ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกัน การสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในตำบลยาง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในตำบลยาง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest design) กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในตำบลยาง จำนวน 45 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือวิจัยเป็นโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพถูกพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัย ระยะดำเนินการ 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Paired Sample t–test
ผลการวิจัยพบว่า หลังจากได้รับโปรแกรม นักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) โดยเฉพาะในด้านความรู้เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ การจัดการตนเอง การรู้เท่าทันสื่อ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการสูบบุหรี่ ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ก่อนและหลังการทดลองพบว่า โปรแกรมนี้มีผลในการเพิ่มพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนอย่างชัดเจน จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า โปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพมีประสิทธิผลในการเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ในกลุ่มนักเรียน ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการป้องกันการสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชนได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานประจำปี 2564 กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ.กลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
กรมควบคุมโรค. (2565). แผนปฏิบัติการ ด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ 6 ฉบับที่สาม พ.ศ. 2565 – 2570.กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร กรมควบคุมโรค.
กรมควบคุมโรค. (2566). รายงานประจำปี 2566 กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ.กลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
ซารีนะฮ์ ระนี ประภาภรณ์ หลังปูเตะ และนิซูไรดา นิมุ. (2022). ศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการสูบบุหรี่และสารเสพติดโดยใช้หลักการอิสลามต่อความรอบรู้ด้าน สุขภาพด้านป้องกันการสูบบุหรี่และสารเสพติดในเยาวชนมุสลิมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนใต้ วารสารพฤติกรรมศาสตร์,เพื่อการพัฒนา, 14(1).
ยุรนันท์ เทพา. (2024). ได้ศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนแห่งหนึ่งในพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง
วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ) , 34(2).
ภาสกร เนตรทิพย์วัลย์. (2564). ศึกษาโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการ ป้องกันการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นตอนต้นโดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้แบบ ปรากฏการณ์เป็นฐาน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กัญญภัค สุวรรณศรี. (2566). ได้ศึกษาผลโปรแกรมสุขศึกษา เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ที่สูบบุหรี่ วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(2).
อนาวิน ภัทรภาคินวรกุล,ปรภัทร คงศรี,และสมหมาย กล้าณรงค์. (2566). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดแม่ฮ่องสอน.วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4, 13(1).Bloom, B.S. (1975). Taxonomy of Education. New York: David McKay Company.
Best, John W. (1977). Research in education. (3rd ed.). New Jersey : Prentice Hall.