ความชุกและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini ในประชาชนใน 5 หมู่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเวียง ตำบลสมอ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
กการวิจัยเป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์นี้มีวัตถุเพื่อศึกษาความชุกและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini ในประชาชนใน 5 หมู่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเวียง ตำบลสมอ อำเภอปรางค์กู่
จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 347 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 และ 75 ใช้สถิติเชิงอนุมานในการทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับรายตัวแปรโดยทำการวิเคราะห์ Binary logistic regression และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับแบบพหุโดยใช้การวิเคราะห์ Multiple logistic regression ผลการวิจัยพบว่า การมีสมาชิกในครอบครัวติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับมีโอกาสที่จะติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับมากกว่าครอบครัวที่ไม่มีสมาชิกในครอบครัวติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ 8.71 เท่า (AOR=8.71, 95%CI=1.35-55.87) ประชาชนที่มีการรับรู้ความเสี่ยงของโรคพยาธิใบไม้ตับในระดับน้อยมีโอกาสที่จะติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับมากกว่าประชาชนที่มีการรับรู้ความเสี่ยงของโรคพยาธิใบไม้ตับในระดับมาก 40.85 เท่า (AOR=40.85, 95%CI=1.68-98.39) และประชาชนที่มีพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในระดับไม่ดีมีโอกาสที่จะติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับมากกว่าประชาชนที่มีพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในระดับดี 31.54 เท่า (AOR=31.54, 95%CI=3.46-287.01) จากผลการวิจัยการป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini ของประชาชนใน 5 หมู่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเวียง ตำบลสมอ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยดังกล่าว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์ และคณะ. (2557). การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ. พิมพ์ครั้ง
ที่ 1. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เกษร แถวโนนงิ้ว, ไพบูลย์ สิทธิถาวร, ศศิธร ตั้งสวัสดิ์, เสรี สิงห์ทอง, นิตยา ชุดไธสง และ วราลักษณ์ ตังคณะกุล. (2559). อุบัติการณ์
และการติดเชื้อซ้ำโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข,
(3), 370-379.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2559-2568.
การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดทิศทางและประเด็นการวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อ
น้ำดี, 24-26 กรกฎาคม 2561, โรงแรมพลูแมน ขอนแก่น ราชาออคิด, ขอนแก่น.
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2562). รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรคพยาธิใบไม้ตับจังหวัดศรีสะเกษ
ประจำปีงบประมาณ 2559. การประชุมคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับจังหวัด (คปสจ.) สำนักงานสาธารณสุข
จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ.
ฉัตรชัย คำดอกรับ และ เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในประชาชนอายุ 40 ปี
ขึ้นไป อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21(3), 75-83.
ฉัตรลดา ดีพร้อม และ นิวัฒน์ วงศ์ใหญ่. (2561). การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของผู้ที่ตรวจพบไข่พยาธิ
ใบไม้ตับ ตำบลธงธานี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
สุรินทร์, 8(1), 13-26.
ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์ และ สรญา แก้วพิทูลย์. (2559). พยาธิใบไม้ตับในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(1),
-63.
ปริวัฒน์ กอสุระ, นพรัตน์ ส่งเสริม, ภัทรภร เจริญบุตร และ พุทธิไกร ประมวล. (2563). พฤติกรรมเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันโรค
พยาธิใบไม้ตับ: การประเมินสถานการณ์ตามบริบทชุมชนของคนไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุบลราชธานี, 9(1), 133-141.
วันชัย เหล่าเสถียรกิจ, ศศิธร เจริญประเสริฐ, กันยารัตน์ เหล่าเสถียรกิจ, พุทธิไกร ประมวล และ ศักรินทร์ บุญประสงค์. (2562). ปัจจัย
ที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคปลาดิบ-สุกๆ ดิบๆ ของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ ปี 2559. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28 (6), 974-985.
วรกร วิชัยโย. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชน อำเภอคำม่วงจังหวดักาฬสินธ์ุ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบ
สุขภาพ, 13(1), 105-114.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุดรธานี: อักษรศิลป์การพิมพ์.
อภิชาต ภัทรธรรม. (2557). ชนเผ่ากูย (Kui) กวย (Kuoy) หรือส่วย (Suay). วารสารการจัดการป่าไม้, 7(14), 54-63.
อังษฌา ยสปัญญา และคณะ. (2558). ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ จังหวัดเลย. สำนักงานป้องกันควบคุมโรค
ที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. 22(1), 89-97
Cohen, H.G., Staley, F.A. & Willis J.H. (1989). Teaching Science As A Decision Making Process. 2" ed. Iowa : Kendall
Hunt Publising Company.
Dao, T.T.H., Bui, T.V., Abatih, E.N., Gabriël, S., Nguyen, T.T.G., Huynh, Q.H., Nguyen, C.V., & Dorny, P. (2016).
Opisthorchis viverrini infections and associated risk factors in a lowland area of Binh Dinh province, Central Vietnam. Acta Tropica,
, 151-157.
Hsieh, F.Y., Bloch, D.A., & Larsen, M.D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic
regression. Statistics in Medicine, 17, 1623-1634.
Sithithaworn, P., Andrews, R.H., Nguyen, V.D., Wongsaroj, T., Sinuon, M., Odermatt, P., Nawa, Y., Liang, S., Brindle,
P.J., & Sripa, B. (2012). The current status of opisthorchiasis and clonorchiasis in the Mekong Basin. Parasitology International, 61,
-16.
Sripa, B., Kaewkes, S., Sithithaworn, P., Mairiang, E., Laha, T., Smout, M., Pairojkul, C., Bhudhisawasdi, V., Tesana, S.,
Thinkamrop, B., Bethony, J.M., Loukas, A., & Brindley, P.J. (2007). Liver fluke induces cholangiocarcinoma. PLoS Medicine, 4(7), e201.
Zuckerman, A.J. (1995). IARC Monographs on the Evaluation of Carcinogenic Risks to Humans. Journal of Clinical
Pathology, 48(7), 691.