ผลของการใส่สายระบายเลือดและไม่ใส่สายระบายเลือดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกข้อมือหักในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

Siwa loogin

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการวิจัย : เพื่อศึกษาผลของการใส่สายระบายเลือดและไม่ใส่สายระบายเลือดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกข้อมือเรเดียสหักในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ


วิธีการวิจัย : การศึกษา ย้ ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกข้อมือเรเดียสหักโดยการดามเหล็กในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565 จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 84 ราย โดยศึกษาผลของการใส่สายระบายเลือดและไม่ใส่สายระบายเลือดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกข้อมือเรเดียสหักซึ่งจะประเมินผล ระยะเวลานอนโรงพยาบาลและอาการปวดหลังการผ่าตัด โดยข้อมูลจะถูกเก็บจากเวชระเบียนและนำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างใช้ Man Whitney U test


ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 84 ราย โดยเป็นกลุ่มที่ใส่สายและไม่ใส่สายระบายเลือดหลังการผ่าตัดจำนวน 49 และ 35 รายตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใส่สายระบายเลือดพบว่ามีระยะเวลานอนโรงพยาบาลและอาการปวดที่น้อยกว่ากลุ่มที่ใส่สายระบายเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลของกลุ่มไม่ใส่สายระบายเลือดน้อยกว่าโดยเฉลี่ยคือ 27.58 ชั่วโมงและทั้งสองกลุ่มพบความแตกต่างอย่างมีนัยสถิติ (p=0.001) และอาการปวดในวันที่ 1  และ 2 กลุ่มที่ไม่ใส่สายระบายเลือดมีอาการปวดน้อยกว่าอีกกลุ่มคือ 0.71 และ 0.59 ตามลำดับ โดยอาการปวดมีความแตกต่างของทั้งสองกลุ่มอย่างมีนัยสถิติ(p=0.004 และ 0.003 ตามลำดับ)
บทสรุป
: การไม่ใส่สายระบายเลือดหลังการผ่าตัดกระดูกข้อหักส่วนปลายมีผลต่อการระยะเวลานอนโรงพยาบาลที่น้อยลงและอาการปวดในวันที่ 1 และ 2 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จึงควรนำผลวิจัยที่ได้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกข้อมือเรเดียสหักโดยการดามเหล็กในโรงพยาบาลกันทรลักษ์และโรงพยาบาลทั่วไปของจังหวัดศรีสะเกษ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Akinyoola AL, Odunsi A, Yusu MB. Use of wound drains following open reduction and internal fixation of femoral shaft fractures. J Wound Care. 2012 Jun;21(6):279-80, 282-4. doi: 10.12968/jowc.2012.21.6.279. PMID: 22886293.

Boissonneault AR, Schenker M, Staley C, Roorbach M, Erwood AA, Grabel ZJ, Moore T Jr, Reisman W, Maceroli M. Impact of closed suction drainage after surgical fixation of acetabular fractures. Arch Orthop Trauma Surg. 2019 Jul;139(7):907-912. doi: 10.1007/s00402-019-03110-0. Epub 2019 Jan 28. PMID: 30687873.

Green's Operative Hand Surgery, 8th Edition

Mauck BM, Swigler CW. Evidence-Based Review of Distal Radius Fractures. Orthop Clin North Am. 2018 Apr;49(2):211-222. doi: 10.1016/j.ocl.2017.12.001. PMID: 29499822.

Muoghalu ON, Eyichukwu GO, Iyidobi E, Anyaehie UE, Madu KA, Okwesili IC. A comparison of the use and non-use of closed suction wound drainage in open reduction and internal fixation of femoral shaft fractures. Int Orthop. 2019 Sep;43(9):2003-2008. doi: 10.1007/s00264-019-04364-4. Epub 2019 Jun 27. PMID: 31250086.

Rockwood and Green's Fractures in Adults, 9th Edition

Turner RG, Faber KJ, Athwal GS. Complications of distal radius fractures. Orthop Clin North Am. 2007 Apr;38(2):217-28, vi. doi: 10.1016/j.ocl.2007.02.002. PMID: 17560404.

van Rijckevorsel VAJIM, de Jong L, Klem TMAL, Kuijper TM, Roukema GR. Drain versus no drain after hip hemi-arthroplasty for femoral neck fractures; differences in clinical outcomes. Eur J Trauma Emerg Surg. 2022 Jun;48(3):1799-1805. doi: 10.1007/s00068-020-01528-5. Epub 2020 Oct 21. PMID: 33084918.