รูปแบบการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดอุบลราชธานี และ 3) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 317 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2565 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2565 วิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยทำนายด้วยสถิติ Multiple linear regression ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดอุบลราชธานี ตามแนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Kemmis และ Mc Taggart (PAOR) จำนวน 3 วงรอบ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้นำชุมชน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้ปฏิบัติ ประชาชนผู้รับบริการ รวมทั้งสิ้น 55 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 เป็นการวิจัยกึ่งทดลองศึกษาผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มทดลอง คือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชานี ที่ได้รับโปรแกรมการบริหารงานแบบธรรมาภิบาล จำนวน 20 คน กลุ่มทดลอง คือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชานี ที่ได้รับแนวทางการบริหารงานแบบธรรมาภิบาล จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลต่างคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มโดยใช้สถิติ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดอุบลราชธานี มีทั้งหมด 5 ตัวแปร คือ ปัจจัยด้านการประเมินผลและการตรวจสอบ ความสัมพันธ์ในหน่วยงาน การศึกษาปริญญาตรี การยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ และความรู้เรื่องการบริหารแบบธรรมาภิบาล โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 47.8 (R2=0.478) รูปแบบการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดอุบลราชธานี คือ RSPME Model ประกอบด้วย 1) ความสัมพันธ์ในหน่วยงาน (Relationship) 2) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) 3) การสร้างการมีส่วนร่วม (Participation) 4) ศีลธรรมและจรรยา (Morality) 5) การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Evaluation) และหลังทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดอุบลราชธานีมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องการบริหารแบบธรรมาภิบาล การรับรู้ความสามารถของตนในการบริหารแบบธรรมาภิบาล ทัศนคติต่อการบริหารงานแบบธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วมในการบริหารขององค์กร และพฤติกรรมการบริหารแบบธรรมาภิบาลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
วิชยุตม์ พิมพ์ถนอม และ ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน. (256). การพัฒนารูปแบบหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารการเมืองการปกครอง ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2566.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2555). คู่มือ การจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลัก ธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating). กรุงเทพฯ : พรีเมียร์โปร.
เมษยา วงษ์กำภู พิสมัย จารุจิตติพันธ์ และ สมยศ อวเกียรติ. (2566). ปัจจัยการจัดการที่มีผลต่อการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยภายใต้หลักธรรมาภิบาล. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก ปีที่ 41 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2566.
ภัทรภร จ่ายเพ็ง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภูมิภาคตะวันตก. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาค - ธันวาคม 2561.
ประจวบ พวงสมบัติ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. ผลการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจราชการและเทศงานกรณีปกติ รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2565. ศรีสะเกษ: สำนักงาน; 2565.
Kemmis, S & McTaggart, R. The Action Research Planer (3rded.). Victoria: Deakin University, 1988.
อนุพันธ์ ประจำ. (2557). ปัจจัยทำนายการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้บริหารสาธารณสุขระดับต้นจังหวัดศรีสะเกษ. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สขาบริหารงานสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเวสเทริ์น.
สิริพร วงศ์ตรี. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานแบบธรรมาภบิาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา.
กัญญาณี ถายะเดช. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วรรณา ทองแบน และ พงษ์เทพ จันทสุวรรณ. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2559.
พระครูปลัดอภิชัย อภิชโย และ ณัฐวิชซ์ คชแก้ว. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการน้ำบาดาลตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2564.
อนัคฆ์ ใจสมุทร ชยวัฒน์ เผือกคง และ อมร หวังอัครางกูร. (2565).การพัฒนารูปแบบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของนักบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารรัชต์ภาคย์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 49 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2565.