การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)สนับสนุนการจัดบริการปฐมภูมิภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโค อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย The enhancing quality of life for public health volunteers (VHV) Support for primary care services under the situation of the outbreak of Coronavirus Disease 2019 PaKho Health Promoting Hospital Mueang District NongKhai Province.
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในการสนับสนุนการจัดบริการปฐมภูมิ ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 102 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มีความรู้และการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานและระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 และ 4.01 ตามลำดับ ส่วนข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับต่ำอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.098, P-value = 3.875) ด้านความรู้และการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน และปัจจัยในด้านต่างมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับคุณภาพชีวิตซึ่งอยู่ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (r = 0.258, P-value = 0.009) และ(r = 0.233,P-value = 0.012) โดยมีปัจจัยสนับสนุนทั้งค่าตอบแทน สวัสดิการที่ควรได้รับ แรงจูงใจที่มีคุณค่าและความภาคภูมิใจที่ได้รับการยกย่องจากชาวบ้าน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.), โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
Article Details
References
ศุภัคชญา ภวังค์คะรัต, สมภพ อาจชนะศึก และปิยะณัฐ นามชู. การศึกษาสถานการณ์การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน.[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/(Full_paper_edit)_.pdf
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง และคณะ. การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารระบบสาธารณสุข. 2565; 16 (2): 151-168.
ชาญชัย จิวจินดา. รูปแบบการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม. วารสารการบริหารและการจัดการ.2561; 6(2): 1-9.
สรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด 19 อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. 2564; 1(2): 75-90.
ศศิมา ยอดทหาร และวัลลีรัตน พบคีรี. คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร. งานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ระหว่างวันที่ 9 - 10 กรกฎาคม 2563.2223-2233.
นัสมล บุตรวิเศษ และอุปริฏฐา อินทรสาด. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ:กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์
พระนครศรีอยุธยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 2564
กชพร พงษ์แต้, จิราภรณ์ เตชะอุดมเดช และมยุลี สำาราญญาติ. การศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ที่รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤต. พยาบาลสาร. 2564; 48(1): 281-294.
ปรางค์ จักรไชย, อภิชัย คุณีพงษ์ และวรเดช ช้างแก้ว. ระดับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่ปฏิบัติงานในทีมหมอครอบครัวและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของ อสม.ในทีมหมอครอบครัวจังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2560 ; 31 (1): 16-28.
พงศกร บุญมาตุ่น, วุธิพงศ์ ภักดีกุล, วรินท์มาศ เกษทองมา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเฝ้าระวังการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอทุ่งฝนจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 15(2): 300-312.
Herzberg, Frederick. (1959). The Motivation to Work. (2nd ed.). New York: John Wiley.
Hodgett, Richard M. (1990). Management: Theory process and practice. (5th ed.). New York: Harcourt Brace Jovanovich
ยุทธนา แยบคาย และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานสมรรถนะของ
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี. 2650; 42(2): 179-186.