.3 ปฏิเสธโรคประจำตัว 13 คน คิดเป็นร้อยละ 92.85 หลังการใช้แนวทางปฏิบัติฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพิ่มเติม และมีความพึงพอใจมากที่สุด ร้อยละ 98.04 เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังใช้แนวฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างสามารถให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำได้ถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75.55 เป็นร้อยละ 99.27 และช่วยลดอุบัติการณ์การอักเสบที่ส่วนปลายหลอดเลือดดำ จากเป็นร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 6 ตามลำดับ จะเห็นว่า แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นนี้ได้ช่วยเพิ่มความรู้และทักษะการปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลจนเกิดผลดีแก่ผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้นตามลำดับ
คำสำคัญ : แนวปฏิบัติกิจกรรมพยาบาล,การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ,หลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ
ติดต่อผู้นิพนธ์ : มณเฑียร โคตรชมภู อีเมล : Monthiankcp@gmail.com
Article Details
References
O'Grady, N.P., Alerander, M., Dellinger, E. P., et al. (2002) Guidelines for the Prevention of Intravascular catheter Related infections Centers for Disease Control and Prevention. MMWR Recommendations and Reports, 51, 1-29.
ปาจรีย์ ศักดิ์วาลีสกุล, และอุษณีย์ ศิริวงศ์พรหม. ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบจากการได้รับยานอร์อีพิเนฟริน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2562 ;25(2):92-108.
Zheng GH, Yang L, Chen HY, Chu JF, Mei L. Aloe Vera for prevention and treatment of infusion phlebitis. Cochrane Database Syst Rev. 2014; (6)
ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่. (2566). ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล งานการพยาบาลผู้ป่วยในประจำปี พ.ศ. 2565-2567.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.
กันยา นภาพงษ์. (2560). การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ. วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา.
ลักษณี มีนะนันท์. (2535). การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ. ในสุปราณี วศินอมร (บรรณาธิการ), การพยาบาลพื้นฐาน แนวคิดและการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุดทองการพิมพ์.
เพ็ญศรี นิลขำ.การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2567; 8 (16): 227-241.
นภา อุทัยศรี. การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ ของผู้ป่วยที่ได้ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในงานการพยาบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาลกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน 2566; 1(3): 199-214.
Quick summary. (2020). CDC-HICPAC Guideline for the prevention of intravascular catheter related infections.
ไสว นรสาร. หลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำ : ความเสี่ยงทางคลินิกที่ป้องกันได้. Rama Nurs J e 2006; 12 (2):167-176.
กาญจนา อุดมอัษฎาพร, และมยุรี พรมรินทร์. (2561). ประสิทธิผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการป้องกันการอักเสบของหลอดเลือดดำและการรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดดำ จากการใช้ยากระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือด หอผู้ป่วยหนัก โรคหัวใจโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์.วารสารสาธารณสุขล้านนา, 14(1), 35-45.
Lisa A.G. Standard 53: Phlebitis. Journal of Infusion Nursing 2007; 30(5) : 265-266.