การพยาบาลผู้ป่วยเสพยาบ้าที่มีพฤติกรรมรุนแรง : กรณีศึกษา 2 ราย

Main Article Content

บุญโฮม ทิพย์สมบัติ, ป.พย.

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยเสพยาบ้าที่มีพฤติกรรมรุนแรงจำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลบึงบูรพ์ ในช่วงเวลาระหว่าง 10 พฤศจิกายน 2566 – 11 มกราคม 2567 ศึกษาด้วยการประเมินภาวะสุขภาพตามแบบแผนของกอร์ดอน การใช้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน และทฤษฎีทางการพยาบาลที่เกี่ยวข้อง


            ผลจากกรณีศึกษาเปรียบเทียบทั้ง 2 รายเสพยาบ้ามีพฤติกรรมรุนแรงระดับสูง โดยรายที่ 1 เป็นชายไทย อายุ 33 ปี มีพฤติกรรมทำร้ายบุคคลอื่น รายที่ 2 เป็นชายไทยอายุ 18 ปี มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองซ้ำ ทั้ง 2 ราย ได้รับการรักษาด้วยยาต้านโรคจิตและยาควบคุมอารมณ์เหมือนกัน การสร้างสัมพันธภาพและการให้คำปรึกษาทั้งผู้ป่วยและญาติ เกิดความไว้วางในและยอมรับในตัวผู้ป่วย เพื่อให้สามารถจำหน่ายผู้ป่วยกลับไปอยู่กับครอบครัวได้ หลังให้การรักษาพบว่า กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ยังควบคุมอารมณ์ได้น้อย มีความเสี่ยงที่จะกลับไปเสพยาเสพติดและ มีพฤติกรรมรุนแรงซ้ำอีก จากปัจจัยบุคลิกภาพที่ผิดปกติที่มีผลจากยาเสพติด การถูกครอบครัวปฏิเสธและการกลับไปอยู่ในชุมชนที่มียาเสพติด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องส่งต่อให้ภาคีเครือข่ายเข้าร่วมการดูแล เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องและป้องกันการก่อความรุนแรงซ้ำ

Article Details

บท
กรณีศึกษา

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แนวทางการคัดกรอง การประเมินความรุนแรง การบำบัดรักษาการฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติด สำหรับศูนย์คัดกรอง สถานพยาบาลยาเสพ ติดและสถานพยาบาลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (2563). คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง. พิมพ์ครั้งที่ 1.บริษัทพรอสเพอรัสพลัส จำกัด.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน (Acute Care) สำหรับหน่วยบริการสาธารณสุข (ระดับ A, S, M1 และ M2) ฉบับทดลองใช้. บียอนด์ พับลิสซิ่ง. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). หลักสูตรการให้การดูแลผู้ป่วยสุราและแอมเฟตามีนที่มีปัญหาด้านจิตเวชสำหรับพยาบาล.

ขวัญพนมพร ธรรมไทย. (2564). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตในกลุ่มเลือกสรร: บุคลิกภาพผิดปกติพฤติกรรมก้าวร้าวและการถููกทารุณกรรม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จุฬาลักษณ์ ช่ำชอง. (2556). การดูแลผู้มีความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด. ใน ฉวีวรรณ สัตยธรรม, แผ จันทร์สุข และศุกร์ใจ เจริญสุข (บรรณาธิการ), การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต (ฉบับปรับปรุง) เล่มที่ 2 (หน้า 226-254). โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส จำกัด.

ฉวีวรรณ สัตยธรรม, แผ จันทร์สุข และศุกร์ใจ เจริญสุข.(2557). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต (ฉบับปรับปรุง) เล่มที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.

ญาธิดา วุฒิศาสตร์กุล, วิยะดา ทิพม่อม, และธัญญาสิริ ธันยสวัสดิ์. (2565). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเพพพลาวในกระบวนการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49(2), 365 – 375.

ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต. (2559). การพยาบาลผู้ติดสารเสพติด ใน วันดี สุทธรังษี, ถนอมศรี อินทนนท์ และ ศรีสุดา วนาลีสิน (บรรณาธิการ), การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาทางจิตเวช(หน้า 113-128). สงขลา : โครงการตำราหลักคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธวัชชัย ลีฬหานาจ. (2549). โรคจิตเวชที่เกิดร่วมกับโรคติดสารเสพติด พิชัย แสงชาญชัย,พงศธร เนตราคม และนวพร หิรัญวิวัฒน์กุล บรรณาธิการ), ตําราจิตเวชศาสตร์การติดสารเสพติด. กรุงเทพฯ : บางกอกบล๊อก.

ธิติพันธ์ ธานีรัตน์. (2555). ทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับบุคลิกภาพผิดปกติในทางจิตเวช (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : พุ่มทอง.

เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา. (2558). โรคบุคลิกภาพผิดปกติ(Personality Disorder). ใน นันทวัช สิทธิรักษ์, กมลเนตร วรรณเสวก, กมลพร วรรณฤทธิ์, ปเนต ผู้กฤติยาคามี, สุพร อภินันทเวชและพนม เกตุมาน(บรรณาธิการ), จิตเวชศิริราช DSM-5 (หน้า 455-466). กรุงเทพฯ : ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์.

มาโนช หล่อตระกูล, บรรณาธิการ. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2560.

มุกข์ดา ผดุงสยาม.(2561). การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร บริษัท นีโอ ดิจิตอล จำกัด

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) (2563) . แนวทางการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติสุขภาพจิตแบบไร้รอยต่อและบูรณาการในพื้นที่ .

สายรุ้ง ภูนาคำ. (2566).การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงสูงจากการใช้สารเสพติด : กรณีศึกษา 2 ราย.วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 (2023) กรกฎาคม - กันยายน, 577-589

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. ระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูยาเสพติดของประเทศ . สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2567, จาก https://antidrugnew.moph.go.th

โสภิดา ดาวสดใส.(2564). คู่มือ การเรียนการสอน หลักสูตรพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ใช้ยาและสารเสพติด (หน้า 97 – 104).ขอนแก่น : บริษัท ขอนแก่นพิมพ์พัฒนา จำกัด

อังกูร ภัทรากร และคณะ. (2564). คู่มือแนวทางการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน (Community base treatment : CBTx)สำหรับชุดปฏิบัติการในชุมชน “วิถีใหม่การแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน”. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ออนป้าจำกัด