การพยาบาลทารกที่มีภาวะหายใจลำบาก(Respiratory Distress Syndrome: RDS): กรณีศึกษา 2 ราย

Main Article Content

วัลยา บัวหอม, พย.บ.

บทคัดย่อ

ภาวะหายใจลำบาก ซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่สูงมาก การให้การพยาบาลและการดูแลจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะการดูแลเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย การดูแลให้ได้รับออกซิเจน และสารลดแรงตึงผิว ตลอดจนการตรวจเฝ้าระวัง (neonatal monitoring) ทารกกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขอย่างทันท่วงที ส่งผลให้อัตราการตาย      ของทารกคลอดก่อนกำหนดลดลง ดังนั้นพยาบาลจึงต้องมีความรู้ในศาสตร์ทางการพยาบาลการมีความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีต่างๆที่ใช้ในการพยาบาลทารกกลุ่มนี้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อ ลดอัตราการเกิดความพิการและอัตราการตาย ช่วยให้ทารกสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป


วัตถุประสงค์ : ทารกทีมีภาวะหายใจลำบาก(Respiratory Distress Syndrome: RDS) : กรณีศึกษา 2 ราย


วิธีการศึกษา : การศึกษาเพื่อเปรียบการศึกษาทารกทีมีภาวะหายใจลำบาก(Respiratory Distress Syndrome: RDS)  ที่เข้ารับการรักษา โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกตการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหายใจลำบาก(Respiratory Distress Syndrome: RDS)พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดงการรักษา ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลการวางแผนการจำหน่ายและการดูแลเชิงเนื้อหา


กรณีศึกษา : ที่เปรียบเทียบผู้ป่วยทารกทีมีภาวะหายใจลำบาก(Respiratory Distress Syndrome: RDS)


             รายที่ 1 ผู้ป่วยทารก เพศชาย 1 วัน คลอดปกติ 40 สัปดาห์ 6 วัน น้ำหนักแรกคลอด 3,505 กรัม Apgar score 9,10,10  Amniotic fluid meconium หลังคลอดหลังคลอด ๒ ชั่วโมงมีอาการหายใจหอบ ปีกจมูกบาน ได้รับการวินิจฉัย Respiratory Distress Syndrome: RDS


             รายที่ 2 ผู้ป่วยทารก เพศชาย 1 วัน คลอดปกติ 37 สัปดาห์ 3 วัน น้ำหนักแรกคลอด 2,800 กรัม Apgar score 9,10,10 Amniotic fluid clear หลังคลอด 2 ชั่วโมง มีอาการหายใจหอบเหนื่อย ได้รับการวินิจฉัย Respiratory Distress Syndrome: RDS


สรุป : การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการประเมินและค้นหาปัญหาผู้ป่วยตั้งแต่แรกเกิด การเฝ้าระวังอาการทางระบบทางเดินหายใจ สัญญาณชีพ หลังคลอด ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลที่รวดเร็วทันเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มารดามีความรู้ในเรื่องการดูแลสังเกตอาการหายใจหอบ ปลายมือปลายเท้าเขียว นำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดโรคปอดอักเสบเรื้อรังได้

Article Details

บท
กรณีศึกษา

References

เกรียงศักดิ์ จิระแพทย์. (2563). การดูแลอุณหภูมิกายทารกแรกเกิด. ใน สันติ ปุณณะหิตานนท์(บ.ก.), Smart Practice in Neonatal Care. (น.361-389). กรุงเทพมหานคร : แอคทีฟพริ้นท์.

จันทนา พันธ์บูรณะ (2562). Bronchopulmonary Dysplasia : เกณฑ์ในการวินิจฉัยและสาเหตุ. ในสันติ ปุณณะหิตานนท์ (บ.ก.), practice Points Updates in Neonatal Care. (น.428-443). กรุงเทพมหานคร :แอคทีฟพริ้นท์.

ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย(2555). คู่มือการดูแลทารกแรกเกิด ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ; 2555.

ทิพยสุดา เส็งพานิช, พิกุล ตินามาส, อลิษา ขุนแกวและ เสน่ห์ขุนแกว. (2563). 5 กุญแจเพื่อความสำเร็จในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะหายใจลำบาก. วารสารแพทย์นาวี. 47(3), 723-733.

ธมนวรรณ เรืองพระยา. (2564). อัตรารอดชีวิตและภาวะแทรกซ้อนในทารกคลอดก่อนกำหนด (VLBW). วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์. 12 (2), 32–49.

ธีระ ทองสง (2555). การเจ็บครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด.พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร: ลักษมีรุ่ง; 2555.

นิธิพันธ สุขสุเมฆ. (2564). ภาวะซีดในทารกแรกเกิด. ใน สันติ ปุณณะหิตานนท์ (บ.ก.), Important Issues in Neonatology. (น.139-148). กรุงเทพมหานคร : อินเตอร์พริ้นท์ซัพพลาย.

มนัสวี พันธวาศิษฏ์ (2558). การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนด:กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ,2558 ; 12 (2):

-120.

สำนักบริหารการสาธารณสุข(2556). แนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาทารกแรกเกิด: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด ; 2556.

Cunningam FG(2014). The Preterm Newborn. Williams Obstetrics 24th ed: McGraw-Hill Education; 2014.