ความสำเร็จและความปลอดภัยของการสกัดกั้นแขนงประสาทของแขนบริเวณเหนือกระดูก ไหปลาร้าโดยใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงนำทาง ในโรงพยาบาลกันทรลักษ์

Main Article Content

ยุวรี ชินทอง, พ.บ.

บทคัดย่อ

          การสกัดกั้นแขนงประสาทของแขนบริเวณเหนือกระดูกไหปลาร้าโดยใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงนำทางเป็นวิธีการ ที่นิยมใช้ในการผ่าตัดรยางค์บน เป็นมาตรฐานทางวิสัญญี โดยใช้ภาพจากเครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อระบุแขนงประสาท ของแขนก่อนระงับความรู้สึก ช่วยให้เห็นตำแหน่งที่เหมาะสมของเข็มขณะสกัดเส้นประสาทและเห็นการกระจายของยาชารอบๆ เส้นประสาท วิธีนี้ช่วยระงับความรู้สึกและหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่าง การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จและภาวะแทรกซ้อนของการสกัดกั้นแขนงประสาทของแขนบริเวณเหนือกระดูกไหปลาร้าโดยใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงนำทางในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการสกัดกั้นแขนงประสาทของแขนบริเวณเหนือกระดูกไหปลาร้าโดยใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงนำทาง เพื่อผ่าตัดรยางค์บนในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จำนวน 520 ราย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูลที่สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เก็บรวบรวมข้อมูลเรื่องความสำเร็จและการเกิดภาวะแทรกซ้อน ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ระยะเวลา ในการสกัดกั้นเส้นประสาทสำเร็จ ขนาดของเข็ม ชนิดและปริมาณของยาชาเฉพาะที่ที่ใช้ และยาที่ผู้ป่วยได้รับเพิ่มเติมจาก เวชระเบียนของผู้ป่วยย้อนหลัง ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 520 ราย พบความสำเร็จของการให้การระงับความรู้สึกด้วยการสกัดกั้นแขนงประสาทของแขนโดยใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงนำทาง สำเร็จ 426 ราย (81.9%) ไม่สำเร็จ 94 ราย (18.1%) ผู้ป่วย ที่ไม่สำเร็จทั้ง 94 ราย ได้รับการทำเทคนิคเพิ่มเติม คือ ฉีดยาชาบริเวณที่ผ่าตัด 44 ราย สกัดเส้นประสาท ulnar 1 ราย ให้การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่าง 47 ราย และได้รับทั้งการฉีดยาชาบริเวณผ่าตัดร่วมกับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่าง 2 ราย พบภาวะแทรกซ้อน 1 ราย คือ ภาวะ Horner’s syndrome แต่ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด หรือภาวะพิษจากยาชาเฉพาะที่ จากการศึกษาสรุปได้ว่าการสกัดกั้นแขนงประสาทของแขนบริเวณเหนือกระดูกไหปลาร้าโดยใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงนำทางมีอัตราความสำเร็จ 81.9% และเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มาลินี วงศ์สวัดิวัฒน์ และอุ้มจิต วิทยาไพโรจน์. (2560). การสกัดเส้นประสาทส่วนปลายเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 1).โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

Abhinaya, R. J., Venkatraman, R., Matheswaran, P., & Sivarajan, G. (2017). A randomised comparative evaluation of supraclavicular and infraclavicular approaches to brachial plexus block for upper limb surgeries using both ultrasound and nerve stimulator. Indian Journal of Anaesthesia, 61(7), 581–586. https://doi.org/10.4103/ija.IJA_402_16.

Brattwall, M., Jildenstål, P., Warrén Stomberg, M., & Jakobsson, J. G. (2016). Upper extremity nerve block: How can benefit, duration, and safety be improved? An update. F1000Research, 5, F1000 Faculty Rev-907. https://doi.org/10.12688/f1000research.7292.1.

Chan, V. W. S., Perlas, A., Rawson, R., & Odukoya, O. (2003). Ultrasound-Guided Supraclavicular Brachial Plexus Block. Anesthesia & Analgesia, 97(5), 1514. https://doi.org/10.1213/01.ANE.0000062519.61520.14.

Guru, A., Desingh, D. C., Jayakumar, V., & Kuppusamy, S. K. (2023). A Comparison Between Ultrasound-Guided Supraclavicular and Infraclavicular Approaches to Brachial Plexus Block for Elective Upper Limb Surgery. Cureus, 15(10), e46656. https://doi.org/10.7759/cureus.46656.

Koscielniak-Nielsen, Z. J., Frederiksen, B. S., Rasmussen, H., & Hesselbjerg, L. (2009). A comparison of ultrasound-guided supraclavicular and infraclavicular blocks for upper extremity surgery. Acta Anaesthesiologica Scandinavica, 53(5), 620–626. https://doi.org/10.1111/j.1399-6576.2009.01909.x.

Kulenkampff, D. (1928). BRACHIAL PLEXUS ANAESTHESIA: ITS INDICATIONS, TECHNIQUE, AND DANGERS. Annals of Surgery, 87(6), 883–891. https://doi.org/10.1097/00000658-192806000-00015.

Leurcharusmee, P., Tiyaprasertkul, W., Finlayson,R. J., & Tran, D. Q. H. (2015). Ultrasound-guided brachial plexus blocks: A review of techniques and approaches. Thai Journal of Anesthesiology, 41(2), Article.

Raju, P. K. B. C., & Coventry, D. M. (2014). Ultrasound-guided brachial plexus blocks. Continuing Education in Anaesthesia Critical Care & Pain, 14(4), 185–191. https://doi.org/10.1093/bjaceaccp/mkt059.

Sinthuprasit, W. (2021). Success Rate and Safety of Ultrasound-Guided Supraclavicular Brachial Plexus Blocks; A Retrospective Study of 1,830 Cases. Thai Journal of Anesthesiology, 47(4), Article 4.

Sriramatr, D., Chongarunngamsang, W., Kusumaphanyo, C., & Promma, J. (2018). Ultrasound-Guided Supraclavicular Brachial Plexus Block in Hand and Forearm Surgery: Case Series. JOURNAL OF THE MEDICAL ASSOCIATION OF THAILAND, 101(10), Article 10.

Ultrasound-Guided Supraclavicular Brachial Plexus Nerve Block. (2018, September 16). NYSORA. https://www.nysora.com/topics/regional-anesthesia-for-specific-surgical-procedures/upper-extremity-regional-anesthesia-for-specific-surgical-procedures/anesthesia-and-analgesia-for-elbow-and-forearm-procedures/ultrasound-guided-supraclavicular-brachial-plexus-block/.

Ultrasound-Guided Supraclavicular Brachial Plexus Block. (n.d.). WFSA Resource Library. Retrieved May 20, 2024, from https://resources.wfsahq.org/atotw/ultrasound-guided-supraclavicular-brachial-plexus-block/.