ผลลัพธ์จากการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง เป็น 1 ใน 3 ของมะเร็งพบมากที่สุดในโลก และพบว่าในประเทศไทย มีรายงานอุบัติการณ์การเกิดที่สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถลดลงได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เพื่อช่วยในการป้องกันและการรักษาในระยะเริ่มต้นได้ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ประกอบด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ และการส่องกล้อง ลำไส้ใหญ่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการตรวจพบ ติ่งเนื้อและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในกลุ่มผู้ป่วย FIT test positive ที่เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลเวชระเบียนและภาพบันทึกการส่องกล้อง ลำไส้ใหญ่ ในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ที่เข้ารับการการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ระหว่างวันที่ 29 กรกฏาคม 2565 ถึง 10 สิงหาคม 2566 ลงในแบบบันทึกข้อมูลที่สร้างขึ้นมาจากการทบทวนวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลแล้วประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ Fit test 5,919 คน พบว่ามีผลบวกรวมกัน 440 ราย (ร้อยละ7.4) และได้เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ 338 ราย (ร้อยละ76.8) พบว่าเป็นติ่งเนื้อชนิด adenoma จำนวน 75 ราย (ร้อยละ 22.2) เป็นมะเร็งจำนวน 8 ราย (ร้อยละ 2.4) ของผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้อง สรุปการศึกษาเห็นว่าการคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่มีประโยชน์ ในป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยการตรวจพบและกำจัดติ่งเนื้อ หรือตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ช่วยให้มีการพยากรณ์โรคที่ดีกว่าและช่วยลดการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาที่ผ่านมาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กันต์กมล กิจตรงศิริ, นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร, อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, และคณะ (2557). การศึกษาความ คุ้มค่าของการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และ ไส้ตรงในประชากรไทย Economic evaluation of colorectal cancer screening among Thai population ภายใต้โครงการศึกษาเพื่อพัฒนา ชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกัน
สุขภาพ ถ้วนหน้า. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ; 2557.
พรชัย โอเจริญรัตน์ (2549). Clinical application of molecular genetics in colorectal cancer. ใน ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ 32 ปรยุต์ ศิริวงษ์, สมบุญ เจริญเศรษฐมห, ปริญญา ทวีชัยการ, บรรณาธิการ. กรุงเทพ: กรุงเทพเวชสาร 2549.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ (2566). แนวทางการดำเนินงานและการบันทึกข้อมูล โครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ด้วยวิธี FIT test , Available from:URL: https:/./www.nci.go.th/th/screening01.
Html.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (2557). ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2557 [internet]. 2016. [cite 2020 Aug15]. Available from:URL: https://www.nci.go.th/th/File_download/Nci%20Cancer%20Registry/HOSPITAL-BASED%202014.pdf.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ (2566).คู่มือการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ด้วยวิธีการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ Available from:URL: https://www.nci.go.th/th/screening01.html.
Adcharee Sareesiriwatana (2022) Efficiency of ecal Immunochemical Test to Screen for Colorectal Cancer by Compare Applied a Cut-Off 50 ng/ml and 100ng/ml , Region 3 Medical and Public
Health Journal Vol. 19 No. 2 May-August 2022.
Aleksandar N, Vuka K, Vesna Z, Goran S (2004). Advanced colorectal adenoma. Arch Oncol 2004;12(Suppl 1): 59-60.
Aniwan S, Ratanachu Ek T, Pongprasobchai S, et al(2017). The Optimal Cut-Off Level of The Fecal Immunochemical Test For Colorectal Cancer Screening in a Country with Limited Colonoscopy Resources: A Multi-Center Study from Thailand. Asian Pac J Cancer Prev. 2017;18(2):405-12.
Chatchawan Wachirametharuch(2018). Organized Colorectal Cancer Screening in Roi-Et Province , (Thai Cancer J 2018;38:11-18).
Jass JR (2007). Classification of colorectal cancer based on correlation of clinical, morphological and molecular features. Histopathology 2007;50: 113–30.
Khuhaprema T, Sangrajrang S, Lalitwongsa S, Chokvanitphong V, Raunroadroong T, Ratanachu-Ek T, et al(2014). Organised colorectal cancer screening in Lampang Province, Thailand: preliminary results tation programme. BMJ Open 2014;4:e003671.
.Kim ER, Kim YH (2014). Clinical Application of Genetics in Management of Colorectal Cancer. Intest Res 2014;12:184-93.
Levin B, Lieberman DA, McFarland B, et al.(2008) Screening and surveillance for the early detection of colorectal cancer and adenomatous polyps, 2008: a joint guideline from the American Cancer Society, the US Multi-Society Task Force On Colorectal Cancer, and the American College of Radiology. CA Cancer J Clin.2008; 58(3):130-60.
Marut Wattanawongwibul (2019). The Positive Predictive Value and Number Needed to colonoscope of Fecal Immuno-Chemical Test 50 versus 100 for Colorectal Screening in Nakhonpathom Hospital , Region 4-5 Medical Journal , Vol. 38 No. 4 October-December 2019.
van Dam, L., Kuipers, E. J., van Leerdam, M. E.(2010) Performance improvements of stool-based screening tests. Best Practice & Research Clinical Gastroenterology 2010; 24(4), 479-492.
Wiriyakosol, S. (2019). Developing Model of Colorectal Cancer Screening in Krathumbaen Community Network, Krathumbaen District, Samutsakorn Province -. Journal of Health Science – วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(5), 845–856. https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/8123.
World Health Organization(2012). The International Agency for Research on Cancer (IARC). lobocan 2012. Available from: http://globocan.iarc.fr/Pages/fact_sheets_cancer.aspx.