การศึกษาการรับส่งเวรในงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

บรรจงจิต จันทร์นวล, พย.บ.

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาการรับส่งเวรทางการพยาบาลในงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลปาย กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลปาย จำนวน 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครืองมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระหว่างเดือนสิงหาคม 2566 ถึงเดือน พฤศจิกายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และการสรุปประเด็น ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติตามแนวทางที่ศึกษาในการการรับส่งเวรทางการพยาบาล พบว่าภายหลังการพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาล พยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าเวรของงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลปาย สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องครบถ้วน มากกว่าร้อยละ 82 2) อุบัติการณ์ที่เกิดจากการรับส่งเวรทางการพยาบาล พบว่าภายหลังการพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาล ไม่พบรายงานอุบัติการณ์     ที่เกิดจากการรับส่งเวรทางการพยาบาลของงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลปาย 3) ความพึงพอใจโดยรวมของพยาบาลวิชาชีพต่อการพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลภายหลังการพัฒนาคุณภาพ พบว่าภายหลังการพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพของงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลปาย มีความพึงพอใจในการรับส่งเวรทางการพยาบาลในระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ 85 ปัญหาอุปสรรคพบว่าพยาบาลหัวหน้าเวรผู้ส่งเวรมีการส่งเวรที่ขาดข้อมูลผู้ป่วยและไม่มีความพร้อมในการรับส่งเวรตามกำหนดเวลา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา สิงห์ทองวรรณ. (2558). การพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ (การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เจียมจิตต์ เฉลิมชุติเดช และคณะ (2554). ผลของการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลระหว่างเวร. รายงานวิจัย R2R โรงพยาบาลพระพุทธบาท. Retrieved from http://bppbh.blogspot.com/2011/06/blog-post_5531.html

พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. (2537). รายงานวิจัยการใช้โปรแกรมประกันคุณภาพการพยาบาลในการพัฒนาบริการพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐ. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. (2549). การจัดการทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัย (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์.

ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2553). การพยาบาลทางศัลยศาสตร์. กรุงเทพฯ : โครงการตำรารามาธิบดี ภาควิชาพยาบาลศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

มนนพรัฐ อุเทน. (2558). การพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 2 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โรงพยาบาลปาย. (2564). รายงานสถิติข้อมูลคุณภาพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. โรงพยาบาลปาย. จังหวัดแม่ฮ่องสอน

โรงพยาบาลปาย. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2566.

โรงพยาบาลศรีสังวาล. (2565). รายงานสถิติข้อมูลคุณภาพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. โรงพยาบาลศรีสังวาล จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ศุภชัย อาชีวระงับโรค. (2547). Practical PDCA: แก้ปัญหาและปรับปรุงงานเพื่อความสำเร็จ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ซีโน ดีไซด์.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2556). คู่มือ แนวทางการปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ เกณฑ์และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ. กำหนด. นนทบุรี: โอวิทย์.

สายทิพย์ ไชยรา และคณะ (2543). การพัฒนารูปแบบรายงานการส่งเวรด้วยกระบวนการพยาบาลของพยาบาลวชิาชีพโรงพยาบาลสกลนคร.

สำนักการพยาบาล. (2554). การประกันคุณภาพการพยาบาล: การประเมินคุณภาพการบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. (2543). ขั้นตอนการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ดีไซร์.

อรทัย หล้านามวงค์. (2558). การพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยจักษุ โรงพยาบาลลำปาง (การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การพยาบาล). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อวยพร กิตติเจริญรัตน์ และคณะ (2552). ผลของการรับส่งเวรโดยใช้ SBAR ของทีมการพยาบาลและความปลอดภัยของผู้ป่วยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. วารสารกรมการแพทย์, 34(9), 530-531.

Benson E., et al (2007). Improving shift-to-shift report. Journal of nursingCare Quality, 22(1), 80-84.

Chaboyer W., et al M. (2009). Bedside handover: Quality improvement strategy to “transform care at the bedside”. Journal of Nursing Care Quality, 24(2), 136-142.

Jenerette C., & Brewer C. (2011). Situation, background, assessment, and recommendation (SBAR) may benefit individuals who frequent emergency departments: Adults with sickle cell disease. Journal of Emergency Nursing, 37(6), 559-561. doi:10.1016/j.jen.2011.02.012

Kelly P.(2012). Nursing leadership & management. USA: Cengage Learning.

Kerr D., et al(2016). Impact of a modified nursing handover model for improving nursing care and documentation in the emergency department: A pre-and post-implementation study. International Journal of Nursing Practice, 22, 89-97.

Klim S., et al (2013). Developing a framework for nursing handover in the emergency department: an individualised and systematic approach. Journal of Clinical Nursing, 22, 2233-2243. doi:10.1111/jocn.12274

Laws D. (2010). Incorporating bedside reporting into change-of-shiftreport. Rehabilitation Nursing, 35, 70-74.

Manser T., & Foster S. (2011). Effective handover communication: An overview of research and improvement efforts. Best Practice & Research Clinical Anaesthesiology, 25(2), 181-191. doi:10.1016/j.bpa.2011.02.006.

Sexton A., et al (2004). Nursing handovers: Do we really need them? Journal of Nursing Management, 12(1), 37-42.

Street M., et al (2011). Communication at the bedside to enhance patient care: A survey of nurses' experience and perspective of handover. International Journal of Nursing Practice, 17, 133-140.

Ye K., et al (2007). Handover in the emergency department: Deficiencies and adverse effects. Emergency Medicine Australasia, 19(5), 433-441.