ผลของการพัฒนาแบบคัดกรองความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ชนัชชา อุปฮาด, ส.ม.
มัลลิกา สุพล, ส.ม.

บทคัดย่อ

การศึกษา Action research นี้เป็นการศึกษานำร่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการคัดกรองความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และเพื่อศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการคัดกรองความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดที่พัฒนาขึ้น มีขั้นตอนการพัฒนาประกอบด้วย การกำหนดปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลในการแก้ไขปัญหา การพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบในการแก้ปัญหา 2 วงจร และการสังเกตและบันทึก กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่รับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานสาธารรสุขจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 290 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ทำหน้าที่คัดกรองความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์จำนวน 20 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งมีค่า CVI เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า ได้รูปแบบการคัดกรองความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดที่พัฒนาขึ้นจากเดิมบุคลากรทางการแพทย์คัดกรองความเสี่ยงให้หญิงตั้งครรภ์เป็นหญิงตั้งครรภ์คัดกรองความเสี่ยงด้วยตนเอง และแบบคัดกรองความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดเดิมใช้ของคณะกรรมการอนามัยแม่และเด็กจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีปัจจัยเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด จำนวน 29 ข้อ พัฒนาเป็นแบบคัดกรองความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด จำนวน 33 ข้อ จัดแยกประเภทการคัดกรองเป็น คัดกรองด้วยบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 5 ข้อ และหญิงตั้งครรภ์คัดกรองความเสี่ยงได้ด้วยตนเอง จำนวน 28 ข้อ ในจำนวน 28 ข้อที่หญิงตั้งครรภ์สามารถคัดกรองได้ด้วยตนเอง จัดกลุ่มเป็นคัดกรองครั้งแรกที่มารับบริการฝากครรภ์ จำนวน 28 ข้อ และคัดกรองซ้ำทุกครั้งที่มารับบริการฝากครรภ์ จำนวน 10 ข้อ หญิงตั้งครรภ์คัดกรองความเสี่ยงด้วยตนเองสอดคล้องกับบุคลากรทางการแพทย์คัดกรอง หญิงตั้งครรภ์ที่พบความเสี่ยงได้รับการดูแลตามความเหมาะสมทุกรายในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด หญิงตั้งครรภ์ใช้เวลาในการคัดกรอง 5-10 นาทีต่อราย และไม่เพิ่มระยะเวลาในการเข้ารับบริการฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ด้านบริการสุขภาพ ควรนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับหญิงตั้งครรภ์ในการคัดกรองความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ด้านการศึกษาวิจัย ควรศึกษาความสอดคล้องระหว่างหญิงตั้งครรภ์คัดกรองความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดด้วยตนเองกับบุคลากรทางการแพทย์คัดกรอง โดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฟูมิยาสึ มา เอะโนะ และนัทธมน ตั้งบุญธินา. (2557). การประเมินความสามารถทางด้านภาษาญี่ปุ่นของตนเอง เปรียบเทียบข้อมูลจากบันทึกการประเมินตนเองและผลการสอบในชั้นเรียน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 13(2): 12-18

อรพนิต ภูวงษ์ไกร,สมจิตร เมืองพิล และอุสาห์ ศุภรณ์พันธ์. (2563). การพัฒนาแบบคัดกรองปัจจัยเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด. การประชุมผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 21 มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Ahmed, B., Abushama, M., & Konje, J. C. (2023). Prevention of spontaneous preterm delivery - an update on where we are today. The journal of maternal-fetal & neonatal medicine : the official journal of the European Association of Perinatal Medicine, the Federation of Asia and Oceania Perinatal Societies, the International Society of Perinatal Obstetricians, 36(1), 2183756. https://doi.org/10.1080/147670 58.2023.2183756

Bertalanffy, L. V. (1968). General system theory foundations, development, applications. New York; George Braziller: lnc.

Health Data Center (HDC). (2565). รายงานมาตรฐาน [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม 2565. จาก: https://ssk.hdc.moph.go.th/hdc /main

Hoffman M. K. (2021). Prediction and Prevention of Spontaneous Preterm Birth: ACOG Practice Bulletin, Number 234. Obstetrics and gynecology, 138(6), 945–946. https:// doi.org/10.1097/AOG.000 0000000004612

Kemmis.S., and Mc Taggart, R. (1988). The action research planner. Geelong Deakin University Press.

Krejcie, Robert V. & Daryle, Morgan W. (1970). Determining Sampling Size for Research Activities. Journal of Education and Psychological Measurement. 10(11): 308.

McGurk, P., Jackson, J. M., & Elia, M. (2013). Rapid and reliable self-screening for nutritional risk in hospital outpatients using an electronic system. Nutrition (Burbank, Los Angeles County, Calif.),29(4), 693–696. https://doi.org/ 10.1016/j.nut. 2012.12.020.

Miller, D. P., Jr, Foley, K. L., Bundy, R., Dharod, A., Wright, E., Dignan, M., & Snavely, A. C. (2022). Universal Screening in Primary Care Practices by Self-administered Tablet vs Nursing Staff. JAMA network open, 5(3), e221480. https://doi.org/10. 1001/jamanetworkopen.2022.1480

Stewart, L. A., Simmonds, M., Duley, L., Llewellyn, A., Sharif, S., Walker, R. A., Beresford, L., Wright, K., Aboulghar, M. M., Alfirevic, Z., Azargoon, A., Bagga, R., Bahrami, E., Blackwell, S. C., Caritis, S. N., Combs, C. A., Croswell, J. M., Crowther, C. A., Das, A. F., … Walley, T. (2021). Evaluating Progestogens for Preventing Preterm birth International Collaborative (EPPPIC): meta-analysis of individual participant data from randomised controlled trials. The Lancet, 397(10280), 1183–1194. https://doi.org /10.1016/S0140 -6736(21)00217-8

The Joanna Briggs Institute Levels of Evidence and Grade of Recommendation Working Party. Supporting document for the Joanna Briggs Institute levels of evidence and grades of recommendation [Internet]. 2014 [Cited 2022, December 22]. Available from http://joannabriggs. org/jbiapproach.html#tabbednav=Levels-of-Evidenc

The Royal College of Obstetricians and Gynecologists of Thailand [RTCOG]. (2022). Medical Practice Guidelines for the Royal College of Obstetricians and Gynecologists of Thailand. Bankok: E.A. living

World Health Organization [WHO].(2565). Preterm birth [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม 2565. จาก: https://www.who.int/news room/factsheets/detail/preterm-birth