ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก ตำบลหัวเสือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

มนัชญา สุขทองสา
รุจิรา อำพันธ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจคมะเร็งปากมดลูก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่สตรีอายุ 30 – 60 ปี ในเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุภาพตำบลบ้านหัวเสือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 47.12 ปี ร้อยละ 35.10 ระดับความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก ในระดับปานกลาง ร้อยละ 43.00  และทัศนคติต่อการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 40.00 เมื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก พบว่า ปัจจัยด้านข้อมูลส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก เมื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ด้านความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก พบว่า ปัจจัยด้านความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (r = 0.338, P-value < 0.001) เมื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ด้านทัศนคติต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกพบว่าปัจจัยด้านด้านทัศนคติ มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (r = 0.416, P-value < 0.001)


คำสำคัญ : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์,พฤติกรรม,มะเร็งปากมดลูก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัชวาล นฤพันธ์จิรกุล รัตนา ธรรมวิชิตและธานินทร์ สุธีประเสริฐ. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม

การตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรีเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการ

สาธารณสุข, 23(6), 1022-1031.

ณัฐธยาน์ ภิรมย์สิทธิ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ของสตรีจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(2), 95-108.

บุษบา ไชยรินทร์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีกลุ่มไทลื้อใน

ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. [หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยพะเยา].

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวเสือ.(2566). รายงานการดำเนินงานประจำปี ของโรงพยาบาลส่งเสริม

สุขภาพตำบลเขวา. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขวา.

รัฐพล สาแก้ว จงกลนี ธนาไสย์และบัณฑิต วรรณประพันธ์. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการ

มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในสตรีอายุ 30-60 ปี ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

ตำบลหนองเหล็ก อำเภอเสขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี

นครราชสีมา. 23(1), 17-30.

ศิริรัตน์ เพียขันทา ดวงกมล ปิ่นเฉลียวและทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. (2565). ผลของโปรแกรมการส่งเสริม

แรงจูงใจโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการรับรู้ป้องกันโรคและการ

มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก. วารสารสุขภาพและศึกษาพยาบาล, 28(2): 1-16.

สุขุมาล โพธิ์ทอง. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีในพื้นที่อำเภอ

หลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 32(2): 966-970.

สุดาฟ้า วงศ์หาริมาตย์. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ การไม่มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในชุมชนที่

คัดสรร: จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการกรมสนับสนุน บริการสุขภาพ, 9(1), 12-20.

สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. (2553). หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. สารคาม

การพิมพ์สารคามเปเปอร์.

สุวิมล สอนศรี วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุลและชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการตรวจ

คัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีกลุ่มเสี่ยง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาล,70(3), 11-19.

อรทัย วิเชียรปูน และวุฒิชัย จิรา. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปาก

มดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี อำเภอเสาเหล็ก จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,

(2), 250-258.

เพ็ญนิภา ชำนาญบริรักษ์ และเพ็ชรศักดิ์ อุทัยนิล. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมารับ

บริการตรวจมะเร็งปากมดลูก ของสตรี ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขวา.

วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2(2):59-70.

Bloom BS. (1971). Hand book on formative and summative evaluation of student learning.

Graw-Hill Book Company.