ลักษณะภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

Malinthip Koonchianon

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่ออธิบายลักษณะภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ


วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลเวชระเบียนและภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน 2565 จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 273 ราย ลงในแบบบันทึกข้อมูลที่สร้างขึ้นมาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลแล้วประมวลผล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์เป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษา: ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มีจำนวน 273 ราย อายุระหว่าง 1-96 ปี อายุเฉลี่ย 53.89 ± 22.84 ปี เป็นเพศชาย


ร้อยละ 41.0 เพศหญิง ร้อยละ 59.0 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 48.0 ส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับวัคซีนชนิด mRNA มาก่อนโดยคิดเป็นร้อยละ 87.2 ผู้ป่วยมีอาการ ร้อยละ 37.0 มีลักษณะภาพรังสีทรวงอกผิดปกติ ร้อยละ 61.2 โดยพบลักษณะรอยโรค ground-glass opacity มากที่สุด ร้อยละ 59.3 ส่วนใหญ่มีความผิดปกติของปอดทั้ง 2 ข้าง ร้อยละ 86.2 การกระจายตัวในบริเวณปอดส่วนนอก peripheral ร้อยละ 95.2 และลักษณะรอยโรคเด่น lower zone ร้อยละ 94


สรุปการศึกษา: ลักษณะภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ผลการศึกษาเกินกว่าครึ่งมีความผิดปกติ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาที่ผ่านมาทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถใช้ความชุกของลักษณะภาพรังสีทรวงอก เพื่อประกอบการตัดสินใจเรื่องการให้ยารักษาและการพยากรณ์โรค อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการตรวจคัดกรองโรคและวางแผนการรักษาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์. (2565, 19 พฤศจิกายน). แนวทางเวชปฎิบัติการวินิจฉัยดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Content_Grid_Home_7_8?contentCategoryId=8

กรมควบคุมโรค. (2565, 19 พฤศจิกายน). สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19. https://ddc.moph.go.th/covid19-daily-dashboard/?dashboard=earlier-map

กรมอนามัย. (2565, 19 พฤศจิกายน). สรุปสถิติทั่วโลก รายงานสถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก. https://covid19.anamai.moph.go.th/en/

ภาสกร ศรีทิพย์สุโข, บุญยิ่ง ศิริบำรุงวงศ์, พิชญ ตันติยวรงค์, อารยา ศรัทธาพุทธ, พรรณศจี ดำรงเลิศ, และพีร์ จารุอำพรพรรณ. (2565). ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย: การศึกษาในสถานการณ์จริง (ปีที่ 1). สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

วริสรา กิตติวรพงษ์กิจ. (2564). การดำเนินโรคและการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวที่พบในภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ที่โรงพยาบาลพะเยา. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์. ปีที่ 12. ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2564)

สกันยา โกยทรัพย์สิน. (2564). ลักษณะภาพถ่ายรังสีปอดของผู้ป่วย COVID-19 ในโรงพยาบาลป่าตอง. วารสารวิชาการสาธารณสุข. ปีที่ 30. ฉบับเพิ่มเติม 1 (พฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ. 2564)

สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร, และสุมนมาลย์ อุทยมกุล. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสถาบันบำราศนราดูร. ปีที่ 14. ฉบับที่ 2

(พฤษภาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2563)

ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้าน

การแพทย์และสาธารณสุขอำเภอกันทรลักษ์. (2565, 19 พฤศจิกายน). ศูนย์ข้อมูลการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 กันทรลักษ์. Facebook. https://www.facebook.com/ktlhos/?locale=th_TH

อนุตรา รัตน์นราทร (2563). ลักษณะทางคลีนิคและภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากโควิด 19 ที่สถาบันบำราศนราดูร. วารสารควบคุมโรค. ปีที่ 46. ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2563)

Diletta, C., Marco, A., Edoardo, C., Chiara, M., Alessandra, B., Silvia, L., Simone, B., & Lorenzo, N., Vittorio, M. (2020). Chest X-ray in new Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) infection: findings and correlation with clinical outcome. La radiologia medica.2020; 125:730-737.

Ho, Y. F. W., Hiu, Y. S. L., Ambrose, H. T. F., Siu, T. L., Thomas, W. Y. C., Christine, S. T. L., Mact, M. S. L., Jonan, C. Y. L., Keith, W. H. C., Tom, W. H. C., Elaine, T. P. L., Eric, Y. F. W., Ivan, F. N. H., Tina, P. W. L., Michael, D. K., & Ming, Y. N. (2020). Frequency and Distribution of Chest Radiographic Findings in Patients Positive for COVID-19. Radiology.2020; 296:E72-E78.

Liqa A., R., Eyhab, E., Musaab, K., & Yousef, K. (2020). Chest x-ray findings and temporal lung changes in patients with COVID-19 pneumonia. BMC Pulmonary Medicine. 2020; 20:245.