ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลจาน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม โดยวัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในอาสาสมัครสาธารณสุข ในเขตตำบลจาน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 45 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับ โปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 รู้เขารู้เรา กิจกรรมที่ 2 จริงหรือหลอก กิจกรรมที่ 3 ของดีบอกต่อ และกิจกรรมที่ 4 ทำดีให้ดู รวมทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Paired Sample t–test
ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลจาน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ มีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออกหลังการได้รับโปรแกรมมีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P<0.001) จึงสรุปได้ว่าโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีประสิทธิผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก จึงควรได้มีการเสริมสร้างและยกระดับความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ ดังกล่าว เพื่อพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพให้กับประชาชนในชุมชน โดยปรับให้เหมาะสมกับบริบทของประชาชนในแต่ละพื้นที่ ให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกที่เหมาะสมต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรมควบคุม (2565). โรคไข้เด็งกี่ (Dengue). สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2566 จากhttps://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=44
กระทรวงสาธารณสุข (2562). แนวทางการดำเนินงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กองสุขศึกษา (2559). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ.กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
ชลลดา งอนสำโรง และณัฐวุฒิ กกกระโทก (2566). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาปีที่ 9 ฉบับที่ 1.
ภาวิณี มนตรี และคณะ (2565). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรค ที่มียุงลายเป็นพาหะของแกนนำครัวเรือนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี. วารสารควบคุมโรค ปีที่ 48 ฉบับที่ 3.
รจนารถ ชูใจ ชลธิชา บุญศิริ และ กมลพร แพทย์ชีพ(2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1.
วรารัตน์ ทิพย์รัตน์ กนกพรรณ พรหมทอง มนตรี รักภักดี (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และค่าดัชนี ลูกน้ำ ยุงลาย จังหวัดตรัง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 40 ฉบับที่ 5.
วิภาวดี มาระสาร จุฑามาศ ศรีอินทร์ วิลาวัลย์ตั้งสัตยาธิษฐาน (2565). ศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออก สำหรับกลุ่มจิตอาสา ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา ปีที่37 ฉบับที่2.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันทรารมย์. รายงานโรคติดต่อ (2566). กลุ่มงานควบคุมและป้องกันโรค สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันทรารมย์ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ.
เอื้อจิต สุขพูล และคณะ (2563). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน.วารสารวิชาการสาธารณสุขปีที่ 29 ฉบับที่ 3.
World Health Organization (2018). Dengue Fever Fact Sheet. Geneva, Switzerland. Retrieved from http://www.searo.who.int/entity/vector_borne_tropical_.
World Health Organization (2020). Dengue and severe dengue. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/dengue-and-severe-dengue.