การพัฒนารูปแบบการดูแลภาวะความเครียดของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยติดสุรารุนแรงในเขตอำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

อริยาพร เกษกุล, พ.บ.

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลภาวะความเครียดของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยติดสุรารุนแรงและเพื่อประเมินรูปแบบการดูแลภาวะความเครียดของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยติดสุรารุนแรง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ดูแลหลักผู้ป่วยติดสุรารุนแรงในเขตอำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน  42 คน และกลุ่มผู้ร่วมวิจัยที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 คนประกอบด้วยแพทย์ 1 คน พยาบาลจิตเวช 2 คน พยาบาลวิชาชีพ 6 คน เภสัชกร 1 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย เทปบันทึกจากการทำFocus group แบบประเมินรูปแบบ ความสมเหตุสมผล ความเหมาะสม แบบสอบถามความเครียดและแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และt-test dependent samples


ผลการศึกษา  พบว่า รูปแบบการดูแลภาวะความเครียดของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยติดสุรารุนแรงที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ (SUPER model) คือ องค์ประกอบที่1 Setabout : S เตรียมการ  องค์ประกอบที่ 2 Upgrade : U พัฒนา ประสบการณ์ทีม องค์ประกอบที่ 3 Process : P กระบวนการดูแล องค์ประกอบที่ 4 Evaluation : E การประเมินผล และองค์ประกอบที่ 5 Reflection : R การสะท้อนกลับ โดยการประชุมทีมงาน ระดมสมองเกี่ยวกับปัญหา แนวทางแก้ไข  รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสมเหตุสมผล มีความเป็นไปได้ มีประโยชน์ มีความสอดคล้อง มีความเหมาะสม อยู่ในระดับ มาก มีคะแนนเฉลี่ย 4.38 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .75 .52 ตามลำดับ ภาวะความเครียดของผู้ดูแลหลักก่อนสูง กว่าหลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ความพึงพอใจของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยติดสุรารุนแรงหลังการใช้รูปแบบที่ พัฒนาขี้นอยู่ในระดับมากที่สุดถึงร้อยละ 81


สรุปผลการศึกษา รูปแบบของการดูแลภาวะความเครียดของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยติดสุรารุนแรง คือ SUPER model       เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำให้ภาวะความเครียดของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยติดสุรารุนแรงลดลง ตลอดจนผู้ดูแลหลักผู้ป่วยติดสุรารุนแรงจะมีความพึงพอใจต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2560). ปัญหาสุขภาพจิตในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน (2565)จาก www.prdmh.com

กรมสุขภาพจิต. สถานการณ์การดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; (2561). [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564 .เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1232.

กรมสุขภาพจิต. (2563). แนวทางการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Combat 4th Wave of COVID-19 : C4). [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th 4..กรมอนามัย

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปี งบประมาณ 2565. อินเตอร์เน็ต].(2565) [เข้าถึงเมื่อ 2565 นยายน 30].เข้าถึงได้จาก: https://eh.anamai.moph. go.th/th/elderlycluster/download?id=66747& mid=33846&mke=m_document&lang= th&did=20886

ประเสริฐ เล็ก สรรเสริญ, และ ประภา เพ็ญ สุวรรณ.(2017): "การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เพื่อ สุขภาพของสมัชชาสุขภาพจังหวัด นนทบุรี." Veridian E- Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts)

เทิดศักดิ์ เดชคง.(2555). เทคนิคให้คำปรึกษาแบบสร้างแรงจูงใจ (Motivational Counseling). กรุงเทพฯ: หมอ ชาวบ้าน;

นครินทร์ ชุนงาม. (2563). สุขภาพจิตและภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 28(4), 348-359.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, บรรณาธิการ. (2554). Module B-มาตรการที่ 2: มาตรการคัดกรองปัญหาการดื่มสุรา และบำบัดแบบสั้น. ใน: คู่มือสำหรับผู้อบรม: การดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราเบื้องต้นสำหรับบุคลากรสุขภาพ ฉบับปรับปรุง เชียงใหม่:แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.);

พิชัย แสงชาญชัย, ธวัชชัย กุศล. รอบรู้เรื่องสุรา(2556).1413 สายด่วนเลิกเหลา. เชียงใหม่:ศูนย์ปรึกษาปัญหาสราทางโทรศัพท์

ลินจง โปธิบาล, ทศพร คำผลศิริ และนรัชพร ศศิวงศากุล.(2562). ความเครียดและการเผชิญความเครียดในผู้ดูแล ผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน. วารสารสภาการพยาบาล;34(2):62-75. 12

วรรณพร โรจนปัญญา และวิชช ธรรมปัญญา. (2562) ภาวะสภาพจิตใจและความเหนื่อยลาในการทำงานของ อาจารย์แพทย์และเรสสิเดนท์ ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร, 11(2), 66-73.

วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล. (2563).ความชุกและปัจจยัที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลนครปฐมในยุคการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (2019) (โควิด-19). วารสารแพทย์เขต 4-5 ปี, 39(4), 616-627.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, รัศมน กัลยาศิริ.(2560).ข้อแนะนำสำหรับบุคคลที่ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. สงขลา: ศูนย์วิจัยปัญหาสรา.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทย (2560). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์; 2562.

สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์.(2560). รายงานการผลการดำเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; [เข้าถึงเมื่อ 20 พ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1438820200823062406.pdf

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York: United State of America; 1988.

Chusri, Waree, et al.(2021): "ผลกระทบต่อครอบครัวจากการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุราที่เข้ารับการบำบัด ในโรงพยาบาลในเขตจังหวัดสงขลา." Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences 8.2: 69-83.

Company Inc. Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning : theory, research and practice. 2d ed. Massachusetts :

Needham Hieghts.Lazarus RS, Folkman S. (2011).Stress, Appraisal, and Coping. 15th ed. New York: Springer; 20.Lazarus, R.S. and S. Folkman.(1984). Stress, Appraisal, and Coping. New York: Springer Publishing.

Samai T, Jewpattanakul Y, Phetphansee S. (2015) The Relationships between Personal, Socioeconomic and Stress Factors on Alcohol Drinking Behavior of Dwellers in Bangkoknoi District, Bangkok. Nursing Science Journal of Thailand. Mar 31;33(1):42–50

Vitaliano PP, Maiuro RD, Russo J,(1987) Becker J. Raw versus relative scores in the assessment of coping strategies. J Behav Med. Feb;10(1):1-18. doi: 10.1007/BF00845124.