การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุทางถนนผ่านการใช้เครื่องมือธรรมนูญตำบล ตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้เครื่องมือธรรมนูญตำบลในการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุทางการจราจร ดำเนินการในช่วง เดือนเมษายน –สิงหาคม2567 ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้ร่วมพัฒนารูปแบบได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการป้องกันและควบคุมการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 76 คน และ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประเมินรูปแบบได้แก่ ประชาชนในเขตตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จำนวน 90 ดำเนินการ 4 ขั้นตอนคือ การวางแผน การปฏิบัติการสังเกตและสะท้อนผลการปฏิบัติ จำนวน 2 วงรอบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบอุปนัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าเฉลี่ย ค่าสถิติ pair t-test
ผลการศึกษาพบว่าขั้นตอนการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุทางการจราจร ตำบลไพรบึง แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่1 วางแผน (Planning) ประกอบด้วย 3 กิจกรรมได้แก่ (1) สร้างกลไกขับเคลื่อนการขับเคลื่อน (2) การกำหนดบทบาทของทีมนำและข้อมูลที่จำเป็น (3) การซักซ้อมในการดำเนินกิจกรรมจัดทำธรรมนูญตำบล ขั้นตอนที่ 2 จัดทำธรรมนูญตำบล (Action) ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ได้แก่ (1) ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพทีมนำและกำหนดบทบาทหน้าที่ (2) สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชน ในการจัดทำธรรมนูญตำบล (3) ขั้นยกร่างธรรมนูญตำบล (4)รับฟังความคิดเห็นของประชาชน (5) ประกาศใช้ธรรมนูญตำบล (6) ทดลองใช้ธรรมนูญตำบล (7) ทบทวน ปรับเปลี่ยนและประกาศใช้ ขั้นตอนที่ 3 การสะท้อนผล (Reflection) และ ขั้นตอนที่ 4 การปรับเปลี่ยนและทำซ้ำ (ACT) จนได้รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้โดยใช้เครื่องมือธรรมนูญตำบล ในการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุทางการจราจร ตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ คือ H2CRSE Model ประกอบด้วย 1) Healthcare Accessibility 2) Community Engagement 3) Collaboration and Partnerships 4) Collaboration and Partnerships 5) Supporting Leadership 6) Evaluating and Development ผลการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้นพบว่าคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของบุคคล การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ แรงสนับสนุนทางสังคมต่อการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน การมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนและความพึงพอใจในการใช้ธรรมนูญตำบลหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 ดังนั้นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้ในการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุในกลุ่มประชาชนได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน. (2565). แผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2565- 2570.ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2565). รายงานประจำปี 2564 กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค..สถานการณ์การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย.สืบค้น ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2566. https://dip.ddc.moph.go.th/new/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0% B8%81%E0%B8%B2%E0%B8 %A3/3base_status_new.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566). การบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน (Road Traffic Injury(RTI). กระทรวงสาธารณสุข https://ddc.moph.go.th/disease_detail. php?d=73.
ฉลองชัย สิทธิวัง, นิยม สุนทร, กรภัทร ขันไชย, ชาญชัย มหาวัน, นิคม อุทุมพร, เกษร ไชยวุฒิ, กันจน เตชนันท์ and Kanchon Techanan. (2564).การพัฒนาความปลอดภัยทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย 6 อำเภอนำร่อง จังหวัดน่าน. < http://hdl.handle.net/11228/5397" http://hdl.handle.net/11228/5397.
ไพบูลย์ ศรีพิมพ์สอ,(2566).แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ในเขตอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี.วารสารศาสตร์ สาธารณสุขและนวัตกรรม.ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2566.P1-13.
ปัญณ์ จันทร์พาณิชย์.(2565).การนำเสนอผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บทางถนน ระดับอำเภอและท้องถิ่น.
สำนักควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ปี 2565. ศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย การบูรณาการข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุทางถนน 3 ฐาน [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 26 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://rti.ddc.moph.go.th/RTD DI/Mo dules /Report/Report11.aspx10.
ศูนย์ข้อมูลกลางด้านการบาดเจ็บกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2565).สถิติอุบัติเหตุทางถนน.สืบค้นในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566; htps://ddc.moph.go.th/dip/ news.php?news=37380&deptcode=.
ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ(ThaiRISC).(2566)รายงานแสดงสถิติการเกิดอุบัติเหตุแยกตามขนาดเครื่องยนต์ รถจักรยานยนต์. สืบค้น ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2566; https://app.powerbi.com/view?r=eyJrIjoiY2RhNjgxNTQtZWQzZS00MjExLWFiNjUtNjMzZTJlNGUzMGE1IiwidCI6IjBiNTRkMTRlLTMyYTktNGEyMC1iOTVhLTgzMWQ0ZTQ5MmE5NyIsImMiOjEwfQ%3D%3D.
สะอาด ศิริมงคล.(2566).การพัฒนารูปแบบกระบวนการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ ในประเด็นการป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นทีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีอุดม ตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารวิจัยและ พัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ. ปีที่.2 ฉบับที่.1 มกราคม – เมษายน 2566.p 39-51.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ,รายงานการเกิดอุบัติเหตุในสถานการณ์ช่วงสงกรานต์ ปีงบประมาณ 2566. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. สืบค้นในวันที่ 20 เมษายน 2566; http://www.ssko.moph.go.th/kpi.php
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไพรบึง (2565).รายงานการเกิดอุบัติเหตุปีงบประมาณ 2566.สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไพรบึง สืบค้นในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566; htps://ssokanthararom.com/index.php/component/users/.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไพรบึง.(2565).รายงานการเกิดอุบัติเหตุปีงบประมาณ 2566.สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไพรบึง. สืบค้นในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566; https://ssokanthararom.com/index.php/component/users/.
อรุณ จิรวัฒนกุล.(2557).สถิติในงานวิจัยเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างให้เหมาะสม..บริษัทวิทยพัฒน์ กรุงเทพฯ.
อำนาจ ราชบัณฑิต (2565) รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่นปีที่ 29 ฉบับที่ 3 (2022): กันยายน – ธันวาคม หน้า98-110.
Kemmis S, McTaggart R.(1988). The Action ResearchPlanner. Australia: Deakin University Press; 1988.6.
Streubert, H., & Carpenter, D. (1999). Qualitative Research in Nursing: Advancing the Humanistic Perspective (2nd ed.). Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins.