การจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ภมร สุราวุธ, ส.บ.
พุทธิไกร ประมวล, วท.บ., สม.(ชีวสถิติ), ส.ด.
วิเชียร ศรีหนาจ, ปร.ด.(วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม)

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทสถานการณ์ การพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลและประเมินผลการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในจังหวัดศรีสะเกษ แบ่งเป็น 3 ระยะ โดย ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาบริบทสถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูล เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหาร อปท. 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อสรุปผล ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลของ อปท. ตามกระบวนการพัฒนาแบบ PAOR เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผู้บริหาร อปท และ จนท.ผู้รับผิดชอบการจัดการสิ่งปฏิกูลของ อปท. 70 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อสรุปผล และระยะ ที่ 3 การศึกษาผลการรูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ นายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 44 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยใช้สถิติ Paired t-test
             ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดศรีสะเกษ ยังมีบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลยังไม่เพียงพอ มีการลักลอบเทสิ่งปฏิกูลในพื้นที่ป่าธรรมชาติของผู้ประกอบการรถสูบส้วม และยังไม่มีการบังคับใช้กฎหมายที่จริงจัง รูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายและเป้าหมาย 2) การวางแผนยุทธศาสตร์และแผนงบประมาณ 3) การจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย 4) การสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วม 5) การขออนุญาตใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ 6) การพัฒนาระบบการจัดการ 7) การสร้างความตระหนักและให้ความรู้ 8) การติดตามประเมินผล 9) การตั้งข้อบัญญัติและการบังคับใช้กฎหมาย และ 10) การขยายผลและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หลังทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มากกว่าก่อนทดลองใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และมีผลสำเร็จ การก่อสร้างบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มขึ้น 2 แห่ง รวมทั้ง 18 แห่ง ใน 16 อำเภอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไฉไล ช่างดำ และบุญเกิด เชื้อธรรม. (2567). การจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 4(1): 1-15.

ไฉไล ช่างดํา และไกรวัลย์ มัฐผา. (2557).ประสิทธิภาพของระบบบําบัดสิ่งปฏิกูลแบบบ่อทรายกรองต่อการกําจัดไข่พยาธิ.ศูนย์อนามัยที่7 อุบลราชธานี.

ไฉไล ช่างดำ, บุญเกิด เชื้อธรรม และ สุกัญญา เชื้อธรรม. (2564). รูปแบบการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 4(1): 12-27.

ธนวัฒน์ พิมลจินดา และคณะ. (2564). อุปสรรคในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 14(2), 67-84.

ปิยนุช เวทย์วิวรณ์ และคณะ. (2561). การจัดการสิ่งปฏิกูลโดยภาคเอกชน: โอกาสและความท้าทาย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 7(3), 112-128.

ไพโรจน์ แสงจง. (2561). ประเมินผลการดำเนินงานระบบสุขภาพอำเภอ อำเภอบ้านป่าบอน จังหวัดพัทลุง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นจาก https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13070?mode=full

รัชนี อัศวรุ่งนิรันดร์ และคณะ. (2563). คุณภาพส้วมในชุมชนชนบทไทย: สถานการณ์และแนวทางการพัฒนา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 50(3), 278-295.

วาทินี จันทร์เจริญและปิยมาภรณ์ ดวงมนตรี. (2561). การศึกษาการปนเปื้อนของไข่พยาธิ ตัวพยาธิจากการตะกอนสิ่งปฏิกูลที่รถสูบส้วมนําไปทิ้งในที่สาธารณะหรือเอกชนในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ําลําปาวจังหวัดกาฬสินธุ์ในปี 2561. ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น.

วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร และคณะ. (2563). การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น: กรณีศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารกฎหมายสิ่งแวดล้อม, 8(1), 78-95.

ศูนย์บริหารกฎหมายกรมอนามัย. (2561).คู่มือพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535และที่แก้ไขเพิ่มเติมโรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด.

ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี. (2562). สรุปผลการปฏิบัติงานประจําปี 2562. ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี.

สมชาย วงศ์สวัสดิ์. (2565). ผลกระทบของการจัดการสิ่งปฏิกูลที่ไม่ถูกต้องต่อคุณภาพน้ำและสุขภาพชุมชน. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม, 12(1), 33-50.

สํานักงานสารสนเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). สธ.เดินหน้ายุทธศาสตร์ทศวรรษการกําจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ําดีระยะที่ 2. สืบค้นจากhttps://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/all/04/112799/

สํานักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. (2562) การประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขและแนวทางการใช้ส้วมและระบบการจัดการสิ่งปฏิกูล.ห้องประชุม 209 ชั้น2 ตึกอานันทมหิดล คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สํานักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. (2564). คู่มือเทคโนโลยีการจัดการสิ่งปฏิกูล โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด.

สำนักงานอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. (2563). คู่มือสำหรับผู้ปฏิบัติงานสูบและขนส่งสิ่งปฏิกูลหลักสูตรการฝึกอบรมการจัดการสิ่งปฏิกูลสำหรับผู้ปฏิบัติงานสูบและขนส่งสิ่งปฏิกูล. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. (2565). การประชุมหารือแนวทางการจัดทําระบบกําจัดสิ่งปฏิกูลเพื่อรองรับการจัดการสิ่งปฏิกูลในพื้นที่จังหวัดต่างๆ. ณ ห้องประชุมชิตชัยวงศ์ อาคาร 5 ชั้น 5 สํานักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย.

สุดารัตน์ วัชรคุปต์ และคณะ. (2562). การจัดการสิ่งปฏิกูลในประเทศไทย: ปัญหาและแนวทางแก้ไข. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษา, 10(2), 45-60.

Gouldson, A., et al. (2008). New alternative and complementary environmental policy instruments and the implementation of the Water Framework Directive. European Environment, 18(6), 359-370.

Kemmis S, McTaggart R. (1988). The Action Research Planer. 3rd edition. Victoria: Deakin University.

Nilsson, M., & Persson, Å. (2017). Policy note: Lessons from environmental policy integration for the implementation of the 2030 Agenda. Environmental Science & Policy, 78, 36-39.

Rashman, L., et al. (2009). Organizational learning and knowledge in public service organizations: A systematic review of the literature. International Journal of Management Reviews, 11(4), 463-494.

Reed, M. S. (2008). Stakeholder participation for environmental management: A literature review. Biological Conservation, 141(10), 2417-2431.

Rogers, E. M. (2003). Diffusion of innovations (5th ed.). Free Press.

Stufflebeam, D. L. (2000). The CIPP model for evaluation. In Evaluation models: Viewpoints on educational and human services evaluation (pp. 279-317). Dordrecht: Springer Netherlands.

UN. (2015). Transforming our world: The 2030 Agenda for Sustainable Development. United Nations.

UNEP. (2021). Making Peace with Nature: A scientific blueprint to tackle the climate, biodiversity and pollution emergencies. United Nations Environment Programme.

World Bank. (2018). What a Waste 2.0: A Global Snapshot of Solid Waste Management to 2050. World Bank.

World Health Organization. (1989). Guidelines for the safe use of wastewater and excreta in agriculture and aquaculture Measures for public health protection. Geneva, WHO.