การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษา 2 ราย

Main Article Content

สุพรรณี วงคำจันทร์, พย.ม.

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย ดำเนินการ เป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจง ในผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่าง 1  เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยตามกรอบแนวคิดของการประเมินภาวะสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน (Marjorie Gordon)  การวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ประเมินปัญหาทางการพยาบาล กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผนการปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล


การศึกษาพบว่า ผู้ป่วยรายที่ 1 ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 43 ปี ปฏิเสธโรคประจำตัว มาด้วย ไข้ หนาวสั่น หายใจหอบเหนื่อย ก่อนมาโรงพยาบาล 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยให้ ประวัติว่า 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล เท้า 2 ข้างบวม ไม่ปวด ไม่แดง ยังไม่ได้ไปรับการรักษาที่ใด 1 ชั่วโมงก่อนมา เหนื่อย หอบ หายใจไม่สะดวก จึงมาโรงพยาบาล แรกรับผู้ป่วยเป็นประเภทวิกฤตฉุกเฉินสีแดง วินิจฉัยว่า Pneumonia with Septic shock ได้รับการดูแลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยช็อกจากติดเชื้อในกระแสเลือด ได้รับยาปฏิชีวนะ Ceftriaxone  ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ  ได้รับยากระตุ้นความดันโลหิต Norepinephrine ได้รับยา Hydrocortisone ทางหลอดเลือดดำ ระหว่างได้รับการรักษา ผู้ป่วยมีผื่นแดง คัน ได้ Adrenaline 0.5 ml IM anterolateral thigh และ Chlorpheniramine และพบว่าผู้ป่วยมีภาวะ Hypokalemia ได้รับการรักษาแก้ภาวะ Hypokalemia และตรวจพบ Right pleural effusion มีภาวะ Fluid overload ได้รับยาขับปัสสาวะ ควบคู่ไปกับการควบคุมความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับปกติ ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นพ้นวิกฤต และได้รับการพักรักษา สามารถจำหน่ายกลับบ้านได้ รวมระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล 5 วัน ผู้ป่วยรายที่ 2ผู้ป่วยเพศ หญิง อายุ 60 ปี มีประวัติเป็นวัณโรคปอด     รับยาครบปี 2561 มาด้วย 3 วันก่อนมา ไข้  ไอ เหนื่อยเพลีย วิงเวียน ไม่ได้ไปรักษาที่ใดมาก่อน แรกรับประเมินเป็นผู้ป่วยวิกฤตสีแดง  มีประวัติ chronic alcohol drinking แพทย์วินิจฉัย Septic shock และ Left lower lung pneumonia ได้รับการดูแลในภาวะวิกฤต ได้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ได้รับยาปฏิชีวนะ Ceftriaxone 3 วัน  และเปลี่ยนยาปฏิชีวนะเป็น Ceftazidime  มีภาวะ Hypokalemia ได้รับการรักษาแก้ภาวะ Hypokalemia และได้รับ Thiamine ทางหลอดเลือดดำ 3 วัน  ได้รับยากระตุ้นความดันโลหิต Norepinephrine และได้รับยาพ่นขยายหลอดลม ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น จำหน่ายกลับบ้านได้ รวมระยะเวลาพักรักษา 11 วัน


สรุป การเข้าถึงบริการของผู้ป่วยปอดอักเสบที่รวดเร็ว การได้รับการดูแลรักษาที่ทันท่วงที ทำให้ผ่านพ้นภาวะวิกฤต และ    ไม่เกิดภาวะการหายใจล้มเหลว การดูแลอย่างทันเวลาในการรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบและมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด  การให้การติดตามเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยลดความรุนแรงของภาวะต่างๆที่เกิดร่วมและแทรกซ้อนระหว่างการดูแลรักษา ช่วยแก้ไขปัญหาความรุนแรงและวิกฤต ลดอัตราการเสียชีวิตได้ พยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งที่ต้องมีองค์ความรู้และทักษะความชำนาญการปฏิบัติการพยาบาลเป็นพิเศษตั้งแต่แรกรับจนจำหน่ายกลับบ้าน

Article Details

บท
กรณีศึกษา

References

กรมควบคุมโรค.กระทรวงสาธารณสุข. DDC WATCH. (ธันวาคม 2564) : 9(1) (Internet) (เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2566).

เข้าถึงได้จาก https://www.ddc.moph.go.th/uploads/publish/1305720220831091702.pdf

ซ่อนกลิ่น ชูจันทร์. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษา

เปรียบเทียบ. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร, 29(1): 13-22.

ณัฐยา ระวิงทอง. การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ: กรณีศึกษา.(Internet). (เข้าถึง

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566). เข้าถึงได้จาก http://www.inb.moph.go.th/MyPDF/14.pdf

ณัทญา ตรีภูริเดช. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์. โรคปอดบวม.บทความสุขภาพ, 9 November, 2022. (Internet) เข้าถึงเมื่อ

ตุลาคม 2566.เข้าถึงได้จาก https://www.chulabhornchannel.com/health-articles/2022/11/โรคปอดบวม/

ทีมนำทางคลินิก (Patient Care Team : PCT) .(2566). สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลห้วยทับทัน. ประมวลผลข้อมูล

จากโปรแกรม HimPro. DRG index จาก ฐานข้อมูลโรงพยาบาลห้วยทับทัน ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2566.

พงศ์เทพ ธีระวิทย์. ภาวะช็อค (Shock) (Internet) เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2566. เข้าถึงได้จาก

https://www.rama.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Shock.pdf

พิกุลทอง ลุนสำโรง.(2563).การพยาบาลผู้ป่วยภาวะช็อกจากติดเชื้อในกระแสเลือด(Septic Shock) :

กรณีศึกษา 2 ราย.วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 5(4): 209-221.

เพชรรุ่ง อิฐรัตน์.(2562). การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน: กรณีศึกษา 2 ราย.

วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16(2): 72-82.

วีรพงศ์ วัฒนาวนิช. Update management in Septic shock. (Internet) เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2566 เข้าถึงได้จาก

https://medinfo.psu.ac.th/nurse/CoP/Sepsis/sepsis_3.pdf

AMERICAN NURSES ASSOCIATION. The Nursing Process. (internet) เข้าถึงเมื่อ 31 ตุลาคม 2566 เข้าถึงได้จาก

https://www.nursingworld.org/practice-policy/workforce/what-is-nursing/the-nursing-process/

GotoKnow.การวางแผนจำหน่าย(Discharge Plan) หลัก D METHOD.(internet) เข้าถึงเมื่อ 31 ตุลาคม 2566 เข้าถึงได้จาก

https://www.gotoknow.org/posts/54816

Mount Sinai. Pneumonia in adults-discharge.(internet) เข้าถึงเมื่อ 31 ตุลาคม 2566 เข้าถึงได้จาก

https://www.mountsinai.org/health-library/discharge-instructions/pneumonia-in-adults-discharge

Royal College of Physicians. National Early Warning Score2(NEWS2). Royal College of Physicians.

(December 2022).(internet) เข้าถึงเมื่อ 31 ตุลาคม 2566 เข้าถึงได้จาก

https://www.rcplondon.ac.uk/project/outputs/national-early-warning-score-news-2

Studocu.11 FUNCTIONAL HEALTH PATTERNS OF MARJORIE GORDON.(internet) เข้าถึงเมื่อ 31 ตุลาคม 2566 เข้าถึง

ได้จากhttps://www.studocu.com/ph/document/southwestern-university-phinma/bs-nursing/gordons- 11-functional-health-patterns-example-information/45730813