การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง ด้วยระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิและการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลบัวหุ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

Nipa Intanin

บทคัดย่อ

       


     การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ด้วยระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิและการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลบัวหุ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินการในช่วงเดือนธันวาคม 2565 - พฤษภาคม 2566 ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วยกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และภาคีเครือข่ายในชุมชน  จำนวน 50 คน  และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง  จำนวน 80 คน ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และสะท้อนผลการปฏิบัติ จำนวน 2 วงรอบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบอุปนัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าเฉลี่ย ค่าสถิติ pair t-test


     ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ด้วยระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิและการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลบัวหุ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษคือ BUAHUNG Model ได้แก่ 1) Build trust and collaborative culture: การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน ในการร่วมวิเคราะห์ วางแผนและจัดให้มีรูปแบบการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ทั้งในด้านปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม 2) Unity: มีนโยบายการขับเคลื่อนและการดำเนินงานเป็นแนวทางเดียวกัน 3) Acceptable: ผู้ปฏิบัติยอมรับและเต็มใจ เข้าถึงส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงมีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง 4) Health: สุขภาพดี ไม่มีโรคภัย5) Update:ปรับปรุงกระบวนการให้ทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีมาเชื่อมต่อ  6) Notice: การแจ้งเตือน โดยใช้กลไกการติดตามพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงถึงระดับครัวเรือน และการให้การปรึกษาโดย 3 หมอ 7) Get thing done: ความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกัน มีใจมุ่งสู่เป้าหมายอันเดียวกัน มุ่งมั่นเพื่อสุขภาพดีของคนบัวหุ่ง จากผลการวิจับพบว่ากลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีการรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความคาดหวังในความสามารถแห่งตน ความคาดหวังในประสิทธิผลของการปฏิบัติตัว หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงพบว่าดัชนีมวลกายและระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยง หลังการทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มศักยภภาพในการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ด้วยระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิและการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลบัวหุ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD). (ระบบออนไลน์ ). แหล่งที่มา : https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.

php?source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=29eec762c9591d1f8092da14c7462361. (16 ตุลาคม 2565)

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานประจำปี 2564 กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยชุมชน เล่มที่ 1. นนทบุรี : กองสุขศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงฯ.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ประชาทิป กะทา. (2551) “ปรัชญาสุขภาพปฐมภูมิ” ใน นิตยสารสุขศาลา ปีที่ 1 ฉบับที่1 มกราคม-มีนาคม 2551,หน้า 42-47

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ประชาทิป กะทา. (2551) “ปรัชญาสุขภาพปฐมภูมิ” ใน นิตยสารสุขศาลา ปีที่ 1 ฉบับที่1 มกราคม-มีนาคม 2551,หน้า 42-47

ศิริพรรณ บุตรศรี (2558). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อควบคุมและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนรวมของชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวพร วุฒิธรรมและคณะ .(2562).การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจาก

การมีส่วนร่วมของครอบครัว: กรณีศึกษาโรงพยาบาลดำเนินสะดวกในจังหวัดราชบุรี.พยาบาลสาร ปีที่ 46 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน พ.ศ. 2562.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร และคณะ. (2565). ระบบบริการปฐมภููมิกับการสร้างเสริมสุขภาพ : ประเด็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs). กรุงเทพฯ : สหมิตรพริ้นติงแอนด์พับลิสชิ่ง

อรุณ จิรวฒั น์กุล.(2557).สถิติในงานวิจัยเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างให้เหมาะสม..บริษัทวิทยพัฒน์ กรุงเทพฯ.

WHO. (2565). Hypertension. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.who.int/

health-topics/hypertension/#tab=tab_1. (14 ตุลาคม 2565). WHO. (2565). Hypertension.

(ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.who.int/health-topics/hypertension/#tab=tab_1. (14 ตุลาคม 2565)

Rogers Ronald W. (1986). "Protection Motivation Theory," Health Education Research Theory and Practice. 1 : 153-161.

Green, L. W., & Kreuter, M. W. (1999). Health promotion planning aneducational and ecological approach. (3rded.). Toronto: Mayfield.

Phuangsomjit. (2014). Participatory Action Research on Research in Educational Administration.

(Book 2 (Unit 6-10); 3rd edition). Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University.(in Thai).

Loewenson, R. (2014). Partici Patory Action Research in Health Systems: a Method Reader.

Canada: Equinet.

Streubert, H. J. & Carpenter, D. R. (1995). Qualitative Research in Nursing: Advancing the

Humanistic Imperative. Philadelphia: J. B. Lippincott Company.

Koch, T., & Kralik, D. (2006). Participatory Action Research in Health Care. USA: Blackwell

Publishing Ltd