ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะ Long COVID-19 ของผู้ป่วยที่แยกกักตัวที่บ้าน ในเขตพื้นที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

มยุรี คชนาม, พย.บ.
สุกัญญา สู่สวัสดิ์

บทคัดย่อ

           การวิจัยเชิงสำรวจ(survey study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกการเกิดภาวะ Long COVID -19 และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะ Long COVID-19 ของผู้ป่วยที่แยกกักตัวที่บ้านในเขตพื้นที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ประชากร คือผู้ป่วยโควิด-19 ขึ้นทะเบียนรักษาโดยวิธีแยกกักตัวที่บ้าน ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2564 ถึง 17เมษายน2565 ในเขตพื้นที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง 5แห่ง เครือข่ายบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จำนวน 13,486 คน  กลุ่มตัวอย่าง ได้จากสุ่มอย่างเป็นระบบ จำนวน 186 คน เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ข้อมูลสุขภาพ 3) การรับรู้ต่อการเกิดภาวะ Long COVID-19 และ 4) พฤติกรรมการป้องกันการเกิดภาวะ Long COVID-19 เก็บรวบรวมข้อมูลแบบออนไลน์ google form ผ่านไลน์กลุ่ม ตั้งแต่18 มิถุนายน – 31 กรกฎาคม 2565  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ สถิติอนุมาน โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบโลจิสติคพหุ (Multiple Logistic Regression Analysis) 


          ผลการวิจัยมีดังนี้ ความชุกการเกิดภาวะLong COVID-19 พบร้อยละ 26.5 โดยมีอาการต่อเนื่องนาน 2 เดือน, 3 เดือน และมากกว่า 3 เดือน ร้อยละ 9.5, 11.5 และ 5.5 ตามลำดับ  อาการที่เกิดขึ้นหลังหายป่วยโควิด-19 เรียงจากมากไปน้อย 10 อันดับ  คือ อ่อนเพลีย ความจำสั้น/สมาธิสั้น นอนไม่ค่อยหลับ หายใจลำบาก/หอบเหนื่อย ผมร่วง เคลื่อนไหวช้าลง/เชื่องช้า ไอเรื้อรัง เวียนศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ และ ปวดข้อ/กระดูก ร้อยละ 27.5, 17.5, 16.0, 16.0, 13.5, 12.5, 11.5, 11.5, 11.0, 11.0 ตามลำดับ และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะ Long COVID-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ผู้ที่มีอาการรุนแรง อาการปานกลาง และอาการเล็กน้อย  มีผลต่อการเกิดภาวะLong COVID-19 มากกว่าผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ ถึง 17, 6.375 และ 3.091 เท่า ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์.แนวปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หลังรักษาหาย (Post COVID syndrome) หรือภาวะ Long COVID สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 24 เม.ย.2565]. เข้าถึงได้จากhttps://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=157.

กรมการแพทย์. แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด 19 แบบ HOME ISOLATION ฉบับปรับปรุง วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 26 พ.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=159.

กรมการแพทย์. แบบประเมินภาวะ Long COVID ในผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 30 เม.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก https://longcovidcheckin.dms.go.th/longcovid/qestn.php.

กรมการแพทย์. กรมการแพทย์ เผยภาวะลองโควิดพบบ่อย 10 อันดับแรก ส่วนมีผลต่อสมองหรือไม่ยังไม่ชัด.[อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 10 มิ.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2022/08/25686

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือฉบับประชาชนกรณีรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักกันตนเอง.[อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 17 เม.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25650405141947PM_Outpatient%20with%20Self%20Isolatio%20final%20050422.pdf .

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค.(2564).รวมแนวทางการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. นนทบุรี: กอง; 2564.

กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ และ นพไท โศจิศิริกุล. Long covid สำคัญไฉน. [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ21พ.ค.2566]. เข้าถึงได้จาก https://cimjournal.com/confer-update/long-covid-why-important/

ธีระ วรธนารัตน์ .กรมสุขภาพจิต. รู้จักภาวะ long covid อาการเรื้อรังในผู้ติดเชื้อโควิดที่รักษาหายแล้ว.[อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 26 พ.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31063.

บัญชา เกิดมณี, สุรชัย ธรรมทวีธิกุล, ญานพินิจ วชิรสุรงค์, บดินทร์ชาติ สุขบท, และสมบัติ ทีฆทรัพย์.(2563).แนวคิดและทิศทางการแก้ปัญหาโควิด-19.วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์,กรุงเทพฯ 2563; 20(1), 1-12.

พนัชญา ขันติจิตร, ไวยพร พรมวงค์, ชนุกร แก้วมณี, อภิรดี เจริญนุกูล. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ของประชาชน ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี 2564; 5 (2) 39-53.

เมธาวี หวังชาลาบวร, ศรัณย์ วีระเมธาชัย, ธนกมณ ลีศร. ความชุกของภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยที่มีประวัติติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019จากการติดตามที่ระยะ3เดือนหลังการติดเชื้อ.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565; 16(1) 265-284.

โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์แนชั่นแนล หนองแขม.รู้จักลองโควิด “Long COVID” อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ16เม.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก https://vichaivej-nongkhaem.com/health -info/รู้จักลองโควิด/.

สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ และคณะ. การจัดบริการ HOME ISOLATION กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.[อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 17 เม.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/.

Best, J.W.1970. Research in education. Englewood Cilifts, New Jersy : Printice-Hall.

Ngamjarus C., Chongsuvivatwong V. (2014). n4Studies: Sample size and power calculations for iOS. The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program - The Thailand Research Fund&Prince of Songkla University.

Wayne W., D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). John Wiley&Sons, Inc., 180.