ปัญหาการใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในเขตอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

Phakwarin Phattanapornwat

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods)มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาด้านยา และพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพร รวมถึงปัญหาการเกิดยาเหลือใช้ของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ที่อาศัยอยู่ในตำบลบัวหุ่ง และตำบลหนองอึ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างออกเยี่ยมบ้านด้านยาโดยเภสัชกร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้านตามแนวทาง INHOMESSS และแบบสอบถามในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่มีระดับ HbA1C≥7% จำนวน 30 ราย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2564  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 58.43±12.70 ปี มีระดับ HbA1C เฉลี่ย 9.76±1.72 พบปัญหาการใช้ยาด้านความไม่ร่วมมือในการใช้ยามากที่สุด ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากตัวผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยมียารักษาโรคประจำตัวเหลือใช้ ร้อยละ 83.3 ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการรับประทานยาไม่ถูกต้องตามแพทย์สั่ง ลืมรับประทานยา ปรับขนาดยาหรือหยุดรับประทานยาเอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความรู้และทักษะในการใช้ปากกาฉีดอินซูลินระดับปานกลางและมีความรู้เกี่ยวกับยารักษาโรคเบาหวานระดับปานกลาง พบผู้ป่วยกำลังใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ร้อยละ 13.3 และสมุนไพร ร้อยละ 20.0 ผู้ป่วยทั้งหมดไม่ได้ปรึกษาหรือแจ้งแพทย์ที่ให้การรักษาก่อนหรือระหว่างบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพร ผู้ป่วยที่ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ร้อยละ 40.0 และผู้ป่วยที่ใช้สมุนไพร ร้อยละ 83.3 เชื่อว่าทำให้ควบคุมโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ได้ และผู้ป่วยที่ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารร้อยละ 20.0 เชื่อว่ารักษาโรคประจำตัวที่เป็นให้หายขาดได้ พบผู้ป่วยรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพรที่อาจมีผลต่อโรค ร้อยละ 16.7 การเยี่ยมบ้านด้านยาโดยเภสัชกรทำให้ค้นหาปัญหาเชิงลึกของผู้ป่วยได้และเข้าใจปัญหาที่แท้จริง อันจะนำมาซึ่งการจัดการปัญหาด้านยาที่มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัชฎาภรณ์ กมขุนทด. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2.

(วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาล เวชปฏิบัติชุมชน). บัณฑิตวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา, ชาย โพธิสิตา, กฤตยา อาชวนิจกุล, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, กุลวีณ์ ศิริรัตน์มงคล, & ปาณฉัตร ทิพย์สุข.

สุขภาพคนไทย. (2554). กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธนพงศ์ ภูผาลี, ชิดชนก คูณสวัสดิ์, ธนิตา ภูราชพล, & ธารินี ศรีศักดิ์นอก. (2561). คำอธิบายถึงการมียาเหลือใช้และ

พฤติกรรมในการจัดการยาเหลือใช้ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษาในชุมชนแห่งหนึ่ง

ของจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารเภสัชกรรมไทย, 10 (1), 3–13.

นรินทรา นุตาดี, & กฤษณี สระมุณี. (2559). การประเมินผลการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพที่มีเภสัชกรร่วมทีมเพื่อจัดการ

ปัญหาการใช้ยา ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลน้าพองจังหวัดขอนแก่น. วารสารเภสัชกรรม

ไทย, 8 (1), 206-215.

นริศา คำแก่น. (2547). ปฏิกิริยาระหว่างยาและสมุนไพร. ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร, 9 (1), 93–104.

บุญรักษ์ ฉัตรรัตนกุลชัย. (2562). การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่บ้านโดยเภสัชกรครอบครัวเครือข่าย

บริการสุขภาพ อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร, 16 (3), 87-95.

ประทุม สุภชัยพานิชพงศ์. (2557). ความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่รับประทานยาตาม

คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และ

ศิลปะ), 1 (1), 1-12.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์, & ประสพชัย พสุนนท์. (2559. กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ

(Sampling Strategies for Qualitative Research). วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29 (2), 31–45.

ปริญา ถมอุดทา, ชมพูนุท พัฒนจักร, อดิศักดิ์ ถมอุดทา, สุกัญญา คำผา, ศุภิญญา ภูมิวณิชกิจ, & ปภัสรินทร์ จีรอำพรวัฒน์.

(2560). ผลของการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยต่อเนื่องในชุมชนโดยการออกเยี่ยมบ้านในเครือข่ายบริการสุขภาพ

อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. ศรีนครินทร์เวชสาร, 32 (3), 229-235.

พชรณัฐฏ์ ชยณัฐพงศ์. (2560). ปัญหาด้านยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรังระหว่างการเยี่ยมบ้านโดยเภสัชกรในทีมหมอครอบครัวของ

เครือข่ายสุขภาพพรหมคีรี. วารสารเภสัชกรรมไทย, 9 (1), 104-110.

พวงผกา คงวัฒนานนท์. (2556). การใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธีเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของงานวิจัยทางสุขภาพ.

วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 21 (7), 648–57.

ภวัคร ชัยมั่น. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอคูเมือง

จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว).

บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล. มหาวิทยาลัยมหิดล.

มลฤดี มณีรัตน์, อรอนงค วลีขจรเลิศ, & ภาณุมาศ ภูมาศ, พงษศักดิ์ สง่าศรี. (2553). ผลของการเยี่ยมบ้านโดยนิสิต

เภสัชศาสตร์ตอความรู้ความร่วมมือในการใช้ยาและปญหายาขยะในครัวเรือน. วารสารเภสัชกรรมไทย, 2 (1), 1-11.

ศิณาพรรณ หอมรส. (2563) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการ

โรงพยาบาลบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 13 (1), 82–92.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. (2553). แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจาก

โรคเบาหวาน (ตาไต เท้า). นนทบุรี : สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์.

สมทรง ราชนิยม, & กฤษณี สระมุณี. (2559). การจัดการปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านโดยเภสัชกรครอบครัวใน

เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกระนวน. วารสารเภสัชกรรมไทย. 8 (1), 171-181.

อภิชาติ จิตต์ซื่อ, พนารัตน์ แสงแจ่ม, เจริญ ตรีศักดิ์, ทิติยา หาญเลิศฤทธิ์. (2559). การประเมินความรู้ และทักษะของผู้ป่วย

ก่อน-หลังได้รับคำปรึกษาวิธีใช้ปากกาฉีด ยาอินซูลิน ณ โรงพยาบาลศูนย์วชิระภูเก็ต. สงขลานครินทร์เวชสาร, 34 (1),

–37.

Euromonitor International.Vitamins and Dietary Supplements in Thailand. (2564). สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม

; จาก https://www.euromonitor.com/dietary-supplements-in-thailand/report.

Hepler CD, Strand LM. (1990). Opportunities and responsibilities in pharmaceutical care. Am J Hosp

Pharm, 47, 533–43.

Yamauchi K. (2009). Analysis of issues of insulin self-injection in elderly. Nihon Ronen Igakkai Zasshi, 46,

-40.