ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการช่วยคัดกรองและดูแลผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมนับเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้การทำงานเชิงรุกในชุมชนความสำเร็จโดยสามารถคัดกรองผู้สูงอายุให้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 35 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้เกี่ยวกับสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของอาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม และแบบประเมินทักษะของอาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม ที่มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังทดลองด้วยสถิติ Paired t-test
ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลต่างคะแนนความรู้เกี่ยวกับสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ การรับรู้สมรรถนะ และทักษะของอาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (2562). คู่มือ อสม.
หมอประจำบ้าน.สืบค้น 16 เมษายน 2566
จาก http://xn--y3cri.com/ document
ชลิยา ศิริกาล และคณะ. (2564). บทบาทของ
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านใน
การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลธาตุ
อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.
วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์, 4 (2).
ชูชาติ ฝั้นเต็ม. (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมการ
พัฒนาสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการเรียนรู้แบบมี
ส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการ
ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดัน โลหิตสูงใน
พื้นที่ระดับตำบล ของจังหวัดอุตรดิตถ์.
วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต,
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุตรดิตถ์.
ชัชวาล วงค์สารี และศุภลักษณ์ พื้นทอง. (2561). ภาวะ
สมองเสื่อมในผู้สูงอายุ : การพยาบาลและการ
ดูแลญาติผู้ดูแล. วารสาร มฉก.วิชาการ, 22 (43-
, 166-179.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูล. (2553). ระเบียบวิจัยทางการ
พยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ
อินเตอร์มีเดีย.
ปิยนุช ภิญโย, กิตติภูมิ ภิญโย, สายสุดา จันหัวนา,
วชิรศักดิ์ อภิพัฒฐ์กานต์, ธรณิศ สายวัฒน์, และ
อมรรัตน์ อัครเศรษสกุล.(2560). ประสิทธิผล
ของโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถแห่งตนต่อ
ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลของอาสา
สมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแล
ผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนจังหวัดขอนแก่น.
วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(3),
–120.
ภาวิณี พรหมบุตร, เอื้อจิตร สุขพูล, กิตติภูมิ ภิญโย,
และปิยนุช ภิญโย. (2558). ผลของโปรแกรมการ
เสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้
และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของอาสาสมัคร
สาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วย
เบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนของ
จังหวัดแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
วารสารวิทยาลัยพยาบาลสงขลานครินทร์,
(2), 113-120.
วิไล ตั้งปนิธานดี และคณะ. (2563). ผลของโปรแกรม
การพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขต่อ
ความรู้และการรับรู้สมรรถนะตนเองในการดูแล
ผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม: กรณีศึกษา
กรุงเทพมหานคร. วารสารสภาการพยาบาล,
(1), 46-60.
วีรวัฒน์ จิตจูง. (2561). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริม
สมรรถนะของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
โรงพยาบาลวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์.
วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต,
คณะศิลปศาตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.
วัชราภรณ์ สิมศิริวัฒน์, ุสุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, และ
นิสากร กรุงไกรเพชร. (2560). ผลการสร้างเสริม
สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ การรับรู้ความ
สามารถของตน และพฤติกรรมการส่งเสริมการ
ควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียของอาสาสมัคร
สาธารณสุขกรุงเทพมหานคร. วารสารคณะ
พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25 (2),
-104.
ศรุตยา หาวงษ์ วีณา เที่ยงธรรม และสุธรรม นันทมง-
คลชัย. (2560). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ
ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในชุมชน
โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว. วารสาร
พยาบาลสาธารณสุข, 31(1), 110-128.
สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อ
ผู้สูงอายุ. (2563). คู่มือการจัดการดูแลผู้สูงอายุที่
มีภาวะสมองเสื่อมครบวงจร สำหรับอาสาสมัคร
ผู้ดูแลในชุมชน. กรุงเทพฯ: บริษัทสินทวีการ
พิมพ์ จำกัด.
สุภาวดี สุขมาก, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์ และสาโรจน์
เพชรมณี. (2559). ผลของโปรแกรมการพัฒนา
สมรรถนะแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ
หมู่บ้านด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลบ้าน
เสด็จ อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี,
วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(1), 1-19.
สํานักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. (2564) รายงาน
ประจําปีสํานักอนามัยผู้สูงอายุ ประจําปี
งบประมาณ พ.ศ. 2564. สืบค้น 16 เมษายน
เข้าถึงได้จาก: https://eh.anamai.
moph.go.th/th/anniversary-
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. (2564). คู่มือ
แนวทางการส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืน
ยาว (Health Promotion & Prevention
Individual Wellness Plan) สำหรับเจ้าหน้าที่
สาธารณสุข. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การ
สงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, ดวงกมล วัตราดุลย์, วรณิช
พัวไพโรจน์, กนกพร แจ่มสมบูรณ์, ลัดดาวัลย์
เต ชางกูร, และยุพา อยู่ยืน. (2558). ผลของ
โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แบบมี
ส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ
หมู่บ้านต่อความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วย
โรคหัวใจและกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด.
วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 26 (1),
-132.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise
of control. New York: W.H.Freeman.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: Toward a
unifying theory of behavioral chage.
Phychological Review, 84(2), 191-215.