ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลหนองอึ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

จตุรงค์ สุภาทิพย์, ส.บ.

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Analytical) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลหนองอึ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยในระบบ HDC และอาศัยอยู่ในเขตตำบลหนองอึ่ง ตำบลหนองอึ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 182 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
          ผลการศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรอบรู้ด้านสุขภาพมากที่สุดในระดับเพียงพอ ร้อยละ 89.0 รองลงมามีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับพอใช้ ร้อยละ 7.7 และระดับไม่เพียงพอ ร้อยละ 3.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล คือ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ ปัจจัยด้านแรงสนับสนุนทางสังคม ปัจจัยด้านการให้บริการเชิงรุก ปัจจัยด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ส่วนปัจจัยที่สามารถทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ รองลงมา คือ ปัจจัยด้านแรงสนับสนุนทางสังคม ปัจจัยด้านการให้บริการเชิงรุก และอาชีพตามลำดับ โดยสามารถร่วมกันทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้ ร้อยละ 39.9 ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการกำหนดการพัฒนาความรอบรู้ของผู้ป่วยเบาหวานให้เกิดความพร้อมในการรับมือกับปัญหาและส่งเสริมความรอบรู้โรคเบาหวาน ให้กับผู้ป่วยในพื้นที่อื่น และปรับใช้กับโรคอื่นๆ ได้ เพื่อให้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพร เนาว์สุวรรณและคณะ. (2559). ความสัมพันธ์และอำนาจทำนายแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 8(1):1-13.

จิราภรณ์ อริยสิทธิ์. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสวรรค์ประชารักษ์เวชสาร, 18(2):142-155.

นงค์คราญ ชูอินทร์. (2565). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคเบาหวาน ของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 38(1):254-267.

เนตรนภา กาบมณีและคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 24(1):23-33.

ปัทมาพร ธรรมผล. (2559). ความแตกฉานด้านสุขภาพและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ และเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 34(3):176-182.

ลฎาภา ทานาค และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(3):140-150.

วันวิสาข์ อรพันธ์และอารี บุตรสอน. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), 37(2):14-23.

วินัย ไตรนาทถวัลย์ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความแตกฉานด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี, 13(2):41-51.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2566). สถานการณ์โรคเบาหวานในภาคพื้นแปซิฟิก (Western Pacific) ในปี พ.ศ. 2560. สืบค้น 11 เมษายน 2567. จาก: https://www.dmthai.org/new/index.php/sara-khwam-ru/the-chart/ the-chart-1/2018-02-08-14-52-46

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2567). เอกสารประกอบการตรวจราชการ รอบที่ 1/2567 จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2567). HDC report ร้อยละการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน จังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2567 สืบค้น 11 เมษายน 2567. จาก: https://ssk.hdc.moph.go.th/ hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2024&source=pformated/format1.php&id=e9e461e793e8258f47d46d6956f12832

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2567). HDC report รายงานตามตัวชี้วัดในระดับ NCD Clinic Plus ปี 2567 อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ สืบค้น 11 เมษายน 2567. จาก:https://ssk.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi. php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2024&source=pformated/format1.php&id=137a726340e4dfde7bbbc5d8aeee3ac3

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2567). HDC report ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2567 สืบค้น 11 เมษายน 2567จาก:https://ssk.hdc.moph.go.th/ hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2024&source=pformated/format1.php&id=137a726340e4dfde7bbbc5d8aeee3ac3.

สิทธานนท์ แจ่มหอมและคณะ. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสุขศึกษา, 44(1):75-86.

อานนท์ สังขะพงษ์, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, และวรรณรัตน์ ลาวัง. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ทางสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ,37(2):55-62.

อาภัสรา กล้าณรงค์และน้ำอ้อย ภักดีวงศ์. (2566). ปัจจัยทํานายความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท, 5(3):1-17.

Jesakorn Noin et al. (2015). Report sequel Conference Symposium (Proceedings).

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3):259–267.

World Health Organization. (1998). Health promotion Glossar. Geneva: WHO Publications.

World Health Organization. (2019). Health literacy and health promotion. definitions, concepts and examples in the Eastern Mediterranean Region. Individual empowerment conference working document. 7th Global Conference on Health Promotion Promoting Health and Development. Nairobi, Kenya, 26-30.