แนวคิดเทคโนโลยีบล็อกเชนและการประยุกต์ใช้กับงานจ่ายเงินกองทุนการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อสนับสนุน อุดหนุนหรือชดเชยการปฏิบัติการฉุกเฉินทางบก

ผู้แต่ง

  • บัณฑิต พีระพันธ์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2022.20

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีบล็อกเชน, กองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน, ค่าชดเชยการออกปฏิบัติการฉุกเฉินทางบก, การเงิน, การบริหารจัดการ, มิติข้อมูล

บทคัดย่อ

กองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน อุดหนุน หรือชดเชยปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน โดยชุดปฏิบัติการทางบกเป็นปฏิบัติการส่วนหนึ่งที่ใช้เงินจากกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อเป็นการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินให้มีการพัฒนาตามแนวทางปฏิรูปและยกระดับการบริหารงานภาครัฐ บทความนี้ได้มีการทบทวนแนวคิดการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้ อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้กับการทำงาน อาจก่อให้เกิดผลกระทบซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลที่เกี่ยวข้องและหน่วยงาน ควรตระหนักถึงการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในการวางแผนการทำงาน การจัดการมิติข้อมูล การประเมินความเสี่ยง และการป้องกันความเสียหายหรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้การวางโครงสร้าง การกำกับดูแล การใช้งานเทคโนโลยีอย่างรัดกุม มีนโยบาย ระเบียบวิธีปฏิบัติอย่างเพียงพอเหมาะสม รวมถึงมีการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อใช้ในการตัดสินใจและพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป บทความนี้จึงนำเสนอแนวคิดการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในการจ่ายเงินค่าชดเชยการออกปฏิบัติการฉุกเฉินทางบกมาทดแทนระบบเดิมหรือระบบ E-budget เพื่อแก้ปัญหาการจ่ายเงินล่าช้าและจ่ายเงินซ้ำซ้อน ลดต้นทุนในการดำเนินงาน ลดข้อพิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่ กับหน่วยปฏิบัติการ และป้องกันเจ้าหน้าที่ทุจริต อันจะนำไปสู่การสร้างความโปร่งใส ความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นต่อการจ่ายค่าชดเชยการปฏิบัติการฉุกเฉินทางบก

References

พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551. ราชกิจจา นุเบกษา เล่มที่ 125, ตอนที่ 44 ก (ลงวันที่ 6 มีนาคม 2551).

พรรณทิพา จิตอุ่น. คู่มือแนวทางการจ่ายเงินกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อสนับสนุน อุดหนุนหรือชดเชยการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, 25632. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนแม่บทเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2563-2570. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2563.

Beyond the Hype: the real impact of blockchain on economy [internet]. 2022 July 26 [cited 2022 Dec 2]. Available from: https://appinventiv.com/blog/real-impact-of-blockchain-technology-on-economy/

Chowdhury AR. Is Bitcoin the ‘Paris Hilton’ of the currency world? Or are the early investors onto something that will make them rich? [Internet]. Working papers and research 2014, Marquette University, Center for Global and Economic Studies and Department of Economic [cited 2022 Nov 8]. Available from: https://ideas.repec.org/p/mrq/wpaper/2014-01.html

ZIPMEX. บล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร? เข้าใจ Technology โลกการเงินกระจายศูนย์ [อินเทอร์เน็ต]. 7 พฤศจิกายน 2565 [สืบค้นเมื่อ 10 พ.ย.2565]. แหล่งข้อมูล: https://zipmex.com/th/learn/what-are-blockchain-and-cryptocurrency/

วิบูลย์ ภัทรพิบูล, พิสิษฐ์ ปิยพสุนทรา. Blockchain for government services การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับภาครัฐ เวอร์ชัน 2.0 (มกราคม พ.ศ. 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล; 2564.

ฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. การบูรณาการ Blockchain กับการประยุกต์ใช้ในระดับองค์กร [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 20 พ.ย.2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.depa.or.th/th/article-view/blockchain-work

Ghimire S, Selvaraj H. A survey on Bitcoin cryptocurrency and its mining [internet]. [cited 2022 Dec 2]. Available from: https://www.researchgate.net/publication/331040157_A_Survey_on_Bitcoin_Cryptocurrency_and_its_Mining/download

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28