โปรแกรมการสร้างการรับรู้และการเสริมสร้างพลังอำนาจในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนงาม อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสร้างการรับรู้และการเสริมสร้างพลังอำนาจในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 90 คน กลุ่มเปรียบเทียบได้แก่กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนงาม อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ และกลุ่มเปรียบเทียบ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ในเขตตำบลตูม อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างการรับรู้และการเสริมสร้างพลังอำนาจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมการรักษาของกระทรวงสาธารณสุข ระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง สิงหาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตน พฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ของกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการทดลองแสดงว่าโปรแกรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถสร้างสร้างการรับรู้และการเสริมสร้างพลังอำนาจในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)
References
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยชุมชน เล่มที่ 1. นนทบุรี : กองสุขศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงฯ.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานประจำปี 2564 กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
โกศล บุญทา.(2566).การเสริมพลังอำนาจในการดูแลตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและคุณภาพชีวิตของผูปวยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไมสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได. 2566.[เขาถึง เมื่อ 14 เม.ย. 2567].เขาถึงไดจาก: (http://www.chiangmaihealth.go.th/document/231010169690646468.pdf).
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD). (ระบบออนไลน์ ).สืบค้นทาง อินเตอร์เน็ต วันที่14 เมษายน 2567 แหล่งที่มา :https://hdcservice.moph.go.th/hdc/ reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=29eec762c959 1d1f8092da14c7462361. (16 ตุลาคม 2565)
เยาวภา พรเวียง และคณะ. (2555). ผลของการเสริมสร้าง พลังอำนาจแบบกลุ่มต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าและคุณภาพชีวิตในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีแผลที่เท้า. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(2): 85-97.
แววตา เพ็งบูรณ์และ, วีรวรรณ เกิดทอง. (2567). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหาร ดัชนีมวลกาย และค่าน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่น้ำหนักเกิน คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลท่าชนะ. www.srth.go.th/home/research (Vol.1 NO.1 February-December, 2024) อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม 2567]; 2(2): 1-13. https://srth.go.th/home/ research.
สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2561).การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และ ควบคุมโรคไม่ติดต่อของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน ระดับประเทศ พ.ศ. 2550-2558. นนทบุรี: สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2560).แผนยุทธศาสตร์การป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 –2564). กรุงเทพฯ:บริษัท อิโมชั่นอาร์ต จำกัด.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย.(2554). สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข,
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2554).แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: บริษัทศรีเมืองการพิมพ์.
สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และ ควบคุมโรคไม่ติดต่อของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ พ.ศ. 2550-2558. นนทบุรี: สํานักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงาน
American Diabetes Association. (2011). Standards of medical care in diabetes 2011. Diabetes Care, 34(Supplement 1): S11-S61.
Becker, M. H. (1974). The health belief model and personal health behavior. Health education monographs, 2, 324-473.
Bloom BS. (1968 ). Learning for mastery. Evaluation comment, 1(2). Center for the study of evaluation of instructional programs, University of California, Los Angeles, USA.Bloom, B.S. (1956).Taxonomy of educational objectives, the classification of educational goals handbook I: Cognitive domain. New York: McKay.
Gray, R. E, Doan, B. D., & Church, K. (1990).Empowerment and persons with cancer: Politics in cancer medicine. Journal of Palliative Care,6: 33-45.
Gibson, C. H. (1995). The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing, 21: 1201-1210.
Lemeshow S, Hosmer.(1990). D.W, & Klar J. Jr. Adequacy of Sample Size in Health Studies. New York: John Wiley & Sons
Lewin, Kurt.(1951). “Field. Theory and Leaning” Ind. Cartwright Field theory in Social Science:Selected Theoretical. New York:Harper and Row.
WHO. Non communicable diseases 2023.สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2566 https://www.who.int/news- room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases.
WHO. (2019).Global Burden of Disease Collaborative Network, Global Burden of Disease Study 2019 (GBD 2019) Results (2020, Institute for Health Metrics and Evaluation – IHME) https://vizhub.healthdata.org/gbd- results/.