ปัจจัยที่เป็นสาเหตุการนอนโรงพยาบาลด้วยอาการหอบกำเริบของผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Exacerbation) ในโรงพยาบาลนาบอน

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ หนูหนอง

คำสำคัญ:

การนอนโรงพยาบาล, อาการหอบกำเริบ, ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุการนอนโรงพยาบาลด้วยอาการหอบกำเริบของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Exacerbation) ในโรงพยาบาลนาบอน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 70 คน ที่เข้ารับการรักษานอนพักในโรงพยาบาลนาบอน (Admit) ด้วยอาการหอบกำเริบจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ช่วงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566 เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ข้อมูลปัจจัยร่วมสาเหตุของการกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 3) ความรู้ของของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 4) การรับรูภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 5)  พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เชิงอนุมาน Pearson Correlation

ผลการศึกษา พบว่า ระดับความรู้ของกลุ่มตัวอย่าง ในระดับดี ร้อยละ 84.3 ระดับการรับรู้ ในระดับปานกลาง ร้อยละ 74.3 และพฤติกรรมการจัดการตนเอง ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.3 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยร่วมสาเหตุการเกิดโรคกับการนอนโรงพยาบาลด้วยอาการหอบกำเริบของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (r) แล้วพบว่า การป่วยโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.295) ในระดับต่ำ และการฝึกการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด (r = -.241) มีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับต่ำ

ข้อเสนอแนะ ควรมีการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่คลินิก  COPD คลินิกโรคเรื้อรัง ใน การจัดการตนเองในการลดการกำเริบของโรค นำผลการศึกษามาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในแต่ละด้านได้ เช่น การใช้ยาที่ถูกต้อง การฝึกสมรรถภาพปอด

References

กนกวรรณ อนุศักดิ์, รัตนนุช มาธนะสารวุฒิ, โภคิน ศักรินทร์กุล, วิชุดา จิรพรเจริญ. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลลำพูน. วารสารกรมการแพทย์. 2564; 46 (4): 67-73.

กัลยรัตน์ สังข์มรรทร. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสุรินทร์.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์.36(2); 327-342.

ฉัตรมงคล จินตนาประวาสี. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ต้องเข้ารับ การรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลท่าสองยาง จังหวัดตาก ปี พ.ศ. 2565 . เข้าถึงได้จากhttps://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2566/r2r/MA2566-004-02-0000001048-0000001132.pdf

ธนิดา เลิศลอยกุลชัย. (2563). ปัจจัยทางคลินิกของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ต้องนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน เนื่องจากภาวะกำเริบเฉียบพลันในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารแพทย์เขต 4-5, 39(2); 37-47.

ธีระพันธ์ โต้หนองแปน. (2566).ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ .วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 3 (1);

นุชรัตน์ จันทโรและคณะ. (2561). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อความสามารถ ในการจัดการอาการและอาการหายใจลำบากของผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง .วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 38 (3); 25-37.

บุณฑริกา ชาตรีวัฒนกุลและคณะ. (2561). ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดร่วมกับการใช้ยางยืดต่อการรับรู้สมรรถนะ ตนเองในการควบคุมอาการหายใจลำบาก และสมรรถภาพปอด ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข.32 (1); 157-172.

ปัทมาพร ชนะมาร. (2561). การพัฒนาโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 19(1); 61-72.

ปัญญดา แก้วรัตน์และกล้าเผชิญ โชคบำรุง. (2564). การศึกษาความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตัว และสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ . 14 (3) ;13-27.

ปิยะวรรณ กุวลัยรัตน์, กมลพร มากภิรมย์, สุดฤทัย รัตนโอภาส.(2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะกำเริบและมารักษาที่แผนกฉุกเฉินของผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.3 (2) ; 29-41.

พรวิภา ยาสมุทรและคณะ. (2563).การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบ องค์รวมและครบทุกมิติโดยการมีส่วนร่วมของ ภาคีเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน.วารสารวิชาการสาธารณสุข29 (2); 281-292.

พีราวรรณ เก่งสงวนสิทธิ์และชิดใจ จินตธรรม.(2564). ผลของการใช้รูปแบบการบริการพยาบาลโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังร่วมกับ การพยาบาลทางไกล โรงพยาบาลจุน จังหวัดพะเยา เข้าถึงได้จากhttp://203.209.96.243/phealth/web/images/.pdf

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยฉบับปรับปรุง. (2565). แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. เข้าถึงได้จาก https://www.tst.or.th/wp-content/uploads/2023/05/Asthma-Thai-guideline-2566-PDF-final-.pdf

สราญรัตน์ ส่งข่าและคณะ. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 17(4); 335-343.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2558). สถิติข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ(โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง). นครศรีธรรมราช: สำนักงานฯ.

สุรางรัตน์ พ้องพาน. (2550). โรคปอดอุดกั้น(COPD). เข้าถึงได้จาก http://dric.nrct.go.th

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา ร่วมกับ โรงพยาบาลพะเยา. (2563). แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง COPD : Chronic obstructive pulmonary disease .เข้าถึงได้จาก https://www.pyomoph.go.th/backoffice/files/40137.pdf

อังคณา วงศ์แสนสี.(2563). รูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน.6(3); 48-61.

อัญชนา พงศ์พันธ์. (2566). การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังตาม GOLD Guideline 2023 .เข้าถึงได้ https://www.pharmacycouncil.org/ccpe/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=1332

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14