การพัฒนาการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภออุทุมพรพิสัย

Main Article Content

บงกชรัตน์ จันทร์สนิทศรี, พย.ม.

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการพัฒนาการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภออุทุมพรพิสัย รูปแบบการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นเพศหญิงจำนวน 242 คน ได้มาแบบเจาะจง พื้นที่ใช้ในการศึกษาคือ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือชุดที่ 1 แนวปฏิบัติการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เครื่องมือชุดที่ 2 แบบสอบถาม การประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพัฒนาการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นประกอบด้วย 7 แนวทางดังนี้1.) การตั้งคณะกรรมการ 2.)ระบบการคืนข้อมูล 3.) กิจกรรมเข้าค่าย Stop Teen Mom 4.)การสร้างระบบสารสนเทศ 5.)ระบบการช่วยเหลือในสถานศึกษา ช่องทางสื่อสารและการช่วยเหลือให้คำปรึกษาแก่วัยรุ่น 6.)การประเมินผลลัพธ์การดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และ7.)ถอดบทเรียนการดำเนินการและการขยายผลไปสู่ชุมชนอื่น ผลของการนำแนวทางไปใช้พบว่า ระดับความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อยู่ในระดับความรู้ความเข้าใจถูกต้องบ้าง ระดับการตัดสินใจและเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรอยู่ในระดับดีมาก และระดับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ได้ สรุปผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่าแนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเครือข่ายสุขภาพอำเภออุทุมพรพิสัยสมควรนำแนวทางปฏิบัติไปใช้ชุมชนอื่นที่มีลักษณะคล้ายชุมชนตัวอย่างได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เก่ง สืบนุการณ์.(2019). การศึกษาการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นในอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์โดยใช้รูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพ.วารสารศูนย์อนามัยที่9:วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 13(31), 119-140.

เจนจิรา นามวงค์. (2021). ผลของกระบวนการกลุ่มตามแนวการบำบัดด้วยการรู้การคิดและพฤติกรรมต่อทัศนคติต่อการป้องกันการตั้งครรภ์และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. Journal of Human Sciences, 22(3), 143-160.

นันทิวา สิงห์ทองและคณะ. (2563). ปัจจัยที่่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัย อันควรของวัยรุ่นหญิงโรงเรียนแห่งหนึ่งจากในเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ในการประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 7 วิทยาลัยนครราชสีมา วันที่ 23 พฤษภาคม 2563.นครราชสีมา, น.1106-1115. ปริยานุช ตั้งนรกุล, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์ และนฤมล ธีระรังสิกุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศกับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมตอนต้น.วารสารแพทย์นาวี,46(3),น.607- 620.

ภัทรพงศ์ ชูเศษ, นฎาประไพ สาระ, & อรอุมา ทางดี. (2020). การศึกษาการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.). วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(04), 39-39.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง.(2566). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร(รายเดือน). สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2566, จากเว็บไซต์ : https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData

สำเริง ดัดตนรัมย์, & จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ.(2019). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการตั้งครรภ์ ไม่พร้อมในวัยรุ่น ตำบลบุกระสัง อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์. The office of disease prevention and control 9th Nakhon Ratchasima Journal, 25(2), 78-87.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Pivongkomjhon, P. (2020). การพัฒนาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และองค์กร ในพื้นที่ตำบลกุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. Journal of Health Science-วารสาร วิชาการ สาธารณสุข, 29(4), 608-617.

Pasitpakakul, P., & Muensit, A. (2022). บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดปทุมธานี ในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 5(4), 1675-1688.

พัทยา แก้วสาร, และนภาเพ็ญ จันทขัมมา.(2021). การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกลุ่มนักเรียนประถมปลาย.วารสาร วิจัยทางการพยาบาล-การผดุงครรภ์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ , 41 (2), 101-110.

อมรา อัคเส.(2020). การพัฒนาแนวทางการสื่อสารเรื่องเพศของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นกับครอบครัว. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 5(3), 148-160.

Langputeh, P., Leartariyapongkul, N. L., Jeenarong, T., & Piroh, H. (2020). การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยใช้หลักการศาสนาอิสลามผ่านสื่อออนไลน์. UBRU Journal for Public Health Research, 9(1),74-82.

World Health Organization. World health statistics 2018: Monitoring health for the SDGs, Sustainable Development Goals. Geneva: World Health Organization. Switzerland; 2018 สืบค้นจาก https://www.who.int/news-room/spotlight/coming-of-age-adolescent-health.

Titler MG, Kleber C, Steelman VJ, Rakel BA, Budreau G, Everett LQ, et al.(2001). The IOWA model of evidencebased practice to promote quality care. Crit Care Nurs Clin North Am 2001;13:497- 509