ถอดบทเรียนการดำเนินงานพัฒนาสู่จังหวัดใช้ยาสมเหตุผล : พื้นที่นำร่องอำเภอใช้ยาสมเหตุผลจังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานพัฒนาสู่จังหวัดใช้ยาสมเหตุผลในอำเภอนำร่องการดำเนินงานใช้ยาสมเหตุผล จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อเสนอแนวทางระบบการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสู่ “จังหวัดใช้ยาสมเหตุผล” จังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่ในการศึกษาครั้งนี้คือ อำเภออุทุมพรพิสัย ห้วยทับทัน เมืองจันทร์ โพธิ์ศรีสุวรรณ ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ บุคคลที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้า จำนวน 193 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นข้อคำถามที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลในโรงพยาบาลและชุมชน ทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร (Document analysis) และการเก็บข้อมูลภาคสนาม(Field study) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group)
ผลการศึกษา พบว่า 1)การดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลในโรงพยาบาล ดำเนินงานที่ขับเคลื่อนนโยบายลงสู่การปฏิบัติโดยผู้บริหารของโรงพยาบาล และคณะกรรมการเภสัชกรรมบำบัด โดย RDU Coordinator ระดับอำเภอ เป็นผู้ประสานการดำเนินงานและกำกับติดตามตัวชี้วัด ผ่านนโยบายกุญแจสำคัญ 6 ประการ (PLEASE) ที่เน้นเรื่องการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ให้เป็นตามนโยบาย การส่งเสริมให้มีการใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาลแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ การจัดทำฉลากยาเสริมในยากลุ่มที่มีความเสี่ยงในการใช้ยา การจัดทำคู่มือในการใช้ยาปฏิชีวนะในโรงพยาบาล ยาHigh Alert Drug การประเมินการใช้ยา (DUE) และสื่อสารให้กับทีมสหวิชาชีพให้ตระหนักเรื่องการใช้ยาสมเหตุผลในโรงพยาบาล 2)การดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลในชุมชน การดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายลงสู่การปฏิบัติโดยคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ(คปสอ.) โดยมี RDU Coordinator ระดับอำเภอ เป็นผู้ประสานงานกำกับติดตามตัวชี้วัด โดยดำเนินการตามนโยบาย Key Activity 5 กิจกรรม การเฝ้าระวังเชิงรุกในโรงพยาบาล ค้นหาปัญหาของผู้ป่วย การส่งต่อให้เกิดการเฝ้าระวังเชิงรุกในชุมชน โดยร่วมกับเครือข่ายการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลในชุมชน เช่นการดำเนินงานปฐมภูมิ การตรวจเฝ้าระวังร้านชำ การเฝ้าระวังปัญหาความเสี่ยงในชุมชน การจัดการเรื่องร้องเรียน และการพัฒนาเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในชุมชน ซึ่งเป็นการให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมการดำเนินงานเกิดความปลอดภัยด้านยาในชุมชน
สรุปผลการศึกษา พบว่า จากการศึกษาการดำเนินงานสามารถจัดทำระบบการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุโรงพยาบาลและในชุมชน โดยนำข้อมูลที่ได้นำไปวางแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสู่ “จังหวัดใช้ยาสมเหตุผล”จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยด้านยาและความความสำเร็จในการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลจังหวัดศรีสะเกษ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กองบริหารการสาธารณสุข(2563). แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน(พิมพ์ครั้งที่1).นนทบุรี.
เกษศิรินทร์ วิเชียรเจริญ อารยา ประเสิรฐชัยและธีรวุธ ธรรกุมล. (2565). การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาล ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 8(1), 110-122.
คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล(2558). คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล.(พิมพ์ครั้งที่1).นนทบุรี
จันทร์จรีย์ ดอกบัวและนุศราพร เกษสมบูรณ์. (2559). การประเมินกระบวนการนำนโยบาย เกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาไปสู่การปฏิบัติในโรงพยาบาลปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารเภสัชกรรมไทย. 8(2),309-317.
บุญมี พันธุ์ไทย(2559). ระเบียบวิธีวิจัยการศึกษาเบื้องต้น(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.อ.ดร.กริช อินทราทิพย์และพ.อ.หญิง อรยา พูลพทรัพย์.(2561). การถอดบทเรียน.สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565.จาก https://rtanc.ac.th/wp-content/.
พัณณ์ชิตา โยคะนิตย์และนรินทร์ สังข์รักษา.(2553). การถอดบทเรียนการเรียนรู้สุขภาพชุมชน ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. วาสารศิลปากรศึกษาวิจัย, 2(1), 132-140.
วัฒนาโนนพองสูง(2559). การถอดบทเรียนกระบวนการเรียนรู้ชุมชนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมสำหรับพ่อแม่วัยรุ่นจากกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กโดยชุมชนกรณีศึกษาคลองสองต้นนุ่น(วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยศิลปกร.
วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา(2565). จุดประกาย RDU Community กรณีศึกษา 10 พื้นที่ของกพย. จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา. ยาวิพากษ์. ม.ค.-ก.พ. 2565; 12(1): 1-24.
สุทธินี เรืองสุพันธุ์และวรวุฒิ สุพิชญ์.(2563). การจัดการเชิงระบบสู่การใช้ยาอย่างสมเหตุผลในเครือข่ายอำเภอโนนสูง. วารสารเภสัชกรรมคลินิก, 26(2), 61-78.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ(2564). สรุปผลการดำเนินส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล. ศรีสะเกษ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ(2565). สรุปผลการดำเนินส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล. ศรีสะเกษ