ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลละลาย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ประยม ศิริมา, ส.ม.

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลละลาย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 193 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 เปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลละลาย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้การวิเคราะห์ Multiple regression แบบ Stepwise ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลละลาย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ คือ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคไข้เลือดออก การรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคไข้เลือดออก มีประวัติการป่วยเป็นไข้เลือดออก โสด แต่งงาน และความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลละลาย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้ร้อยละ 43.80 (R2=0.438) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยพบว่าแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ประวัติการป่วยเป็นไข้เลือดออก สถานภาพสมรส และความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลละลาย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับปัจจัยดังกล่าว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2562). รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2562. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). การคาดการณ์สถานการณ์โรคไข้เลือด พ.ศ. 2565. นทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566). การคาดการณ์สถานการณ์โรคไข้เลือด พ.ศ. 2566. นทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กิ่งแก้ว สำรวยรื่น และ นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ. (2564). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลปากโทก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2565

ดอกแก้ว ตามเดช. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลป่าแฝก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2565.

ณัฐยา สุนัติ และคณะ. (2564). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2564, 53-67.

ธนันญา เส้งคุย และคณะ (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2563.

นภารัตน์ อู่เงิน(2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของหัวหน้าครัวเรือนกลุ่มชาติพันธุ์ตำบลป้ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน. ปริญญานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2564.

บุญประจักษ์ จันทร์วิน. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกแยกเป็นรายภูมิภาคของประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (กุมภาพันธ์).

ปฐวี ปวกพรหม และคณะ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตตำบลบางกระเจ้า เภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลทหารบก. 23(2): 68-77; สิงหาคม, 2565.

ประสิทธิ์ นิมสุวรรณ์ และ คณะ (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของชาวบ้านในชุมชนพื้นที่ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (2017): กรกฎาคม - ธันวาคม 2560.

ภานุวัฒน์ พรหมสังคหะ. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย

อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ 2562 ; 1(1) มกราคม – มิถุนายน, 23-31.

วรนุช ยิ้มฟุ้งเฟือง. (2548). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สุขศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วันทนา ขยันการนาวี (2565). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่แนวป่าห้วยขาแข้งอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 14(2): 1-19; ธันวาคม, 2565.

สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค.(2561). แนวทางการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเมือง Urban Dengue Unit Guideline. จังหวัดนนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันทรลักษ์. (2566). การคาดการณ์สถานการณ์โรคไข้เลือด พ.ศ. 2566.

Kelley K. and Maxwell S.E(2003). Sample Size For Multiple Regression: Obtaining Regression Coefficients That Are Accurate, Not Simply Significant. Psychological Methods. 8(3): 305–321.

World Health Organization. (2019). Dengue and severe dengue case management [online]. [Cited 2019 June 16]. Available from: https://www.who.int/health-topics/dengue-and-severe-dengue#tab=tab_3.