ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพ อสม. ด้านป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาเปียง ตำบลสำโรงปราสาท อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ฉลอง แสงคำ, ส.ม.

บทคัดย่อ

          การวิจัย เรื่อง ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพ อสม. ด้านป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาเปียง ตำบลสำโรงปราสาท อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาศักยภาพ อสม. ให้สามารถดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในชุมชน 2) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โดย อสม. ได้แก่ ความรู้ การดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และค่าความดันโลหิต 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพ อสม. E1/E2 โดยการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 Development : Design and development เป็นการพัฒนาศักยภาพ อสม. เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้ ขั้นตอนที่ 2 Research : Implementation นำผลการวิจัยไปปฏิบัติ อสม.จับคู่กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ดำเนินการแบบ PDCA ของ เดมมิ่ง (The Deming Cycle) และขั้นตอนที่ 3 Development : Evaluation ประเมินประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพ อสม. ได้แก่ คะแนนความรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็น อสม. วัดหลังการอบรม และวัดหลังสิ้นสุดการวิจัย คำนวณค่า E1/E2 ประชากรเป็น อสม.ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาเปียง ตำบลสำโรงปราสาท อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 139 คน กลุ่มตัวอย่าง อสม. เท่ากับจำนวน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในการจับคู่ดูแล ในขั้นตอนที่ 2 จำนวน 86 คน
           ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาศักยภาพ อสม. คือ คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง ของ อสม. เปรียบเทียบก่อนและเมื่อสิ้นสุดการอบรม โดยใช้สถิติ Paired t-test พบว่า ค่าเฉลี่ยความรู้ของ อสม. เพิ่มขึ้น 4.06 คะแนน (95%CI=3.63-4.48) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01, ค่าเฉลี่ยความรู้ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้น 4.40 คะแนน (95%CI=3.89-4.89) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01, เปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมเฉลี่ยก่อนและหลังจับคู่ดูแล ด้วยสถิติ Pair t-test หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น 8.30 คะแนน (95%CI= 7.65-8.96) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ .01 ค่าความดันโลหิตสูงเปรียบเทียบก่อนและเมื่อสิ้นสุดการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโดย อสม. ลดลง ค่าความดันโลหิตค่าบน 11.73 (95% CI=9.54-13.93) ค่าความดันโลหิตค่าล่าง .52 (95% CI=.64-1.96) ประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพ อสม. คือ คะแนนความรู้ของ อสม. หลังการพัฒนาศักยภาพ กำหนดให้เป็น E1 และเมื่อ อสม. จับคู่ดูแลผู้ป่วยเบาหวานสิ้นสุด ประเมินความรู้ของ อสม.อีกครั้ง กำหนดให้เป็น E2 ซึ่งกำหนด E1/E2 เท่ากับ 80/80 ผล 78.72/-81.37 ความคลาดเคลื่อนของ ร้อยละ 2.65 ไม่เกินร้อยละ 5 โปรแกรมการพัฒนาอสม.สามารถนำไปใช้ได้จริงเป็นไปตามวัตถุประสงค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก เทพสิทธา. (2555). ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension). Annual Epidemiological Surveillance Report 2012. (อินเตอร์เน็ต). 2024 (เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2567). https://apps-doe.moph.go.th/boeeng/annual/Annual/AESR2012/main/ AESR55_Part1/file11/5855_Hypertention.pdf.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2564). แนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชนนโยบาย 3 หมอ. นนทบุรี : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

กานดา ยุบล, วรยุทธ นาคอ้าย. (2561). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กรณีศึกษาอำเภอปัว จังหวัดน่าน. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2561;41(ฉบับพิเศษ):s23-36.

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, สราญรัตน์ ลัทธิ. (2562). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562. (ระบบออนไลน์). (สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567). http://www.thaincd.com/document/ hot%20news/ประเด็นสารวันความดันโลหิตสูง_62.pdf.

ทองเพ็ชร จุมปา. (2530). การศึกษากระบวนการออกแบบและพัฒนาสารสนเทศเพื่อการบริหาร : โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นสหชม เอโหย่ และคณะ. (2565). ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะ อสม.ในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงตามวิชัยโมเดล 7 สี ต่อความรู้ การปฏิบัติการคัดกรอง และการให้คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารกองการพยาบาล. ปีที่ 49 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2565. (ระบบออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2567 แหล่งที่มา : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/view/259095/174847

บุญชม ศรีสะอาด (2546). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสารส์น. พิมพ์ครั้งที่ 8.

มุจลินท์ คำล้อม และคณะ. (2564). ผลโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพ อสม. เชี่ยวชาญด้านป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับความดันโลหิต ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตำบลกุดปลาดุก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 (2564) : กันยายน - ธันวาคม 2564. ระบบออนไลน์). (สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567). https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCCPH/article/view/246771.

รอยพิมพ์ เลิศวิริยานันท์. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในตำบลแม่แฝกอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่.

ศิรประภา สิทธาพานิช และคณะ. (2565). ประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในคลินิกหมอครอบครัวย่อ. ยโสธรเวชสาร. ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2565. (ระบบออนไลน์). (สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567). https://he04.tci-thaijo.org/index.php/hciyasohos/article/view/312.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปรางค์กู่. (2563). รายงานการประชุมประจำเดือน. เอกสารอัดสำเนา.

สำนักจัดการความรู้กรมควบคุมโรค (2551). การประเมินระบบการเฝ้าระวังโรคในเขตภาคใต้ตอนล่างของหน่วยระบาดวิทยาคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2557). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : บริษัทวิทยพัฒน์.

Bloom, Benjamin S.,et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York : Mc Graw-Hill Book Company.

Clark A JM, Warren-Gash C, Guthrie B, Wang HHX, Mercer SW, et al. (2020). Global, regional, and national estimates of the population at increased risk of severe COVID-19 due to underlying health conditions in 2020 : a modeling study. Lancet Global Health 2020;8(8) : E1003-17.

Deming in Mycoted. (2004). Plan Do Check Act (PDCA) (Online). Available http://www.mycoted.com/creativity/techniques/pdca.php

Krause T, Lovibond K, Caulfield M, McCormack T, Williams B. (2011). On behalf of the Guideline Development Group. Management of hypertension: summary of NICE Guidance. BMJ 2011;343:doi:10.1136/bmj.d4891.