ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงวัยทำงาน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมของกลุ่มทดลอง และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบหลังใช้โปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยทำงานกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ในเขตตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญ จำนวน 60 คน เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม – มิถุนายน 2567 เครื่องมือวิจัยเป็นโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานที่พัฒนาโดยใช้แนวคิดทฤษฎี PROCEED ของกรีนและครูเตอร์ ดำเนินการใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ และใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 สอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวาน ทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังดำเนินการด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า หลังใช้โปรแกรมฯกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นและมีระดับน้ำตาลลดลงกว่าก่อนใช้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังใช้โปรแกรมฯกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นและมีระดับน้ำตาลลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวานที่สร้างขึ้นจากแนวคิด PROCEED Model โดยใช้ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพมาออกแบบโปรแกรม ได้แก่ ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม สามารถช่วยเพิ่มพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานและลดระดับน้ำตาลในเลือดในประชากรกลุ่มเสี่ยงได้ และควรนำไปใช้ต่อยอดหรือถอดบทเรียนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของโรคเรื้อรังอื่นๆในพื้นที่ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรมควบคุมโรค. (2565). สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก. สำนักสารนิเทศ สำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข. https://ddc.moph.go.th/brc/news.php ?news=29611&deptcode=brc
เขมารดี มาสิงบุญ, สายฝน มุ่งคุ้ม, และสุวรรณี มหากายนันท์. (2017). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็น โรคเบาหวาน. วารสารพยาบาลกระทรวง สาธารณสุข, 27(2), 214-227.
จำปานาฏ มงคลเคหา. (2563). ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อน ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ห้องสมุดมสธ. www.opac01.com
ธีรภาพ เสาทอง, ปาหนัน พิชยภิญโญ, และสุนีย์ ละกำปั่น. (2563). ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทีไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(3), 19-32.
ประภาส บารมี, และ จักรพันธ์ บุญอ่อง. (2566). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานด้วย 4 ป.: กรณีศึกษากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ, 5(1), 25-37.
สุนันทา ภักดีอำนาจ, เชาวกิจ ศรีเมืองวงศ์, และ สุรีรัตน์ ณ วิเชียร. (2566). ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความรู้ พฤติกรรม และระดับ น้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตเมือง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 6(2), 53-66.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2566). รายงานข้อมูลการเฝ้าระวังโรคเบาหวาน. ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศจังหวัดศรีสะเกษ(HDC).
วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, และ วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564). รายงานการ สำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2563-2564.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
วันทนา มณีศรีวงศ์กูล. (2559). การพัฒนาความรู้และทักษะการป้องกันภาวะแทรกซ้อนใน ผู้ป่วยเบาหวานด้วยแนวคิดแบบจำลองพรี สีด-โพรสีด. วารสารการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข, 36(4), 45-58.
American Diabetes Association. (2020). 2. Classification and diagnosis of diabetes: Standards of medical care in diabetes—2020. Diabetes Care,43(Supplement 1), S14–S31. https://doi.org/10.2337/dc20-S002
American Psychological Association. (2019). Publication manual of the American Psychological Association (7th ed.). Washington, DC: Author.
Green, L. W., & Kreuter, M. W. (2005). Health program planning: An educational and ecological approach (4th ed.). McGraw-Hill.
WHO. (2023). Diabetes. World Health Organization. https://www.who.int/news- room/fact-sheets/detail/diabetes.
Xiling Lin, Yufeng Xu, Xiaowen Pan, Jingya Xu,Yue Ding, Xue Sun, Xiaoxiao Song, Yuezhong Ren & Peng-Fei Shan. (2020). Global, regional, and national burden and trend of diabetes in 195 countries and territories: An analysis from 1990 to 2025. Scientific Reports, 10(14790). https://doi.org/10.1038/s41598-020- 71908-9.