ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนแก้ว อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง Effects of Stroke Prevention Program among Hypertension patients Ban Donkhaew sub district health promotion hospital Thoen District, Lampang Province.
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์กำหนด จำนวน 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองตามแนวคิดทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค ประกอบด้วยกิจกรรมในการสร้างการรับรู้โอกาสเสี่ยง ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกระดับความดันโลหิต และแบบสอบถามพฤติกรรมในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ใช้เวลาดำเนินการศึกษาทั้งสิ้นใช้เวลา 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าก่อนการทดลอง และมีค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิตน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้โปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตามแนวคิดทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค จนช่วยให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตลดลงอยู่ในระดับปกติได้ มีทักษะในการปฏิบัติตัว และเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของตนเอง ที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากขึ้น
คำสำคัญ: ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, โปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง,ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค,
ติดต่อผู้นิพนธ์ : พิศิษฐ์ ปาละเขียว
อีเมล: sanae.palakeaw@gmail.com
Article Details
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.
แผนปฏิบัติราชการ ระยะ ๓ ปี(พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕)[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:
https://spd.moph.go.th/government-action-plan-2563
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์การดำเนินงานด้าน
การป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2563.
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การป้องกัน
และควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564) [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2565]. เข้า
ถึงได้จาก : https://www.iccp-
portal.org/system/files/plans/Thailand%20National%20NCD%20plan%202017-2021.pdf
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. การสูญเสียปีสุขภาวะ. นนทบุรี : มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพ
ระหว่างประเทศ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2560.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562.
พิมพ์ครั้งที่ 1 เชียงใหม่ :ทริค ธิงค; 2562.
ชลธิรา กาวไธสง. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วย
ความดันโลหิตสูง[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:journal/showdetail/?
show_preview=T&art_id=1874
ชื่นชม สมพล และคณะ. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้สูงอายุโรคความ
ดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2560;31(ฉบับพิเศษ): 58-74, .
รัตนา ยอดพรหมมินทร์ และเกศแก้ว สอนดี. ผลของโปรแกรมสร้างพลังโดยประยุกต์แบบแผน
ความเชื่อด้านสุขภาพในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอำเภอเมือง จังหวัด
สระบุรี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2555; 25(2): 79-93.
พีระ บูรณะกิจเจริญ. โรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน; 2553.
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. DASH Diet [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 สิงหาคม 2565]. เข้าถึง
ได้จาก:https://www.thaiheartfound.org/Article/Detail/140133
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555.
กรุงเทพฯ: ฮั่วน้ำพริ้นติ้ง; 2558.
ณัฏฐิรา ประสาทแก้ว, แสงทอง ธีระทองคำ และวันทนา มณีศรีวงศ์กูล. (2557). ผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านร่วมกับ
การติดตามทางโทรศัพท์ต่อพฤติกรรมสุขภาพ และภาวะสุขภาพของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. รามาธิบดี
พยาบาลสาร. 2557; 20(3): 356-371.
วิยะการ แสงหัวช้าง และจันทิรา จักรสาร. ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้โดยใช้กระบวนการ
กลุ่มต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือกสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง ตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัด
สระบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2555; 30(4): 260-273.
ศิริรัตน์ ผ่านภพ, นภาเพ็ญ จันทขัมมา และ มุกดา หนุ่ยศรี. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ
กลุ่มเสี่ยงอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563; 13(2): 528-538.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนได้รับการประเมิน
โอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด 2565 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้
จาก: https://lpg.hdc.
โรงพยาบาลส่งเสริสุขภาพตำบลบ้านดอนแก้ว. รายงานสถิติชีพปี พ.ศ. 2564. ลำปาง: ผู้เขียน.
อาคม อารยาวิชานนท์. รูปแบบการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันของ
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. สรรพสิทธิเวชสาร. 2555; 33(1): 71-86.
Center for Disease Control and Prevention. CDC. Physical Activity Guidelines for
Americans [Internet]. [cited 2022 October 12]. Available from: https://www.cdc. gov/physical activity
/resources/ recommendations.html
Rogers, R.W. Cognitive and physiological processes in fear appeals and attitude
change: A revised theory of protection motivation. In J. Cacioppo & R. Petty (Eds.),
Social Psychophysiology. New York: Guilford Press;1983.
Spassova, L.et al.“Randomised controlled trial to evaluate the efficacy and usability of
a computerized phone-based lifestyle coaching system for primary and secondary
prevention of stroke”. Biomed Central Neurology. 16 : 1-9, 2016.
World Stoke Organization. WSO annual report 2013. Administrative Office Geneva;