ระดับปัญหาพฤติกรรมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนอาชีวศึกษา
คำสำคัญ:
ปัญหาพฤติกรรม, นักเรียนอาชีวศึกษา, วัยเรียนวัยรุ่น, สุขภาพจิตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาระดับปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนอาชีวศึกษาในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนอาชีวศึกษาในประเทศไทย
วัสดุและวิธีการ: ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนอาชีวศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่ได้รับทุนการศึกษาจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ภายใต้โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปีการศึกษา 2562 ทั้งหมด 36 วิทยาลัย จากทุกภาคทั่วประเทศไทย จำนวน 26 จังหวัด จำนวน 2,503 คน โดยมีนักเรียนที่ตอบแบบประเมินสมบูรณ์ ทั้งหมดจำนวน 1,782 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน
(The Strengths and Difficulties Questionnaire : SDQ) ฉบับภาษาไทย สำหรับนักเรียนประเมินตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์การแจกแจงแบบตารางไขว้ ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ด้วยการวิเคราะห์ไคสแคว์ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ Odds ratio (OR)
ผล: ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาพฤติกรรมโดยรวมของนักเรียนอาชีวศึกษา ในระดับที่มีปัญหา คิดเป็นร้อยละ 19.8 โดยปัญหาพฤติกรรมที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาพฤติกรรมด้านอารมณ์ ร้อยละ 15.1 รองลงมาคือ ปัญหาพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน ปัญหาพฤติกรรมเกเร และปัญหาพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง คิดเป็นร้อยละ 11.2, 6.1 และ 3.1 ตามลำดับ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมโดยรวม ได้แก่ ปัจจัยด้านภูมิภาค
สรุป: ปัญหาพฤติกรรมโดยรวมของนักเรียนอาชีวศึกษาในประเทศไทยซึ่งอยู่ในระดับที่มีปัญหาในระดับสูง ครู และบุคลากรทางการศึกษาควรได้รับการเสริมสร้างความรู้และการเข้าใจเรื่องปัญหาพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาพฤติกรรมและด้านอารมณ์อย่างเหมาะสม
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ความรุนแรงของวัยรุ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บียอนด์ พับลิสชิ่ง; 2550.
Hall, G. S.. Adolescence: Its psychology and its relations to physiology. Anthropology, sociology, sex, crime, religion, and education. New York: Appleton; 1904.
Erikson, E. H.. Identity, Youth, and Crisis. New York: W.W. Norton; 1968.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. พฤติกรรมวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช; 2534.
วรรณวิไล กมลกิจวัฒนา. ความชุกของปัญหาพฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดสมุทรสงคราม [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
ปรารมภ์ นุชถาวร. การปรับตัวของนักเรียนต่อสภาพการเรียนอาชีวศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทบวงมหาวิทยาลัย; 2532.
อิสรียา ดาราทอง, ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร, และ นภาพร โกมลพันธ์. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของนักเรียนอาชีวศึกษากับความฉลาดทางอารมณ์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2552; 54(2): 125-136.
ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน, วิมลรัตน์ วันเพ็ญ, ศศกร วิชัย, พัชรินทร์ อรุณเรือง, จันทร์ชนก โยธินชัชวาล, ธนโชติ เทียมแสง, และคณะ การสำรวจสถานการณ์ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงและการติดเกมในนักเรียน โรงเรียนนำร่องระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2556
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์, สุภาวดี นวลมณี, แอนเดียร์ เบรกเกอร์, โวฟกัง เวิร์นเนอร์, และ อภิชัย มงคล. ค่าเกณฑ์เฉลี่ยและคุณสมบัติของเครื่องมือแบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนฉบับภาษาไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2554; 19(1): 42-57.
Stone LL, Otten R, Engels RC, Vermulst AA, Janssens JM. Psychometric properties of the parent and teacher versions of the strengths and difficulties questionnaire for 4-to 12-year-olds: a review. Clinical child and family psychology review. 2010 Sep; 13: 254-74.
ศรีเรือน แก้วกังวาน. จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2549.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ระบาดวิทยาปัญหาด้านทางอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กและวัยรุ่น ปี 2548. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์พับลิสซิ่ง; 2548
อภิวันท์ วงศ์ข้าหลวง. ความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาการปรับตัวและสุขภาพจิตของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2530.
ขวัญเรือน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, นัยนันต์ จิตประพันธ์, พนัสยา วรรณวิไล และ เกษศิรินทร์ ภู่เพชร. ภาวะสุขภาพจิตและการปรับตัวของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2559; 36: 146-159.
ปรีชา เวชศาสตร์. การจัดอาชีวศึกษาเพื่อความมั่นคงในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ; 2561.
ฐิติมาวดี เจริญรัชต์, วัลลภา เฉลิม, อัญชลี ตันศิริ, ทวีศิลป์ กุลนภาดล, อัจฉรา ไพรเลิศ, และ กมลลักษณ์ มาอ่อน. โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (child watch): ภาคตะวันออก: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม; 2550.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 กรทิพย์ วิทยากาญจน์, ศุทรา เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์, วีร์ เมฆวิลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารราชานุกูล กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น