การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างเดือนมีนาคม – มิถุนายน 2566 รวมระยะเวลา 14 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและภาคีเครือข่ายตำบลกันทรอม อำเภอ ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 30 คน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Kemmis & McTaggart จำนวน 2 วงรอบ โดยแต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ประกอบด้วยการวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และสะท้อนผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม การจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการใช้รูปแบบโดยใช้สถิติ paired t-test
ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิต โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตำบลกันทรอม 1.การวางแผน(Planning) การวางแผน มีนโยบายแผนงานกับภาคีเครือข่าย ในรูปแบบ พชต. รพ.แม่ข่าย บทบาทหน้าที่ชัดเจน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลและภาคเอกชนในการเคลื่อนกิจกรรม เพื่อให้เข้าถึงผู้ป่วยได้มากที่สุด 2.การปฏิบัติ(Action) มีแพทย์ สหวิชาชีพ ลงให้บริการในพื้นที่ การออกติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย สื่อสารโดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์ ผ่านทางแอพพลิเคชั่นต่างๆ เพื่อถ่ายทอดได้ชัด อสม.เคาะประตูบ้านกระตุ้นในการกำกับรับประทานยา การหมั่นวัดความดันโลหิตจดบันทึก ค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ กรณีเกินค่ามาตรฐานให้แจ้งญาติ อสม.ผ่านการสื่อสารทางโทรศัพท์มือถือ อื่นๆ มีเวทีแลกเปลี่ยน ถอดบทเรียนในการดูตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 3.การสังเกต (Observation)การ การติดตาม ในรูปแบบ 3 การ การติดตาม ในรูปแบบ 3 หมอ แอพพลิเคชั่นกระตุ้นเตือน การจำแนกผู้ป่วยให้ชัดเจน กลุ่มสีแดง สีเหลือง สีเขียว การติดตามตามคู่มือ การรับประทานยา การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การนัดรับยาตามคลินิกความดันสูงโลหิตสูง การติดตามประเมินผลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 4.สะท้อนผล (Reflection) การคืนข้อมูลการดำเนินงาน เพื่อแลกเปลี่ยนหาแนวทางพัฒนาโดยการบูรณาการร่วมกับชุมชน โดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
อ้างอิง
สมัย ลาประวัติ การพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการปฐมภูมิโดยใช้กลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ วารวารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ Research and Community Health Innovation Journal ปีที่2 ฉบับที่1 มกราคม – เมษายน 2566 กรมควบคุมโรค. สรุปรายงานการเฝ้าระวัง. กรุงเทพฯ : กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข; 2565 อังศวีร์ จันทะโคตร การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงในชุมชนชนบทอีสานโดย
การมีส่วนร่วมของชุมชน. 2565 อมรรัตน์ นธะสนธิ์, อนุวัฒน์ สุรินราช การพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยประยุกต์ใช้หลักการบริหารความเสี่ยงตามแนวคิด COSO : ERM.วารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย.21(2).หน้า 7 - 25 (TCI 1). 2565 นายบุญเลิศ จันทร์หอม ประสิทธิผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลวังแดง อำเภอ ตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์.2564 เสงี่ยม จิ๋วประดิษฐ์กุล พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความสามารถในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโพธาวาส ปีที่ 3 ฉบับที่1 มกราคม – มิถุนายน 2563องค์การอนามัยโลก (WHO). 2565) ดาลิมา สำาแดงสาร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. 2562 นวพ วุฒิธรรม การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจากการมีส่วนร่วมของครอบครัว: กรณีศึกษาโรงพยาบาลดำเนินสะดวกในจังหวัดราชบุรี พยาบาลสาร ปีที่ 46 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน พ.ศ. 2562 สุพัตรา สิทธิวัง ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. 2560