ผลของการพยาบาลด้วยระบบพยาบาลเจ้าของไข้ หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • ประยูรเกียรติ เอกา

คำสำคัญ:

ระบบพยาบาลเจ้าของไข้, ความพึงพอใจของพยาบาล, ความพึงพอใจของผู้รับบริการ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลด้วยระบบพยาบาลเจ้าของไข้หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลฟากท่า ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 9 คน และผู้ป่วย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือระบบพยาบาลเจ้าของไข้ แผนฝึกอบรมการปฏิบัติงานในระบบพยาบาลเจ้าของไข้แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการ และของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One-group-t-test และ paired t-test     

            ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการนำระบบพยาบาลเจ้าของไข้มาใช้ ความพึงพอใจของผู้รับบริการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.30) โดยทุกด้านได้แก่ เทคนิคการดูแล คุณภาพการดูแล ความพร้อมของบริการ สิ่งแวดล้อม การดูแลต่อเนื่อง และผลลัพธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับความพึงพอใจของพยาบาล พบว่า ระดับความพึงพอใจโดยรวมเพิ่มขึ้นจากเดิมที่อยู่ในระดับมาก (3.64) เป็นระดับมากที่สุด (4.62) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการติดต่อสื่อสารมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (4.66) รองลงมาคือด้านการบังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน ลักษณะงาน และสภาพการทำงาน (4.64, 4.62, 4.59 และ 4.58 ตามลำดับ) เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความพึงพอใจก่อนและหลังด้วยสถิติ Paired t-test พบว่าทั้งภาพรวมและรายด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่าระบบพยาบาลเจ้าของไข้ช่วยเพิ่มความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาล และความพึงพอใจของผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี

References

เพ็ญนภา ตองติดรัมย์. (2549). ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยมะเร็งและความพึงพอใจในงานของพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมิตรา โพธิ์ปาน, กมลชนก มากมา, วิธศมน วุฒิศิรินุกูล และอัญชลี อินทะเสน (2565). การพัฒนาระบบการพยาบาลเจ้าของไข้ห้องผู้ป่วยหนักแผนกกุมารเวชกรรม. พุทธชินราชเวชสาร, 39(3), 304-317. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/259857

Best, J. W. and Kahn J.V. (1993). Research in Education. 7th ed. Boston, MA: Allyn and Bacon.

Choi, E., Lee, H., Kim, J., Ko, M., & Kim, B. (2013). Effect of Changes in Nursing Delivery System on Satisfaction of Nurses and Patients and Direct Nursing Time. Journal of Korean Academy of Nursing Administration, 19, 217-226. https://doi.org/10.11111/JKANA.2013.19.2.217.

Eriksen, L.R. (1988). Measuring patient satisfaction with nursing care: A magnitude estimation approach. In C. F. Waltz and O. L. Strickland. (Eds). Measurement of nursing outcomes. New York: Springer.

Jones, K., (1979) Study document effects of primary nursing on renal patients. Hospitals 1979;49(12):

-9.

Jonsdottir H. (1999). Outcome of implementing primary nursing in the care of people with chronic lung disease: the nurse’s experience. J Nurs ggggg. 7(4): 235-42.

Kutney-Lee, A., McHugh, M., Sloane, D., Cimiotti, J., Flynn, L., Neff, D., & Aiken, L. (2009). Nursing: a key to patient satisfaction.. Health Affairs, 28 4, w669-77. https://doi.org/10.1377/hlthaff.28.4.w669.

Marram GD, Barrett MW, Bevis EO. (1979). Primary Nursing: a model for individualized care. St. Louis: Mosby;.

Nantsupawat, A., Srisuphan, W., Kunaviktikul, W., Wichaikhum, O., Aungsuroch, Y., & Aiken, L. (2011). Impact of nurse work environment and staffing on hospital nurse and quality of care in Thailand.. Journal of Nursing Scholarship: an official publication of Sigma Theta Tau International Honor Society of Nursing, 43 4, 426-32. https://doi.org/10.1111/j.1547-5069.2011.01419.x.

Nissen, J., Boumans, N., & Landeweerd, J. (1997). Primary nursing and quality of care: a Dutch study.. International journal of nursing studies, 34 2, 93-102 . https://doi.org/10.1016/S0020-7489(96)00039-9.

Payne, R., & Steakley, B. (2015). Establishing a primary nursing model of care. Nursingmanagement, 46(12), 11-13.

Sellick, K., Russell, S., & Beckmann, J. (2003). Primary nursing: an evaluation of its effects on patient perception of care and staff satisfaction. International Journal of Nursing Studies, 40, 545-551. https://doi.org/10.1016/S0020-7489(03)00064-6.

Shengsorn S. (2002). The Primary of nursing in intensive care: a case study hospital. Samitivej Sukhumvit [Master Thesis]. Bangkok:Chulalongkorn University. (in Thai)

Spector, P. E. (1997). Job satisfaction: Application. Assessment, Cause and Consequence. London: SAGE.

Sullivan, E. J., & Decker, P. J. (2000). Effective leadership and management in nursing. New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30